Day

กันยายน 16, 2019

การเดินทางสู่โลกของชาวนา ก้าวแรกที่บ้านกระพี้

แม้สังคมทั่วไปในช่วงนั้นจะมองภาพของสังคมชาวนา/ชนบทในมิติเดียวด้วยทัศนะที่คับแคบ โดยสร้างวาทกรรมขึ้นพูดกันติดปากทั่วไปโดยเฉพาะจากคนของภาครัฐฯว่า “โง่ จน เจ็บ” ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ แล้วบรรดาข้าราชการอำมาตย์ทั้งหลายก็มีสภาพโง่/จน/เจ็บไม่แพ้ชาวนาเลย แถมหลาย ๆ คนมีการศึกษาขั้นโงหัวลืมตาอ้าปากชุบตัวผ่านระบบการศึกษาเล่าเรียนมาได้ ก็ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของพ่อ-แม่ที่เป็นชาวนา/เป็นเกษตรกรมาทั้งนั้น!

ฮีต-คอง : อิ่มแล้ว…พาน้องไปเล่นวัด

อิ่มแล้ว...พาน้องไปเล่นวัด ประโยคนี้ให้สิ่งที่เป็นคุณค่าแก่คนอีสานมากกว่าอรรถหรือพยัญชนะ อิ่มแล้ว โดยอรรถหมายถึง อิ่มจากการรับประทานมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อที่เย็นจริง ๆ คือ ข้าวไม่ร้อน เพราะยังไม่ถึงเวลาอุ่นข้าวเนื่องจากยังไม่เย็นมาก ... ยังไม่ถึงยามแลง-ยามงาย เป็นช่วงที่พ่อ-แม่ยังวุ่นอยู่กับงาน ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องหุงหาอาหาร เป็นการกินเพื่อรองท้อง มากกว่าจะกินเอาอิ่มเอาออกและสะท้อนให้เห็นว่า ภารกิจนำน้องไปวัดนั้นต้องใช้เวลา และใช้พลังงานมาก จึงต้องรองท้องให้มีแรงก่อน

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา”

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา” ในภาพชุดประติมากรรมบนฝากลองมโหรทึกและหม้อใส่เบี้ยของอาณาจักรเตียนในยูนนาน โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎี “อรรถปริวรรตกรรม”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com