ตอนนี้จะเด่นอักษร “ต” ได้แก่ ตราด (หมู่ ๑๐ ตำบล/อำเภอไพรบึง จ.ศรีสะเกษ) ตราด (หมู่ ๑๔ ต.โคกสะอาด อ.ปราสาท จ.สุรินทร์)
สำคัญคือ จังหวัดตราด ประวัติศาสตร์ควรจดจำครั้งที่ไทยสยามในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำต้องยอมเสียอธิปไตยแก่ฝรั่งเศส โดยลงนามสนธิสัญญา (๑๓ ก.พ. ๒๔๔๖) ยกจังหวัดตราด และเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ ไปถึงเกาะกูด รวมเมืองปัจจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกเอาเมืองจันทบุรีคืนมา โดยทหารฝรั่งเศสถอนจากยึดครองจันทบุรี ในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗
ตราด ต.โคกสะอาด อ.ปราสาท จ.สุรินทร์, ตราด ต.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
แผนที่จังหวัดตราด
ตราด = ต้นกราด, สะแบง อีศานลาวเรียกว่า ซาด. ถิ่นอื่น ๆ เรียก ลาง (ชลบุรี) เหียงกราด (ราชบุรี, เพชรบุรี) เหือง (ระยอง) ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus intricatus Dyer วงศ์ Dipterocarpaceae
กราด = ตราด ด้วยเหตุผลการกลายสำเนียง พืชชนิดนี้เขมรถิ่นสุรินทร์เรียก “ตรายฺด์” สะกด ย + ด ควบกัน สำเนียงไทยตัด ย. ทิ้ง เหลือ ด. เรียกเป็น ตราด
ขณะที่ กวยถิ่นสุรินทร์เรียก “กร้ายฺด” บางพื้นที่ออกเสียงสะกด ด. ชัดเจนจึงเป็น กราด
ศัพท์เขมรเขียน ตราจ [] = ไม้ใหญ่จำพวกต้นยาง (เตียล) มี ๒ ชนิด คือ “ตราจขาว” ดอกชมพูขาวนิด ๆ แก่นไม้สีขาวเข้ม กับ “ตราจแดง” ดอกสีแดงใหญ่แก่นไม้สีแดง
[1] วจนานุกรมเขมร ฉบับสถาบันพุทธศาสนบัณฑิต. ภนมเป็ญ, ๒๕๑๑ : ๓๗๑.
ศัพท์เขมรเขียน ตราจ [Rtac[1]] = ไม้ใหญ่จำ
[1] วจนานุกรมเขมร ฉบับสถาบันพุทธศาสนบัณฑิต. ภนมเป็ญ, ๒๕๑๑ : ๓๗๑.