มอม, ตัวมอม, สิงห์มอม หมายถึงอะไร ?
ภาพหมาแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏบนผาลาย กวางสี
ปัจจุบันนี้คงหาคนอธิบายได้ยาก
มอม คือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีรูปร่างลักษณะผสมระหว่าง สิงห์ เสือ แมว ค่าง นิยมทำเป็นประติมากรรมเฝ้าพุทธสถาน (ล้านนา, อีสาน, ลาว) และลายสักขา (อีสาน)
ต้นตอที่มาของ “มอม” ผมเขียนอธิบายไว้ใน “ทางอีศาน” (ฉบับ พฤษภาคม – กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ และในหนังสือ “วัฒนธรรมข้าวไท”) ว่า
เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมข้าวของชาวไป่เยวี่ย (ส่วนที่ต่อมาพัฒนามาเป็น ชาติจ้วง, ชนชาติไท – ไต) ในจีนตอนใต้
ชาวจ้วง ชาวไต มีตำนานว่า “หมาเก้าหาง” เป็นต้นตอผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ มนุษย์บูชาข้าวและบูชาหมาด้วย
สำหรับความเชื่อในสังคมไทยนั้น มีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาสู่สังคมไทย ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป
ความเชื่อเรื่อง “ขวัญข้าว” เปลี่ยนไปเป็นเรื่อง “แม่โพสพ”
ความเชื่อเรื่อง “เงือก” เปลี่ยนไปเป็น “นาค”
ความเชื่อเรื่อง “แถน” เปลี่ยนไปเป็น “เทวดา”
ความเชื่อเรื่องหมา ก็เปลี่ยนไปเป็นบูชาสัตว์ที่ดูดีกว่า เช่น สิงห์ (เลยเรียกสิงห์มอม) และกลายเป็นสัตว์พาหนะของ “ปัสเชนนะเทวบุตร” – เทพผู้ควบคุมฝน
ตัวมอมหน้าวัดเชียงทอง หลวงพระบาง
จากการบูชาหมา เปลี่ยนเป็นการบูชาสัตว์ผสม (สิงห์ แมว ค่าง) และก็เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมพุทธ เป็นผู้เฝ้าศาสนสถาน โดยอธิบายว่า มอมมีฤทธิ์ แต่หลงตัวหยิ่งยโส จึงถูกใช้ให้มาเฝ้าศาสนสถาน พัฒนาปรับปรุงตัวเอง
อีกความเชื่อหนึ่งก็คือ มอมเป็นสัตว์พาหนะของปัสเชนนะเทวบุตร ผู้ให้ฝน ทางล้านนาจึงมีความเชื่อเรื่องการขอฝนโดยพิธีแห่ “ตัวมอม”
ปัจจุบันนี้ สำหรับแห่ขอฝนหาดูได้ยากผมเคยเห็นเป็นแผ่นไม้ สลักรูปตัวมอม เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานเชียงแสน
อ่านเรื่อง มอม, ตัวมอม, สิงห์มอม หมายถึงอะไร ? ฉบับเต็มได้ในคอลัมน์ ส่องซอด นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ ๙๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓
สั่งซื้อ// ชำระเงิน // สอบถามเพิ่มเติม ได้ทาง
🛒 inbox หนังสืออีศาน m.me/166200246799901
🛒 line id : @chonniyom (มี@) คลิก https://lin.ee/amxqtvW
🛒 โทร. 086-378-2516
📚 บริษัท ทางอีศาน จำกัด
244/539 รามอินทราซอย 5 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. 10220