(6) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (25/3/20) โควิด19 กับการเมือง
“หนทางพิสูจน์ม้า โคโรน่าพิสูจน์ผู้นำ” @ วันนี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาออกมาบอกว่า “เราเห็นแสงสว่างอยู่ปลายอุโมงค์” แล้ว แต่ด้วยน้ำเสียงและลักษณะท่าทางแตกต่างจากเวลาแถลงเรื่องอื่น วันนี้ดูเซื่องซึมเหมือนไก่ป่วย CNN สื่อ “คู่แค้น” ถามแบบไม่ต้องการคำตอบว่า “อุโมงค์ไหน”
(5) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (24/3/20)
จากผู้ติดเชื้อ 3 คนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์กลายเป็น 64,000 คนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เพียง 5 สัปดาห์ให้หลังได้อย่างไร คนตายรวม 6,000 คน ตายวันเดียว 600 คน เหล่านี้คือโศกนาฎกรรมของมนุษยชาติ
(4) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (23/3/20)
ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 ยังพุ่งไม่หยุด โดยรวมทั่วโลกใกล้ 340,000 ตายเกือบ 15,000 คน ที่อิตาลี 60,000 เพิ่ม 6,000 ตายรวม 6,000 ที่สหรัฐอเมริกาเกือบ 34,000 เพิ่มวันเดียวเกือบ 10,000 คน ตาย 420 ที่สเปนเกือบ 30,000 เพิ่มวันเดียวกว่า 3,000 ตาย 1,750 ที่เยอรมัน 25,000 ตาย 92 นักระบาดวิทยาเยอรมันบอกว่า ตัวเลขจริงในหลายประเทศน่าจะมากกว่าที่ประกาศถึง 3-4 เท่า
(3) Covid-19 เรียนรู้จากสถานการณ์ (21/3/20) #อีกเท่าไร
ผู้ติดเชื้อ 100,000 คนแรกเกิดขึ้นใน 12 สัปดาห์แรกของการระบาด เพิ่มอีก 100,000 ใน เพียง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าจะถึง 300,000 ภายใน 2 วันนี้ เพราะวันที่ 20/3/20 มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกเกือบ 280,000 คนแล้ว
โควิด19 – เรียนรู้จากสถานการณ์ (19/3/20)
การเปลี่ยนแปลงแบบทวีคูณ (exponential) สถาบันเฝ้าระวังเยอรมันเตือนว่า ถ้าไม่ร่วมมือกันทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาชน อีก 2-3 เดือน คนเยอรมันจะติดเชื้อไวรัสนี้ 10 ล้านคน นี่คือความหมายของคำว่า exponential เพิ่มแบบคูณ ไม่ใช่บวก
#อยู่บ้านเถอะ COVIT19 – เรียนรู้จากสถานการณ์ (20/3/20) (2)
"อยู่บ้านเถอะ” กลายเป็นฮาสแท็คที่โด่งดังที่สุดทั่วโลกไปแล้ว เมื่อมีการแพร่ไปในโซเชียลมีเดีย เริ่มจากแพทย์พยาบาลที่ชูข้อความที่เขียนบนกระดาษว่า “เราอยู่ที่นี่เพื่อท่าน ขอให้ท่านอยู่ที่บ้านเพื่อเรา”
ผีปอบ
เรื่อง “ผีปอบ” เป็นข่าวอีก เพราะมีกรณีพรากลูกพรากพ่อแม่ ด้วยการขับไล่ออกจากหมู่บ้านด้วยข้อหาว่าเป็นผีปอบ ความจริงเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาหลายแห่ง แต่ไม่เป็นข่าว มีทีวีบางช่องไปเจาะข่าวแทนที่จะให้คำอธิบาย กลับทำให้สับสนมากขึ้นไป
อีก เพราะไม่ได้ทำการบ้านเพียงพอ
ปรีชา พิณทอง ช่วยมองโลกมองชีวิต
ปรีชา พิณทอง ควรได้รับการยกย่องให้เป็น “บรมครู” หรือ“ปรมาจารย์” ด้วยประวัติและผลงาน ที่ได้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการ “สืบทอด ถอดรหัส พัฒนา” ภูมิปัญญาอีสาน
พ่อปรีชา พิณทอง เกิดที่อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี ๒๔๕๗ บวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ตั้งแต่เป็นสามเณร และสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยครับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์ในจังหวัดได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระศรีธรรมโสภณ” ก่อนจะลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๐๕
รอด พอเพียง มั่นคงยั่งยืน
ประเด็นร่วมของชุมชนชาวนาไม่ว่าที่เวียดนาม พม่าหรือไทยในสังคมเกษตรกรรม คือความอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันของชุมชน หรือที่เรียกสั้น ๆ ก็ได้ว่า “ทุนทางสังคม” ที่แสดงออกทางจารีตประเพณีวิถีชุมชน กฎระเบียบของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ชีวทัศน์ ความเชื่อ ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ การอยู่แบบเกื้อกูลไม่เอาเปรียบกัน ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ
ฮีตคอง แผนที่ชีวิต เข็มทิศชุมชน
แผนอาชีพ คือ การทบทวนว่าอาชีพที่ทำอยู่ทำได้ดีแค่ไหน ใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลอะไรบ้าง หรือทำตามคนอื่น หรือตามความเคยชินที่ทำ ๆ กันมาได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพให้ดีกว่านี้บ้างหรือไม่ ทำนาก็ได้แค่ ๓๐๐ กิโลต่อไร่ ไม่เคยคิดจะทำให้ได้สักตันต่อไร่เหมือนคนอื่นอีกหลายคนบ้างหรือ
ปรากฏการณ์ภาษาอีสาน
ภาษาอีสานกำลัง “ฮิต” ทั้งในละครทีวี ในเพลงลูกทุ่ง สื่อวิทยุและสื่อสังคม นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ดาราน้อยใหญ่ที่ไม่ใช่ลูกอีสานต้องหัดออกเสียงสำเนียงอีสานให้ได้ นักร้องลูกทุ่งก็ต้องหาพี่เลี้ยงฝึกฝนจนร้องได้เนียน ๆ เหมือนคนอีสาน
มหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคงเป็นเพราะการศึกษาเราสอนคนให้เรียนแต่หนังสือ ท่องจำเพื่อเอาไปสอบให้ได้คะแนนดี เป็นการศึกษาที่แปลกแยกจากชีวิตจริง เอาตำราเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตจริงมาเรียน มาแก้ปัญหามาพัฒนาให้ดีขึ้น
ผีบุญ ศึกษาอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบัน
ผู้นำผีบุญส่วนใหญ่สร้างความเชื่อถือในหมู่ชาวบ้านด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับความสามารถพิเศษต่าง ๆ อันเป็นคุณสมบัติของผู้วิเศษที่มากอบกู้ผู้คนให้พ้นทุกข์ ตั้งแต่การรักษาโรคด้วยเวทย์มนต์คาถายาวิเศษ รวมถึงการแก้ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ในหมู่ชาวบ้าน กลายเป็นข่าวเล่าขานต่อ ๆ กันไป
ศาสตร์และศิลป์กับคนอีสาน
ภาคอีสานเป็นสังคมปิดมานาน ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมมากเหมือนคนใต้ ที่ทะเลเปิดทั้งซ้ายขวา ไม่ว่าแขกจีน อาหรับ ฝรั่งก็มาเทียบท่า ย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยปะปนมาหลายร้อยปี ทำให้คนใต้คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า และกลายเป็นความไม่ไว้ใจไปด้วยภาพโดย สุชีลา เพชรแก้ว เพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับคนแปลกหน้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้มาดี คนใต้รู้จักเงินตราและค้าขายกับคนต่างถิ่นก่อนคนไทยภาคอื่น ๆ
คืนสู่รากเหง้า เวลา ที่ ผี ขวัญ
การคืนสู่รากเหง้า คือกระบวนการเรียนรู้ กลับไปสู่อีกมิติหนึ่งของเวลา ของวัฒนธรรม ก้าวข้ามทุกอย่างเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเนื้อหาที่ดีงามของชีวิต เป็นการ “เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต”