ตามรอยพลพรรคเสรีไทย ที่บ้านนาผาง อ.ภูพาน จ.สกลนคร
ยายชีแก้ว ซีด้าม เล่าเรื่องขุนพลภูพาน ว่า... พ่อแม่ท่านไปพบรักกันที่บ้านนาหว้า-นาคอย ท่านเกิดมาได้ 4 ขวบ พ่อแม่ก็ย้ายกลับมาที่บ้านผางาม ครั้งกระโน้นอยู่กันในป่าในดอน 3-4 ครอบครัว ทำนา 2-3 ไร่ หากินกลอยกินมัน พลพรรคครูเตียงมีเป็นกองร้อยกองพัน มีอาวุธ กระจายกำลังกันอยู่ตามตีนภู มาอยู่กันไม่ถึงเดือน ย้ายไปย้ายมา ยายชีแก้วเคยหาบผักหาบเหล้าไปขายให้ ครูเตียงเคยขี่ม้าเข้ามาในหมู่บ้านมาคนเดียว ชอบเหล้าไห เหล้าขี้แกลบ
กราบอาจารย์มานิต วัลลิโภดม และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
ในการนำเรื่องราวแอ่งอารยธรรมสกลนครขึ้นปกนี้ ถือเป็นปฐมแห่งการเรียนรู้ผลงานทรงคุณค่าของอาจารย์ทั้งสองท่าน ผู้ร่วมรุ่นบุกเบิกและได้หักร้างถางพงงานด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มนุษยวิทยา ฯลฯ มาด้วยชีวิต อาจารย์มานิต ท่านเป็นข้าราชการกองโบราณคดี กรมศิลปากร ในระดับปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย
งานด้านการต่างประเทศของราษฎร
“ 71 ปีสร้างตั้ง สปป.เกาหลี / 45 ปีแห่งมิตรภาพ”
บทบรรณาธิการ : โจกโหลกฟ้า
สารานุกรม ภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ของ ปราชญ์ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า โจกโหลก ว. ที่ลุ่มซึ่งเป็นแอ่งใหญ่ เรียก ขุมโจกโหลก. large (of hole or pond). สำหรับการใช้ในภาษาพูด(ปาก)ทั่วไปกินความถึง พื้นที่หนึ่ง, ขอบเขต, อาณาเขต เช่น “ใต้โจกโหลกฟ้านี้ใครจะใหญ่เกินกู
ต่อหน้าจิตกาธาน
ร่างของทนง โคตรชมภู กำลังถูกเผาไหม้
ภายในโครงครอบหนาทึบ ส่วนบนเป็นโลงบรรจุศพ ส่วนล่างอัดแน่นด้วยถ่านชุ่มน้ำมัน มีช่องเร่งไฟและปล่องควัน ญาติพี่น้องและเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมพันคนมาชุมนุมร่วมส่งสะการ
มาเพื่อเรียน”วิชามนุษย์ที่ชื่อทนง โคตรชมภู”
กำหนดการฌาปนกิจศพ ทนง โคตรชมภู
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ.2562
ณ วัดป่าสีชมภู อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ( วันที่ 9 - 10 กันยายน สวดพระอภิธรรมศพ เวลา 18.00 น.)
ทนง โคตรชมภู มนุษย์ผู้หัวใจไม่ยอมแพ้
ทนง โคตรชมภู เขาพิการแขนขาลีบหมดเรี่ยวแรงตั้งแต่อายุ 13 ปี เขาให้แม่เหลาไม้ไผ่ทำด้ามพู่กัน ฝึกใช้ปาก กล้ามเนื้อคอ ควบคุมทำงาน ใช้สายตามุ่งมั่นเก็บรายละเอียด ใช้สมองที่เต็มไปด้วยจินตนาการออกคำสั่งสร้างสรรค์งาน
ทนง โคตรชมภู มนุษย์ผู้หัวใจไม่ยอมแพ้
ทนง โคตรชมภู เขาพิการแขนขาลีบหมดเรี่ยวแรงตั้งแต่อายุ 13 ปี เขาให้แม่เหลาไม้ไผ่ทำด้ามพู่กัน ฝึกใช้ปาก กล้ามเนื้อคอ ควบคุมทำงาน ใช้สายตามุ่งมั่นเก็บรายละเอียด ใช้สมองที่เต็มไปด้วยจินตนาการออกคำสั่งสร้างสรรค์งาน
“อู่น้ำแอ่งอารยธรรม”
แม่นํ้าโขงเป็นมหานทีของโลก มีสายนํ้าสาขาจากภูเขาและที่ราบสูงน้อยใหญ่ไหลสมทบมากมายมนุษย์ได้อาศัยอยู่กิน ได้สร้างสมเสพวัฒนธรรมกันอยู่ทุกซอกผาและตามแหล่งที่ราบลุ่ม ย้อนไปก่อนมีเส้นขีดแดนประเทศ กลุ่มเผ่าเหล่าชนได้รวมตัวกันอยู่ตามสภาพธรรมชาติ มีวิถีชีวิต การดื่มกิน ที่พักอาศัย ภาษา นิทาน ตำนานความคิดความเชื่อ แสดงออกด้วยแบบแผนเดียวกัน ส่วนหนึ่งของเขตราชอาณาจักรไทยในปัจจุบันหมู่บ้านตำบลเมืองทางด้านภาคเหนือ และโดยเฉพาะภาคอีสาน ที่อยู่ในแอ่งอารยธรรมแม่นํ้าโขงเราต่างมีวัฒนธรรมร่วมกับอีกฟากฝั่งแม่น้ำและตามสายสาขาแม่นํ้าต่าง ๆ
แอ่งอารยธรรมแม่น้ำโขง
สองลุ่มฝั่งแม่น้ำโขง เป็นเรือนเกิดเรือนตายของกลุ่มชาติพันธุ์วรรณนาหลากหลาย ผู้คนได้หยัดยืนต่อสู้กับธรรมชาติและภัยมนุษย์มาด้วยความหฤโหดและหฤหรรษ์ ก้าวข้ามพัฒนามาตามห้วงแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดชุมชนบ้านเมือง เกิดรัฐเล็กรัฐน้อยและอาณาจักรต่าง ๆ
เสียงพิณเสียงแคน
เสียงพิณเสียงแคนเป็นดังชีวิตจิตวิญญาณของอารยชนลุ่มแม่น้ำโขง แม้พลัดพรากไปอยู่แห่งหนตำบลไหน ครั้นได้ฟังได้ยินจะถวิลหารากเหง้าเหล่าตน เหมือนคนที่ฝังสายรกสายแฮ่ไว้หมู่บ้าน แม้ดิ้นรนทำมาหากินอยู่ถิ่นไหนบั้นปลายชีวิตหากเลือกได้ก็ปรารถนากลับมาตายที่บ้านเกิด
เริ่มจากเรื่องใกล้ตัว เริ่มที่งานรูปธรรม
ข้อเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนคือ เราควรเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ แม้การทำสิ่งใดบนโลกนี้ไม่มีอะไรง่ายเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวไปไกลตัว เริ่มจากงานรูปธรรมสู่งานนามธรรม เริ่มจากครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมเรียนร่วมอาชีพ รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ช่วยกันสร้างปัจจัยสี่ ให้มีกินมีใช้ มีความสุขในวิถีฮีต - คองวัฒนธรรมของตน กำหนดและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม จากกิจกรรมกลุ่มขยายสู่กิจกรรมชุมชน
จาก “นายผี” ถึง “ทางอีศาน”
แรงบันดาลใจหนึ่งที่ทำให้สะกดชื่อนิตยสาร “ทางอีศาน” ด้วย “ศ” เพราะบทกวีชื่อ “อีศาน” ของ “นายผี” - อัศนี พลจันทร
นิทานหมู่บ้าน
คนหมู่บ้านอยู่กินกับดิน กับห้วยละหาน ภูเขาและป่าดง เบิกพงไพรเป็นไร่นา รอบบ้านปลูกพืชผักสวนครัว
การเปลี่ยนผ่าน
จากสังคมทาส การเกณฑ์แรงงาน เลกไพร่ ส่งส่วย มาถึงสังคมทุนนิยมที่มีการกินส่วนต่าง ส่วนเกิน ใช้เงินต่อเงิน ถึงวันนี้สภาพชีวิตผู้คนใน เกือบแสนหมู่บ้านทั้งประเทศไทย ไม่เหมือนสมัย ปู่ย่าตายายอีกแล้ว คนหนุ่มสาวคนวัยแรงงาน แทบไม่มีเหลือในหมู่บ้าน แถมยังมีชีวิตอย่างไร้ หลักประกันความมั่นคงในทุกด้าน ยิ่งตลกร้ายที่ ให้คนประกอบการภาคอุตสาหกรรมผูกขาดมา สอนการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ให้คนในระบบ ราชการมาสอนนวัตวิถีแก่คนรากหญ้า ซ้ำเติม หมู่บ้านเข้าไปอีกเมื่ออภิมหาทุนรุกเข้าไปกินป่า ครอบครองทำลายภูเขาแม่น้ำ และได้สัมปทาน ขุดผลาญแร่ธาตุใต้พิภพยิ่งขึ้น