By

ปรีดา ข้าวบ่อ

หมู่บ้าน มีร่างกาย ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ

เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เมืองไทยของเราประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง ฟองสบู่แตก สาเหตุมาจากยุคโลกาภิวัตน์ ประเทศใหญ่ครอบกินประเทศเล็ก คนเมืองนำทรัพยากรของชาติไปเล่นแร่แปรธาตุ ใช้เงินต่อเงิน จนทำให้ประเทศแทบล้มละลาย ซึ่งในครั้งนั้นเราก็ได้ หมู่บ้าน รองซับรักษาความทุกข์ร้อนของผู้คนพลเมือง

เจาะซอกหาแก่นอีสาน

เริ่มต้นแม้แต่ชื่อเรื่องของบทนี้ก็มีประเด็นให้ซอกหากันแล้ว คือคำว่า อีสาน ซึ่งฟังเผิน ๆ เหมือนจะรู้ ๆ กันอยู่ แต่เมื่อเจาะลึกก็ทำเอาสะอึกและสะดุดคิดทันที อีสาน เป็นชื่อทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์วรรณา คำเรียกขานถึงคนที่เกิดอยู่บนที่ราบสูงทางภาคอีสานว่า คนอีสาน หลายคนจึงยังไม่ปลงใจรับ

ทางอีศาน 43 : บทบรรณาธิการ

อุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ได้ถูกชูขึ้นให้สูงเด่น เพื่อรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเข้าด้วยกันมานานมากแล้ว ผ่านการนำเสนอของนักคิด นักปฏิบัติการทางสังคม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา ๒๕๑๖” บางพื้นที่จึงเปิดรับแนวคิด และเพิ่มคำพ่วงท้ายว่า “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” แต่นั่นก็หาใช่การตกผนึกทางความคิดของผู้ปกครองบ้านเมืองไม่

บทบรรณาธิการ ทางอีศาน 42 : สร้างโลกงาม

น่ายินดีที่วันนี้ วิถีชีวิต อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ของผู้คนในราชอาณาจักรไทย ได้ปรากฏตัวตนขึ้นเด่นชัด ซึ่งแสดงออกถึงความภาคภูมิและมั่นใจในพลังของตนเอง พร้อมก้าวเดินสู่โลกกว้าง จากข้อมูลของ “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร” ประเทศของเรามีกลุ่มชนย่อยซึ่งมีชื่อเรียกตนเองอยู่ ๖๒ กลุ่ม มีภาษาถิ่นย่อยถึง ๗๐ ภาษา

อาลัย ธำรง รัตนสุภา

ธำรง รัตนสุภา เด็กหนุ่มจากภาคใต้ เรียนจบโรงเรียนช่างศิลป์ กทม. เข้าทำงานฝ่ายศิลป์ในเครือบริษัทอมรินทร์ ตั้งแต่ยุคตัดแปะด้วยการกวนกาวยางพาราผสมเบ็นซิลขาว จนชำนิชำนาญพัฒนาการจัดหน้าด้วยคอมพิวเตอร์. ผมพบและรู้จักกับเขาเมื่อ ปี ๒๕๒๘ เพราะได้งานทำในกอง บก.นิตยสารแพรว และนิตยสารอาวุโส

ทางอีศาน 31 : บทบรรณธิการ : เริ่มด้วยมือเรา

ทุกรัฐบาลเน้นติดต่อสัมพันธ์กับนานาชาติเรื่องเศรษฐกิจ แม้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเมื่อกลับจากเยือนต่างประเทศครั้งแรกก็แถลงว่า ประเทศที่ตนไปมานั้น เข้าใจเรามากขึ้น เขาสนใจมาลงทุนเศรษฐกิจจะดีขึ้นแน่

ปฏิญาณสหาย : รำลึกวีรชนอีสานใต้

ที่ที่มีเพื่อนมีญาติมิตร มีเลือดเนื้อชีวิตยิ่งใหญ่ เก็บฝังอดีตไว้ในดวงใจ หว่านฝันเราไปให้ผลิบาน... อนุสรณ์สถานฯทั่วไทถิ่น เทิดชีวินลูกไทยใจห้าวหาญ เสริมความรักพร้อมพรักอุดมการณ์ ปฏิญาณแห่งสหายอุทิศพลี เสียสละสูงสุดเพื่อชาติ องอาจไม่กลัวตายไม่ถอยหนี ซื่อสัตย์พิทักษ์ประชาชี สังคมใหม่บังเกิดมีปรีด์เปรม... ที่ที่มีเพื่อนมีญาติมิตร มีเลือดเนื้อชีวิตยิ่งใหญ่ เก็บฝังอดีตไว้ในดวงใจ หว่านฝันเราไปให้งอกงาม

มะละกอ, “บักหุ่ง” : สร้างชีวิต สร้างชาติ

คนอีสานตั้งแต่ยุคสมัยสร้างบ้านแปงเมือง และพัฒนามาถึงปัจจุบันนี้ มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ดำรงตนเรียบง่าย อดทน อดออม ขยันขันแข็ง มีคุณธรรมและฮีตคองที่ดีงาม ในด้านวัฒนธรรมการกินก็สะท้อนอัตลักษณ์โดดเด่นดังกล่าวมา

บทกวีของ ปรีดา ข้าวบ่อ: ก่อนใบไม้ผลิที่เกาหลีเหนือ

ข้าพเข้าไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเหนือครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้เห็น ได้สัมผัส และได้เขียนบทกวีหลายสำนวน ขอเสนอในสำนวนแรก (3 ตอนชุด) ชื่อ "ก่อนใบไม้ผลิที่เกาหลีเหนือ"

กรณีปราสาทพระวิหาร

ปัญหาปราสาทพระวิหารเป็นกับระเบิดที่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสได้วางเอาไว้ตอนลงนามในสนธิสัญญา ๑๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๐๔ กำหนดให้ใช้สันปันน้ำเป็นเขตแดนไทย - ฝรั่งเศส แต่ตอนทำแผนที่กลับขีดเอาปราสาทพระวิหารไปอยู่ในเขตฝรั่งเศส เมื่อฝ่ายไทยไม่ทักท้วงตลอดเวลา ๕๐ กว่าปีหลังลงนามในสนธิสัญญา ศาลโลกจึงตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาตามแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๘..."

ท่ามกลางความขัดแย้งทางความคิด ต่อผู้คนรอบข้างและญาติมิตร

ทุกสังคมทุกประเทศบนโลกใบนี้ หลากหลายแนวคิดชีวิตมีร้อยแปดวิถีปฏิบัติ และการรับเชื่อ ไม่มีชีวิตที่ดีพร้อม และไม่มีสังคมที่สัมบูรณ์ ถ้าพวกเราพึ่งลำแข้งตน สร้างเศรษฐกิจเพื่อชีวิตและครอบครัว ถ้าพวกเราเสริมสร้างความสุขให้ตน ให้ผู้คนรอบข้าง ให้วงงานสัมมาอาชีวะ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

เดินตามรอยทาง เดโช บุญชูช่วย และสมบูรณ์ วรพงษ์

ต้องลดธงครึ่งเสาอีกครั้งแล้ว ตลอดแนววรรณกรรมคนสรรค์สร้าง ทั้งเหนือใต้ออกตกและส่วนกลาง แด่ผู้ที่ถากถางเส้นทางไทย แม้ฟ้ากว้างทะเลหลวงโปรดอำนวย รับ "เดโช บุญชูช่วย" สู่หนไหน แต่ผลงานยัง "เดชะ บัญชาชัย" ให้ผู้คนได้เติบใหญ่ในปัญญา โน่นดงดอยแดนล้านนามาอาดูร โอบ "สมบูรณ์ วรพงษ์" ร่วมวงศา โดย "บวร รัตนสิน" หยิ่งอิสรา ยังสง่างดงามกลางใจชน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com