Category

จากใจทางอีศาน

ทางอีศาน 43 : บทบรรณาธิการ

อุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ได้ถูกชูขึ้นให้สูงเด่น เพื่อรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเข้าด้วยกันมานานมากแล้ว ผ่านการนำเสนอของนักคิด นักปฏิบัติการทางสังคม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา ๒๕๑๖” บางพื้นที่จึงเปิดรับแนวคิด และเพิ่มคำพ่วงท้ายว่า “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” แต่นั่นก็หาใช่การตกผนึกทางความคิดของผู้ปกครองบ้านเมืองไม่

บทบรรณาธิการ ทางอีศาน 42 : สร้างโลกงาม

น่ายินดีที่วันนี้ วิถีชีวิต อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ของผู้คนในราชอาณาจักรไทย ได้ปรากฏตัวตนขึ้นเด่นชัด ซึ่งแสดงออกถึงความภาคภูมิและมั่นใจในพลังของตนเอง พร้อมก้าวเดินสู่โลกกว้าง จากข้อมูลของ “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร” ประเทศของเรามีกลุ่มชนย่อยซึ่งมีชื่อเรียกตนเองอยู่ ๖๒ กลุ่ม มีภาษาถิ่นย่อยถึง ๗๐ ภาษา

สาส์นจาก “ทางอีศาน” 42 : อาลัยครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา

ผักกะแยงล่วงย้าย ไลถิ่นดินนา กะโดนโพนจานเหงา อ่าวอาวรณ์โอ้ กะยอมเหลืองลาก้าน กะเดา, เลาลาท่ง ซี เซ มูล ขุ่นข้อน ปลากั้งห่างวัง แลนอ ปูนดั่ง คนอีสานพลัดแก้ว แววค่ามณีคำ คุณพ่อพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สู่ภูมิสวรรค์ซั้น แฟนเพลงอาลัยไห้ เสียดายดอมฮัก ผักกะโดนห่างต้น โพนซ้งท่งกะแยง

จดหมาย ทางอีศาน 41

กำลังใจ เล็กเล็ก กำลังใจ กำลังใจ ส่งไป ให้แก่ท่าน กำลังใจ ส่งไป ทุกทุกวัน กำลังใจ ส่งไป ทางอีศาน ทางอีศาน พัฒนา น่านับถือ ทางอีศาน นั้นคือ อุดมการณ์ ทางอีศาน ก้าวผ่าน ในวันวาน ทางอีศาน ต้องยืนนาน ตลอดไป

สาส์นจากสุชาติ สวัสดิ์ศรี

กล่าวคือ"ทางอีศาน" เป็นเหมือน Regional Magazine แห่งพื้นภูมิของคนอีสาน ที่มีคำขวัญบอกว่า "ของชาวอีสานและคนไทยทุกภูมิภาค" ผมเป็นห่วงความอยู่รอดของเขา เพราะขณะนี้ก็จัดทำมาเป็นฉบับที่ 38 ของปีที่ 4 แล้ว น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า บรรณาธิการผู้ก่อตั้งจะต้องพบกับอุปสรรคหนักหนาสาหัสอย่างไรบ้าง

ทางอีศาน 33: ปิดเล่ม

อีสาน เป็นมงคลนาม แต่แล้วเนื่องจากปัญหาระดับชาติหลายด้าน ภาคอีสานกลายเป็นภาคที่มีคนยากจนจำนวนมากที่สุด ภาพลักษณ์ของ อีสาน กลายเป็น ภาพความยากไร้, ภัยธรรมชาติ, การกดขี่ข่มเหง ฯลฯ นั่นเป็นอดีต

สาส์นจากทางอีศาน 32

สาส์นแสดงความยินดี กับสองรางวัลในปี ๒๕๕๗ ของ นิตยสารทางอีศาน และ บริษัท ชนนิยม จำกัด นิตยสารทางอีศาน ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 16 รางวัลชนะเลิศประเภทสื่อมวลชน หนังสือในเครือ บริษัท ชนนิยม จำกัด สองเล่ม คือ ความลับของเด็กเกเร โดย ภาณุมาศ ภูมิถาวร และ พ่อนายก สายไหม บ้านหนองฮี

ทางอีศาน 31 : ปิดเล่ม

คุณอาทิตย์ บำรุงเอื้อ ศึกษาวิจัย และทดลองปฏิบัติจริงในชุมชนบ้านหัวงัว ตำบลยางตลาดสามารถสร้าง “ชุมชนคารวะตะธรรม” ให้เข้มแข็งได้ระดับหนึ่ง ผลงานนี้นอกจากทำให้คุณอาทิตย์ ได้รับ “ปริญญาเอก – ดุษฎีบัณฑิต” แล้ว เราก็หวังว่าแนวทาง “ชุมชนคารวะตะธรรม” จะเผยแพร่สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอีสานท้องถิ่นอื่น ๆ ได้อีกต่อไปด้วย

อาลัย ธำรง รัตนสุภา

ธำรง รัตนสุภา เด็กหนุ่มจากภาคใต้ เรียนจบโรงเรียนช่างศิลป์ กทม. เข้าทำงานฝ่ายศิลป์ในเครือบริษัทอมรินทร์ ตั้งแต่ยุคตัดแปะด้วยการกวนกาวยางพาราผสมเบ็นซิลขาว จนชำนิชำนาญพัฒนาการจัดหน้าด้วยคอมพิวเตอร์. ผมพบและรู้จักกับเขาเมื่อ ปี ๒๕๒๘ เพราะได้งานทำในกอง บก.นิตยสารแพรว และนิตยสารอาวุโส

ทางอีศาน 31 : บทบรรณธิการ : เริ่มด้วยมือเรา

ทุกรัฐบาลเน้นติดต่อสัมพันธ์กับนานาชาติเรื่องเศรษฐกิจ แม้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเมื่อกลับจากเยือนต่างประเทศครั้งแรกก็แถลงว่า ประเทศที่ตนไปมานั้น เข้าใจเรามากขึ้น เขาสนใจมาลงทุนเศรษฐกิจจะดีขึ้นแน่

ปิดเล่ม

เดือนแปด (ปีนี้ตรงกับกรกฎาคม) อีศานมีชื่อเสียงเรื่อง “แห่เทียนพรรษา” ทุกวันนี้จัดเป็นขบวนแห่ที่ใหญ่โต มีความงดงาม มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก ชาว “ทางอีศาน” ได้ทำบุญ เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา ตามฮีตคองที่ว่า

บทบรรณาธิการ ทางอีศานฉบับที่ 15

สภาพนิเวศของประเทศไทย เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงในการทำการเกษตรกรรมและงานปศุสัตว์ ถึงวันนี้ต้องวางยุทธศาสตร์ของชาติมุ่งไปทิศทางนี้ ส่งเสริมเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขปัจจัยทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ประเพณีวัฒนธรรมสังคม การศึกษาและสาธารณสุข ให้อำนวยชัยในการนี้ หยุดนโยบายและพฤติกรรมที่กัดกร่อนบั่นทอนความเขียวขจีของพืชพันธุ์ ความแพร่ขยายอ้วนพีของสัตว์เลี้ยง และความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

บทบรรณาธิการ ทางอีศาน 14 นักการเมือง – งานการเมือง

นับจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มาถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ นี้ เป็นเวลา ๘๑ ปีแล้ว ยาวนานเท่ากับช่วงอายุของคนอายุยืนคนหนึ่ง

มะละกอ, “บักหุ่ง” : สร้างชีวิต สร้างชาติ

คนอีสานตั้งแต่ยุคสมัยสร้างบ้านแปงเมือง และพัฒนามาถึงปัจจุบันนี้ มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ดำรงตนเรียบง่าย อดทน อดออม ขยันขันแข็ง มีคุณธรรมและฮีตคองที่ดีงาม ในด้านวัฒนธรรมการกินก็สะท้อนอัตลักษณ์โดดเด่นดังกล่าวมา

ปิดเล่ม ฉบับที่ 13 ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖

การปรับปรุงรูปเล่มในฉบับเดือนเมษายน มีเสียงสะท้อนด้านดี ชมเชยมาพอสมควร ทำนองว่าเดินมาถูกทางแล้ว ส่วนเสียงวิจารณ์ข้อผิดพลาดบกพร่อง เราน้อมรับเป็นข้อเตือนใจตลอดไป นักอ่านหลายท่านมาให้กำลังใจกันถึงบูธ “ชนนิยม” ในงานสัปดาห์หนังสือฯ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com