Category

อีสานบ้านเฮา

ความเรียงแห่งฤดูกาล ง า ม แ ล้ ง

ง า ม แ ล้ ง            มนุษย์เกิดมาเป็นส่วนหนึ่งของสรรพธรรมชาติ และสรรพชีวิต แต่โลกได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปจนจวนจะถึงจุดพลิกผันครั้งใหญ่ด้วยนํ้ามือมนุษย์ บนผิวเปลือกโลกที่ขีดเส้นพรมแดนเป็นรัฐชาติชื่อ ...
Read More

ท่องเที่ยวอารยธรรมทางอีศาน วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ~ เมืองเสมา ~ ปราสาทปรางค์นางผมหอม ~ มหาเจดีย์เขาคลังนอก

ท่องเที่ยวอารยธรรมทางอีศาน วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ~ เมืองเสมา ~ ปราสาทปรางค์นางผมหอม ~ มหาเจดีย์เขาคลังนอก

# พบปะหารือการปลูกมันสำปะหลัง ให้ได้ไร่ละ 40 ตัน #

# พบปะหารือการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ไร่ละ 40 ตัน # ณ โรงเรียนบ้านโคกเขาพัฒนา อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ทบทวน – ความพร้อมที่จะร่วมโครงการของแต่ละคน ~ แปลงเพาะปลูก – 8 ว...
Read More

“คนคลั่งครั่ง”

“มีไหมบ่มีครั่งย้อม มันบ่ห่อนแดงเอง คันบ่หาฟืมฟัด ต่ำทอบ่มีแล้ว มีไหมบ่มีเข็มห้อย สิเอาหยังหยิบแส่ว มีเข็มบ่มีไหมห้อยก้น สิหยิบได้ฮ่อมได๋”           ผญาคำสอนตั้งแต่โบราณบอกกล่าวเล่าความสำคัญของ “ไหม” ...
Read More

สะบ้า เป็นได้มากกว่าของเล่น

ในวงสนทนาคํ่าคืนหนึ่ง เพื่อนที่มาด้วยกันจากในเมืองยื่นของสิ่งหนึ่งให้ดูแล้วถามว่า นี่ลูกอะไรเก็บมาจากพื้นดินเมื่อตอนเดินเที่ยวป่าตอนบ่าย ผมมองลูกกลมแบน สีนํ้าตาลอมแดง ขนาดกําได้ในฝ่ามือ แล้วตอบ อ๋อ เขาเรียกลูกสะบ้า ในป่าดิบชื้นนี่พบได้มาก แล้วรู้ไหมเมล็ดสะบ้านี่ เอาไปทําอะไรได้บ้าง

ห.หีบ

ครูโต้นแกมีลูกเขยเป็นครูชื่อ นพพร ครูนพพรเป็นครูรุ่นใหม่ มีแนวคิดที่ปฏิรูปการเรียนการสอนให้มันเข้ายุคสมัย ซึ่งขัดกับพ่อเฒ่าที่เป็นครูเก่า หัวโบราณ บางครั้งครูนพพรก็เคยลองภูมิพ่อเฒ่าเรื่องความรู้ใหม่ ๆ อยู่บ้าง ครูโต้นแกก็สามารถตอบและแก้ปัญหาที่ลูกเขยหัวใหม่มันลองภูมิได้ทุกครั้ง

รักลูก

บักกองมันเป็นคนขยันขันแข็ง ทําไร่ทํานาด้วยความเอาใจใส่ บ่ต้องให้ไผบอกตื่นแต่เช้ารีบออกไปยังหน้างาน ทำให้พ่อเฒ่ายอดแกชื่นชมในความขยันของบักกองผู้เป็นลูกเขยยิ่งนัก แต่บักกองมันก็มีเอกลักษณ์ อย่างหนึ่ง นั่นคือการหยอกล้อหรือแก่ลงพ่อเฒ่าให้ชื่นอารมณ์ หากวันใดมีโอกาสเหมาะบักกองจะรีบฉวยโอกาสทันที

ฟ้าผ่าคนขวง

ชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ “ทางอีศาน” ส่วนใหญ่มีอาชีพทํานา ทําสวน ทําไร่ ทุกเช้าต้องรีบออกไปทํางาน หนักเอาเบาสู้ตามประสาคนพื้นถิ่นที่ไม่ได้เรียนต่อชั้นสูง ถึงเวลากินข้าวก็มีลูกหลานนําสํารับกับข้าวไปส่ง แล้วร่วมวงกินกันแบบพอเพียง มีข้าวเหนียวเป็นพื้น ปลาแดกบอง ป่น แจ่ว กินกับผักพื้นบ้านตามท้องไร่ท้องนา ก็นับว่าเลิศรสวิเศษแล้ว

คำเต็มของ ต ม.

“เอี้ยด!” รถบัสลากล้อไป แตงโมที่อยู่ชั้นวางของท้ายรถกลิ้งไปตามตะแกรงจากท้ายรถถึงหน้ารถ ร่วงหล่นลงพื้น กระทบกับใบหน้าของพันตํารวจโทคําแพงที่กําลังหลับสนิทอย่างจัง!

อาหารดีรับปีใหม่

ครอบครัวพ่อเฒ่าผุยกับแม่เฒ่าเคน เป็นครอบครัวใหญ่ มีลูกมีหลานหลายคน การหาอาหารมาปรุงกินกันแต่ละวัน เป็นเรื่องสําคัญที่ทุกคนจะต้องช่วยกันหาตามวิถีชีวิตของผู้คน “ทางอีศาน” บางวันก็ไปหาหน่อไม้ หาเห็ด หาปูหาปลา มาทำกินกัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรนัก เพราะทรัพยากรในพื้นถิ่นอีสาน พอมีแหล่งหาได้ไม่ยาก

แล้วแต่… มึงอยากกิน

พ่อเฒ่าเผือกแกเป็น คนผญาหลาย (ลูกเล่นแพรวพราว) ฮู้จักเว้าฮู้จักอ่อย ใช้คนเป็น เรื่องบ่มีก็หา เรื่องบ่มาก็ซอก จนผู้คนได้เรื่องเล่ากันติดปาก เวลาใดที่พ่อเฒ่าเผือกไปงานต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ผู้คนก็มักจะไปนั่งล้อมรอบแกเผื่อจะได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ บางทีก็เป็นเรื่องเชิงวิชาการก็จะได้ความรู้พอนําไปใช้ปฏิบัติได้บางทีก็เป็นเรื่องตลกเฮฮาพาสนุก จึงทำให้ผู้คนทั้งหลายติดอกติดใจ อยากฟังแกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ

หัวคันไดบ้าน

ราว พ.ศ. ๒๕๙๐ กว่า ๖๐ ปีมาแล้ว ผู้เขียนยังเรียนอยู่มัธยมต้น เตี่ยกับแม่เปิดร้านขายอาหารจีนอยู่ที่อำเภออำนาจเจริญ ส่วนบ้านเกิดของแม่อยู่ที่อำเภอม่วงสามสิบ ตากับยายและญาติ ๆ ยังอยู่ ช่วงปิดเทอมทุกปีแม่มักจะใช้ผู้เขียนนำสิ่งของเครื่องใช้ของฝากไปเยี่ยมตากับยายและญาติ ๆ ที่หมู่บ้าน “ยางเคลือ” อ.ม่วงสามสิบ เพราะเห็นว่าผู้เขียนเป็นหลานรักของยาย เป็นภาพประทับใจฝังในความจำมาจนถึงปัจจุบันนี้

เฮ็ดกิ๋นแซบ

ผู้คนในภาคอีสาน มีฝีมือในการปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นได้อย่างยอดเยี่ยม การปรุงอาหารของคนในภาคอีสาน จะมีการถ่ายทอดสืบต่อกันแบบรุ่นสู่รุ่น แม่บ้านบางคนคิดสูตรเด็ดจนสามารถเปิดร้านขายอาหารอีสาน สร้างฐานะให้ครอบครัวได้ มีร้านอาหารบางแห่งคิดสโลแกนเขียนขึ้นป้ายให้ผู้ที่เข้าไปในร้านได้อ่านและเข้าใจ มีตัวอย่างที่เคยพบ เช่นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีร้านอาหารแห่งหนึ่งเขียนว่า “ได้ดื่มน้ำเย็น ได้เห็นรอยยิ้ม ได้อิ่มอาหาร ได้รับบริการประทับใจ” ก็นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง

เมืองแห่งหอมแดง

พี่น้องชาวบ้านแถบ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ปลูกหอมกันมาก เรียกว่าเมืองแห่งหอมหัวแดง แห่งหนึ่งก็ได้ และบางส่วนได้บุกเบิกปลูกแบบอินทรีย์ นำชื่อเสียงมาสู่เกษตรกรถ้วนหน้า

เรื่องผี

พูดเรื่องผีแล้วยังพิสูจน์กันไม่ได้ว่า ผีมีจริงหรือไม่? แต่ถึงกระนั้นผู้คนก็ยังกลัวผีกันอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตามผู้คนทางอีสานก็ยังมีประเพณีถือผีกันอยู่ เช่น พิธีผีหมอเหยาของชาวบ้านไทกะเลิง พิธีเลี้ยงผีของไทโส้ ที่เรียกว่า “แซงสะนาม” การรักษาผู้ป่วยด้วยการประกอบพิธีรำผีฟ้า การเลี้ยงผีมเหสักข์หลักบ้านก่อนถึงฤดูทำนา และการเลี้ยงผีตาแฮก เป็นต้น
1 2 3 12
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com