Tag

ตำนานการเกิดฮีตสิบสอง

ฮีตเดือนห้า

คำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสฤต แปลว่าผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป หมายถึง วันที่พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ตามหลักโหราศาสตร์เรียกว่า ยกขึ้นสู่ เช่น พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษคือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไป (ถึงปีต่อ ๆ มาได้คลาดเคลื่อนไปแต่ก็ยังถือวันที่ ๑๓ เป็นวันสงกรานต์)

ฮีตเดือนสิบสอง พระชาวเมืองปาฐาลุยโคลน

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้ขึง หรือไม้สะดึง คือกรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บจีวรของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีเครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรนั้นต้องเย็บผ้าหลาย ๆ ชิ้นติดต่อกัน ให้มีรูปแบบเหมือนคันนา

ฮีตเดือนสิบเอ็ด (๑) วันปวารณาเปิดโอกาสชี้แนะ

คำว่า ปวารณา หมายถึง การยอมให้ใช้ ยอมให้ขอ ยอมให้ว่ากล่าว ยอมให้ตักเตือน วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ เป็นประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมานาน เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา ออกจากที่อยู่ประจำในฤดูฝนของพระสงฆ์ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามกำหนดไม่ไปค้างแรมที่อื่น ตั้งแต่วันเข้าพรรษา แรม ๑ คํ่า เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ เมื่ออยู่ครบ ๓ เดือนเรียกว่า ไตรมาส วันออกพรรษาเรียกอีกอย่างว่า วันปวารณา ในวันนี้พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณาแทนอุโบสถสังฆกรรมคือ ไม่ต้องสวดพระปาฏิโมกข์

ฮีตเดือนสิบ เกิดจากคติเรื่อง “เมียหลวงอิจฉาเมียน้อย”

คำว่า ข้าวสลาก หรือ ข้าวสาก หรือข้าวกระยาสารท แปลว่า ของกินในฤดูสารท และคำว่า หม้อข้าว ข้าวทิพย์ ข้าวปายาส (ปายาด) ข้าวมธุปายาส ข้าวปาด ข้าวสัปปิยาคู ก็มีความหมายเดียวกันแต่เรียกต่างกัน คำว่า ข้าวสลาก มาจากคำว่า สารท (ศรทฺ) ในภาษาสันสกฤต (ภาษาบาลีมาจากคำว่า สรท) ต่อมาออกเสียงสากหรือสาด

ฮีตเดือนเก้า

คำว่า ข้าวประดับดิน คือการดำนาโดยการเอาข้าวกล้ามาปักดำลงในนา ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการเอาต้นข้าวมาประดับดินให้ดูสวยงาม ทั้งตอนปักเสร็จแล้วใหม่ ทั้งตอนที่ต้นข้าวเขียวขจีทั่วท้องทุ่งทั้งตอนต้นข้าวออกรวงเหลืองอร่าม เมื่อถึงเดือน ๙ แรม ๑๔ คํ่า ชาวอีสานจะพากันทำบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญห่อข้าวน้อย ในวันเดือน ๙ ดับเท่านั้น เพราะในเดือนนี้พญายมบาลได้ปล่อยพวกสัตว์นรกออกมาหากิน หรือมารับส่วนบุญกับญาติพี่น้องที่โลกมนุษย์

ฮีตเดือนแปด เข้าพรรษา : เหตุจากการจาริกไปทั่ว, การค้างแรม และกติกา

พระพุทธเจ้าได้บัญญัติกำหนด เขต วัน เวลา ให้พระสงฆ์สามเณรให้ อยูป่ ระจำ ณ สถานที่แหง่ ใดแหง่ หนึ่งตลอดช่วงระยะ ๓ เดือนในฤดูฝนโดยไม่ให้ไปพักแรมค้างคืนที่ไหนจนกว่าจะหมดฤดูฝน เรียกว่า เข้าพรรษา...

ฮีตเดือนเจ็ด

คำว่า ซำฮะ (ชำฮะ) หมายถึง การชำระล้างสิ่งที่เป็นความชั่วร้าย หรือสิ่งเลวร้ายที่เกิดจากนํ้ามือของมนุษย์ การทำบุญซำฮะเป็นงานบุญที่นิยมทำกันในเดือน ๗ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เรียกว่า บุญซำฮะบ๋าเบิก

ฮีตเดือนหก

สมัยก่อนการทำบุญบั้งไฟจุดบูชาพญาแถนเพื่อให้ฟ้าฝนตกดี เพราะเชื่อว่า บนฟ้าแต่ละขั้นจะเป็นเมือง มีเจ้าปกครองในแต่ละเมืองฟ้า ที่เรียกว่าพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร หรือเรียกว่า พระอินทร์ พระพรหม พญาแถนจะเป็นผู้แต่งฝน แต่งลม แต่งแดด แต่งนํ้า แต่งไฟ การจุดบั้งไฟขึ้นไปบนอากาศก็เพื่อบูชาพญาแถน ให้ท่านดีใจจะได้จัดแต่งฝนมาให้ เพื่อจะได้มีนํ้าทำไร่ไถนา หากบั้งไฟขึ้นตรงสูงไม่เอียงปีนั้นฝนจะดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นปีนั้นฝนจะแล้ง ข้าวปลาอาหารจะไม่อุดมสมบูรณ์๑ กาลต่อมาเมื่อมีคติความเชื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา การจุดบั้งไฟก็เพื่อเป็นพุทธบูชา คือบูชาพระพุทธเจ้า ดังมีคำกลอนที่เรียกว่า เซิ้งบั้งไฟหรือรำบอกไฟ

ฮีตเดือนสี่

คำว่า “ผะเหวด” เป็นชื่อของพระโคตมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แสดงถึงพระจริยวัตรเมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์เวสสันดร มีการจารเป็นหนังสือชาดกเรื่องยาวถึง ๑๓ ผูก มักจัดงานบุญผะเหวด หรือบุญมหาชาติหลังออกพรรษาแล้ว จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ เพราะเดือนนี้ว่างไม่มีประเพณีใด ปราชญ์อีสานจึงจัดไว้เดือนนี้ซึ่งเป็นฤดูแล้ง ชาวบ้านว่างจากการทำไร่ทำนา

ฮีตเดือนสาม

คำว่า “ข้าวจี่” คือ ข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาด้วยเกลือคลุกเคล้า ให้ทั่วเอาไม้เสียบกลางแล้วย่างไฟ เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ทาแล้วย่างซํ้าอีกรอบ เสร็จแล้วถอดไม้ออก ต่อมาเอานํ้าอ้อยก้อนยัดใส่แทน งานบุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เก่าแก่ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนี้ ด้วยว่าแต่ก่อนเป็นเดือนชุมนุมพวกแถน หรืองานเลี้ยงผีฟ้าแถนเดือนสุดท้ายซึ่งจัดมาตั้งแต่เดือนอ้ายและเดือนยี่ เมื่อเดือนสาม ไม่มีประเพณีในพระพุทธศาสนาปราชญ์อีสานจึงได้จัดงานบุญข้าวจี่ไว้ในเดือนนี้ จนกลายเป็นงานบุญประจำเดือนสามตั้งแต่นั้นมา

ฮีตเดือนยี่

คำว่า “คูนลาน” หมายถึง นำข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้นบนลานนวดข้าว หรือเป็นการคูนข้าวที่ชาวนาทำนาได้ผลดีจนได้ข้าวกองใหญ่ ซึ่งชาวนาได้ใช้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ โดยมีข้าวที่นวดเสร็จแล้วกองไว้ในลานข้าว การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า “บุญคูนลาน” บุญนี้อยู่ในช่วงเดือนยี่จึงเรียกว่า “บุญเดือนยี่” เป็นการทำบุญขวัญข้าวเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ

ฮีตเดือนอ้าย

คำว่า “อ้าย” แปลว่า หนึ่ง, กก, ก่อน เดือนอ้ายเป็นเดือนแรกในฮีตสิบสองงานบุญประจำเดือนเดือนอ้ายสังฆเจ้าเข้ากรรม ส่วนเดือนยี่หาฟืนมาไว้แล้วตั้งข้าวจี่ในเดือน ๓ เป็นประเพณีที่เก่ามาอย่างนี้ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนี้
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com