เรื่องจากปก ทางอีศาน 15 : กำเนิดข้าวไทย
ในระยะแรกยุคที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตด้วยการเก็บและล่า ข้าวเป็นเพียงอาหารตามฤดูกาล เมื่อข้าวป่าสุกจึงเก็บมาบริโภค เพราะข้าวป่าเมล็ดร่วงง่าย พอลงดินก็กลายเป็นต้นข้าวในฤดูต่อไป ต่อมามนุษย์เฝ้าสังเกตและเรียนรู้ธรรมชาติ จนถึงในยุคหินใหม่มนุษย์จึงเรียนรู้การปลูกข้าวอย่างเป็นระบบ แทนที่การหาเก็บ ต่อมาเมื่อมนุษย์อยู่รวมเป็นกลุ่ม จึงคิดวิธีปลูกข้าวแบบนาหว่าน แต่ได้ผลผลิตไม่ดีนักเพราะการหว่านไม่สม่ำเสมอ จึงประดิษฐ์ “ไถ” เพื่อแทง หรือไถดินให้ลึก ก่อนจะหว่านเมล็ดข้าวลงไป และต่อจากนั้นก็ทำให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง
แม่โพสพ
“ข้าวคือชีวิต” คนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดาชื่อว่า “แม่โพสพ” ประจำอยู่ในต้นข้าว แม่โพสพเป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ถ้าผู้ใดได้ทำพิธีตามคติความเชื่อและบูชากราบไหว้แม่โพสพแล้วจะทำให้ผู้นั้นร่ำรวยอุดมสมบูรณ์ และข้าวสามารถให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ได้ มนุษย์เราเป็นหนี้บุญคุณแม่โพสพเป็นอันมาก
เรื่องสั้น : กำแพง
ไอ้ห่า! มึงต่อยกับกูไหม ? ขบวนกลองยาวงานบวชพลันหยุดชะงัก จากขบวนแห่นาคกลับตาลปัตรเป็นสังเวียนมวยอย่างช่วยไม่ได้ หนุ่มเลือดร้อนรุ่นใหญ่ผมสองสีกลับมาท้าตีท้าต่อยกันกลางงานเหมือนเด็กวัยรุ่น
การปรากฏตัวของนักการเมืองคนกล้า กับฉากอำลาตำแหน่งนายกฯ ของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (๕)
ก่อนจะพูดถึงบทบาทของ ส.ส. อีสานรุ่นที่ ๒ จากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน และของประเทศไทย ควรจะทำความเข้าใจบทบาทชีวิตทางการเมืองของพันเอกพระยาพหลฯ นายทหารนักประชาธิปไตย เพื่อจดจำรำลึกถึงคุณูปการของท่านเพิ่มเติมจากที่เขียนไว้ในบทที่สี่
ฝันเห็นกบ แปลเป็นเลข ๓๒
หลาน... “งวดนี้ เจ้าฝันว่าจั่งได๋น้อ พ่อใหญ่...”
พ่อใหญ่... “กูฝันเห็นกบ...มันโตนน้ำ...”
หลาน... “เจ้าแปลจั่งได๋ พ่อใหญ่ ฝันเห็นกบเจ้าจั่งแปลเป็นเลข ๓๒ เว้าเบิ่งดู้...”
บทบรรณาธิการ ทางอีศานฉบับที่ 15
สภาพนิเวศของประเทศไทย เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงในการทำการเกษตรกรรมและงานปศุสัตว์ ถึงวันนี้ต้องวางยุทธศาสตร์ของชาติมุ่งไปทิศทางนี้ ส่งเสริมเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขปัจจัยทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ ประเพณีวัฒนธรรมสังคม การศึกษาและสาธารณสุข ให้อำนวยชัยในการนี้ หยุดนโยบายและพฤติกรรมที่กัดกร่อนบั่นทอนความเขียวขจีของพืชพันธุ์ ความแพร่ขยายอ้วนพีของสัตว์เลี้ยง และความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำตามธรรมชาติ