เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๒)
ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้าของสยามรุ่งเรืองมาก จนส่งผลให้เงินตราที่มีใช้จ่ายในตลาดคือ เงินพดด้วง หรือเงินหมากค้อ ของคนลาวอีสาน มีจํานวนไม่เพียงพอใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะผลิตด้วยมือ กําลังผลิตค่อนข้างตํ่าผลิตได้วันละไม่กี่ร้อยบาท ทั้งที่ความต้องการใช้มีมากกว่านั้น ชาวต่างประเทศซึ่งเป็นชาวตะวันตกมักนำเงินเหรียญของตนมาซื้อขายสินค้า แต่ต้องนำเงินเหรียญนั้น ๆ หลอมเป็นเงินพดด้วง แล้วตีตราของทางราชการเสียก่อน จึงเป็นที่ยอมรับของพ่อค้าหรือราษฎรชาวสยาม
หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง
แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง
บุญข้าวสาก
สำหรับคนที่ไม่รู้จักประเพณี “บุญข้าวสาก” คำพังเพยข้างต้นอาจแสลงหู เพราะมีคำว่า เปรต คำว่า ผี แต่ในสมัยก่อน บุญข้าวสากหรือวันสารทไทย เป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยทั้งประเทศ
ทางอีศาน 29 : จดหมาย
แด่...มิตรภาพ...แดนไกล กางเกงยีนส์เสื้อยืดขาวรองเท้าผ้า คลุมกายาแขนยาวเขียวเปรียวสดใส รับวงพักตร์พรรณผ่องงามของทรามวัย มิตรภาพในรอยยิ้มซึ้งตรึงอุรา ทำธุระที่ค้างไว้ในเมืองหลวง ขึ้นรถช่วงประมาณสองทุ่มกว่า ถึงเชียงใหม่ก็ใกล้หกนาฬิกา เก้าชั่วโมงข่มตาหลับกับรถทัวร์ มิตรภาพคนแดนไกลฝากไว้หน่อย...