การบูชา “ฟ้าหลวง พูราหลวง” ของไทอาหม
พิธีกรรมสวดพูราหลวงนี้เป็นพิธีสาธารณะที่มีการชุมนุมกัน สวดขับร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อฟ้าหลวงและเทพเจ้าทั้งปวงของชาวอาหม บางครั้งจัดขึ้นเพื่อเป็นการสวดต้อนรับบรรดาแขกคนสำคัญที่มาเยือนชุมชน และทำพิธีสวดเรียกขวัญ ให้พร กระทำพิธีขึ้นที่อาคารทรงแปดเหลี่ยมที่เรียกว่า “หอผี”
แถนในตำนานไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหม (๒)
ฉบับนี้ขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับ แถนคำ, แลงดอน, ขุนตุงคำ (ซึ่งน่าจะตรงกับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” ในพงศาวดารล้านช้าง) ที่ส่งคนลงมาปกครองเมืองลุ่ม ตามเอกสารของ ไทมาว ไทใหญ่ไทอาหม ที่ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา สรุปเนื้อความไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “ไก่แสง :ไก่เสี่ยงทายตัวแรกในตำนานปรัมปราของชนชาติไท” วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วัฒนธรรมแถน : อ่านเอกสารชั้นต้นกันก่อน (๑)
เรื่อง “พญาแถน” เป็นตำนานที่ชนเผ่าไท-ลาว ทั้งกลุ่มไทน้อยและกลุ่มไทใหญ่มีร่วมกันเรื่องพญาแถนยังเป็นต้นเค้าของวัฒนธรรมไท-ลาวดั้งเดิม (ก่อนรับพุทธศาสนา) ทั้งในด้านวิถีชีวิตประจำปีและด้านการเมืองการปกครอง
(๗) แถน ในวัฒนธรรมสายไทหลวง (ไทใหญ่, ไทมาว, ไทอาหม ฯลฯ)
ข้าพเจ้าขอเรียก ชาวไตในภาคตะวันตกของยูนนาน ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ (ปัจจุบัน) ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดียปัจจุบันว่าชาวไตสาย “ไตหลวง” หรือ “ไตสายตะวันตก” เนื่องจากมีตำนานกำเนิดและรากเหง้าวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันมาก