กลอนบทละคร (๒)
โดย: ทองแถม นาถจำนง
ในเรื่องพระราชนิพนธ์อิเหนา (รัชกาลที่ ๑) มีความตอนหนึ่งว่า
๐ อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง………สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์………..แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป ๐
“เจ้าสตรี”ที่แต่งเรื่องอิเหนาและดาหลังในสมัยอยุธยาคือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดูจากคำกลอนข้างต้น ก็น่าจะคิดว่า เรื่องอิเหนาและดาหลังที่ทรงแต่งไว้นั้นเป็นบทละคร และต้องแพร่หลายเป็นที่นิยมมาก จนเมื่อรัชกาลที่ ๑ ทรงฟื้นฟูด้านอักษรศาสตร์ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาเล็กและอิเหนาใหญ่
และรัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา
ปัญหาที่จะคิดต่อหรือค้นต่อไปได้จุดหนึ่งคือ ในเรื่องอิเหนาเล็ก, อิเหนาใหญ่ ของรัชกาลที่ ๑ นั้น มีสำนวนเก่าของเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปนอยู่หรือเปล่า
(ภาพประกอบ จากอุโบสถวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา)
• วรรณศิลป์ : ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑
• วรรณศิลป์ : หมาเก้าหาง..ดนตรีอีศานคลาสสิก
• วรรณศิลป์ : ทางอีศาน 82 : เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๓ –
• วรรณศิลป์ : ทางอีศาน 82 : ศิลปะลพบุรี
• วรรณศิลป์ : ทางอีศาน ๘๒ : (๘) ที่จุดเริ่มต้นคือที่สุดท้าย – ๑
• วรรณศิลป์ : กราบพระธาตุพนม
• วรรณศิลป์ : วิชาความรู้จะมีค่า ก็ต่อเมื่อถูกถ่ายทอด
• วรรณศิลป์ : เทียวทางให้สุดเส้น อย่าถอยหลังให้คนย่ำ ตายกะตายหน่าพุ้น คนจั๊งญ่องว่าหาญ
• วรรณศิลป์ : ประกาศระดมทุนพิมพ์หนังสือ “ภูมิบ้านนามเมือง คำใคร ไทย – มอญ – เขมร”
• นิตยสารทางอีศาน : 82