วัฒนธรรมแถน (๔) : แถนในวัฒนธรรมมลายูดั้งเดิม

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการละเล่นคล้ายมะโนราเรียกว่า มะโย่ง มีผู้ศึกษาพบว่าคำว่า มะโย่ง (Makyung) มาจากคำว่า Mak Hyang (มะ-แม่ เฮียง) ซึ่งเป็นพิธีบูชาผีบรรพบุรุษฝ่ายแม่ของพวกมลายูในสมัยก่อนอิสลาม หรือก่อนพราหมณ์-พุทธด้วยซ้ำ ซึ่งคลี่คลายมาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในสมัยหลังเช่นเดียวกับหนัง ‘วายัง’ (wayang) หรือหนังตะลุง

สงสารเมีย

วันหนึ่ง บักเลิศมันไปหาปลา มันมีโชคได้ปลาช่อนตัวใหญ่มาหลายตัว พ่อเฒ่านึกก็ไปชักชวนเพื่อนคอเดียวกันมาตั้งวง โดยมีปลาช่อนเผาเป็นกับแกล้ม และในวงเหล้าวันนั้น มีพ่อเฒ่านวน กับพ่อเฒ่าเดช มาร่วมสังสรรค์ด้วย ความสุขและม่วนซื่นในวงเหล้าจึงเกิดขึ้น ! “เป็นใด๋เสี่ยวนึก...กินเหล้าหลาย บักน้อยโต๋มันได้เรื่องอยู่บ้อ?” เสียงพ่อเฒ่านวนถามพ่อเฒ่านึก แต่พ่อเฒ่านึกไม่ตอบ มีแต่อมยิ้ม แล้วก็ยกแก้วเหล้าขึ้นดื่ม พ่อเฒ่านวนเห็นว่าพ่อเฒ่านึกไม่ตอบก็หันไปถามพ่อเฒ่าเดช “หมอเดชเด๋...บักน้อยโต๋เป็นจั่งใด๋?” “เรื่องนั้นโต๋บ่ต้องถามเฮา...อาทิตย์ละสองยืนพื้น!”

คำเก่าอย่าฟ้าวลืม – ยา

คำว่า “ยา” ภาษาลาว-อีสาน มี ๓ ความหมาย ๑. คำนาม ยารักษาโรค (อักษรลาวปัจจุบันใช้ ตัว ย-หางยาว) ๒. คำกริยา หมายความว่า อย่า ๓. คำนาม เป็นคำเรียกพระภิกษุที่เคารพยกย่องว่า “ยาคู” (ยา ออกเสียงขึ้นจมูก)

จาก “สีหปักษี” ถึง “หัสดีลิงค์” สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีศพสูงศักดิ์

ด้วยศรัทธาสูงส่งที่มีต่อเทพเจ้าทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู พิธีศพของชาวบาหลีจึงมีกระบวนการอันเอิกเกริก ดั่งการส่งดวงวิญญาณของผู้ตายคืนสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งจะต้องสร้างอุปกรณ์สำคัญสองสิ่ง คือ “บาเดห์” (Wadah) หออัญเชิญศพแบบจำลองจักรวาลตามคติของชาวบาหลี และ “เลมบู” (Lembu) หุ่นสัตว์ในเทพนิยายสำหรับอัญเชิญศพสู่พิธีเผา ...

ไหว้ตาแฮกที่ปลายนา : หัวใจบุญข้าวสาก

บุญข้าวสาก เป็นงานบุญเดือนสิบของคนอีศาน นอกจากทำบุญอันเป็นพิธีทางศาสนาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีความเชื่อถือถึง วิถีชีวิต การทำมาหากิน รวมอยู่ในงานประเพณีที่สำคัญของบุญเดือนสิบ – บุญข้าวสากอีกด้วย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com