ยักษ์สะลึคึ ตำนานแม่น้ำโขง
ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งหากินอยู่บริเวณที่เป็นอาณาเขตของประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในปัจจุบัน ยุคนั้นบ้านเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ จะมีเพียงผู้คนอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามป่าเขา ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักยักษ์เพศผู้ตนนี้ดี เพราะเวลามันเดินทางไปหาอาหาร จะเกิดเสียงดังสนั่นเหมือนกับเกิดแผ่นดินเลื่อนหรือแยกออกเป็นร่อง พอชาวบ้านได้ยินเสียงดังกล่าวจะพากันอพยพหลบหนีไปซ่อนตัวตามหุบเขาให้พ้นเส้นทางที่ยักษ์ตนนี้เดินผ่านจะได้ปลอดภัย
ไปผูกเสี่ยวเที่ยวอีสาน
ภายหลังออกพรรษา ท้องฟ้าเปิดโล่ง ลมหนาวพัดพาความเย็นฉํ่าแผ่กระจายไปทั่วทุกหนแห่ง เสร็จสิ้นงานนา ข้าวเต็มยุ้ง ปลาแดกเต็มไหผู้คนเบิกบานได้ทำบุญทำทาน ดูหนังฟังหมอลำ คนจำนวนไม่น้อยจากภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ มักตั้งคำถามว่า ถ้าไปเที่ยวอีสานจะไปดูอะไร มีอะไรให้จับจ่ายซื้อหา
แกะรอยคำว่า เงือก
การเปลี่ยนความหมายของ “คำ” เป็นเรื่องปกติ ความหมายดั้งเดิมของคำบางคำ เช่นคำว่า “เงือก” ในภาษาไท-ลาวโบราณ เปลี่ยนไปจนหมดเค้าเดิม
ถ้าถามเด็ก ๆ ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบคือ “นางเงือก” (mermaid) ครึ่งคนครึ่งปลา
ถ้าถามผู้ใหญ่ในอีสาน ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบที่ได้ฟังบ่อยคือ เป็นสัตว์นํ้าประเภทปลาไหลไฟฟ้า , เป็นผีนํ้า ทำให้คนตาย ฯลฯ
วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่มที่สอง [๕]
มุขปาฐะเรื่องปาจิต อรพิม นี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบโคลงในสมัยอยุธยา ตัวธรรมลาวปัญญาสชาดก แต่การบันทึกลายลักษณ์อักษรในฐานะ ตำนานเมืองพิมายนั้นเป็นการยืมโครงเรื่องของเรื่องเล่านิทานปรัมปราที่กลายเป็นชาดกนอกนิบาต และกลับกลายเป็นตำนานท้องถิ่น
กินข้าวป่า (๒)
กินข้าวป่าครั้งนี้ นอกจากต้มปลา ปิ้งกบแล้ว ผมสนใจเรื่องปูนา เพราะเพื่อนคนที่ชวนพวกเรามากินข้าวป่า เขาถนัดเรื่องทำอาหารจากปูนามาก เริ่มจากพวกเราลงลุยนํ้า จับปูใส่ถังนํ้ามีปูอ่อน ปูแก่ ตัวเล็กตัวโตเอาหมด ได้ปูเยอะพอสมควร เราก็มาแยกปูออกล้างนํ้าให้สะอาด ปูอ่อนยังตัวนิ่ม ๆ สีขาว ๆ ส่วนปูไข่ตัวโตกระดองใหญ่ไข่เต็มท้อง ปูตัวขนาดกลางกระดองยังแข็งมากนักก็นำมาทำ “ตำปู”
พื้นสืบ
“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”