จิตวิญญาณครู
แม้เป็นวันหยุด แต่ครูศุภสิทธิ์ อวยชัย แห่งโรงเรียนโพนงามหนองน้ำกิน อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ก็พาลูกและลูกศิษย์ ~ ด.ญ.จุฑารัตน์ อวยชัย, ด.ญ.กัญญาภัค - ด.ญ.กัญญาวีร์ ไชโย [ฝาแฝด] และ ด.ช.รัตนธรรม สุขรัตน์ มาฝึกวาดรูปร่วมกับศิลปิน
ตอนที่ 3 จากตำนานสู่สถานการณ์จริง
ตอนที่แล้ว เราได้ซึมซับตำนานแห่งความแห้งแล้งของภาคอีสานว่าเล่าขานกันมาอย่างไร ใครเป็นผู้เกี่ยวข้องในตำนานในแต่ละช่วง คราวนี้ลองมาพิจารณาสภาพของความเป็นจริงในปัจจุบันดูว่าอีสานแห้งแล้งจริงหรือไม่? สภาพ, ข้อมูล, สถิติ, ตัวเลขต่าง ๆ ที่มีอยู่ มันก็ได้สะท้อนปัญหาอย่างชัดเจนว่า การแก้ปัญหาทั้งภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วมภาคอีสาน นอกจากแก้ไขกันไม่ได้แล้ว ดูเหมือนปัญหามันจะทวีคูณหนักหนาขึ้นทุกวันด้วยซ้ำ
สาระวิพากษ์…คนแห่งลุ่มน้ำโขง
...แม่น้ำโขง...แม่น้ำนานาชาติ ที่มีความสำคัญเป็น ๑ ใน ๑๐ ของแม่น้ำสำคัญของโลก ต้นกำเนิดของสายน้ำ เริ่มจากบริเวณเทือกเขา แทงกูล่า ในที่ราบสูงธิเบตในประเทศจีน มีความยาวจากต้นน้ำถึงปากแม่น้ำที่ประเทศเวียดนามถึง ๔,๙๐๙ กิโลเมตร มีพื้นที่ลุ่มแม่นำช้ำที่ไหลพาดผ่านทั้ง ๖ ประเทศ คือ จีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม ถึง ๗๘๐,๐๐๐ กว่าตารางกิโลเมตร มีผู้คนอาศัยอยู่ตลอดพื้นที่ลุ่มน้ำถึง ๖๕ ล้านคน ไหลจากความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง ๕,๓๐๐ เมตร มีลุ่มน้ำสาขาหลัก ๆ ถึง ๒๕๑ ลุ่มน้ำ
ประสาทมนุษย์…สุดยอด
มนุษย์เรานี้พระเจ้าสร้างขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด สร้างขึ้นมาแล้วไม่ให้หยุดแม้วินาทีเดียว ถ้าหยุดก็คือตาย ยิ่งไม่หยุดยิ่งแข็งแกร่ง เหมือนร่างกายยิ่งออกกำลังก็ยิ่งแข็งแรง ออกกำลังกายไปจนแก่ชราก็ยังแข็งแรงอยู่ สมองคนเราก็เหมือนกันยิ่งใช้ยิ่งชำนาญยิ่งคล่องแคล่ว เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าใช้งานตลอดก็จะใช้ได้ทนนาน ถ้าไม่ใช้ก็จะพาลเสียเอาดื้อ ๆ ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เพราะตัวผู้เขียนเองมานั่งทบทวนตัวเอง
ด อ ก จ า น (Palasha) “เล็บแดงแห่งกามเทพ”…มิ่งไม้มหามงคล
“ดอกจาน” หรือ”ดอกทองกวาว” ชาวตะวันตกให้ฉายาว่า เปลวไฟในพนา เพราะมีสีแดงร้อนแรงดั่งเพลิง นับเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยม เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน อุดรธานี และอำนาจเจริญ (จานเหลือง) และประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงสีดอกจานคือสีของนิตยสารรายเดือน “ทางอีศาน”
มณีในเอกสารโบราณ สมุดไทย ใบลานวัดบ้านม่วงน้อย
สมัยเก่าก่อน เราชาวบ้านเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้ไปโรงพยาบาล เรารักษากันเอง หรือไม่ก็ไปหาหมอในหมู่บ้าน นั่นคือหมอสมุนไพร หรือไม่ก็หมอคาถาอาคม ให้ช่วยรักษาและขจัดปัดเป่าโรคภัย