เกษตร ๑๒ เดือน : ชูรสชูค่าทะเลเกลือใต้พื้นพิภพ
“เกลือ” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีลักษณะการใช้สอยหลัก คือ เป็นเครื่องปรุงรสและใช้สำหรับถนอมอาหาร อย่างไรก็ตามความมีดีของเกลือก็ไม่ต่างจากสำนวน “จงรักษาความดี ประดุจเกลือรักษาความเค็ม” เพราะเรื่องราวขอ...Read More
ก้อยไข่โพ๊ะ : แหย่ไข่มดแดงในป่า หาปลากั้งน้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ
เดือนสามลมวี่เดื่อนสี่ลมวอย พัดดอกฮังน้อยหอมไกล ลมแล้งพัดมาคราใดให้นึกถึงเยาว์วัย ที่พ่อแม่พาไปกินข้าวป่า แหย่ไข่มดแดงที่ต้นหว้าพร้อมหาปลาค่อกั้งใหญ่น้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ
มะกอก ในความคิดคำนึง
มะกอก ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นชื่อต้นไม้ แต่ในหลายครั้งของการพูดคุยเรื่องมะกอก กลับพบว่า พูดกันคนละเรื่อง เพราะมะกอกของคุณกับมะกอกของผม อาจไม่ใช่มะกอกต้นเดียวกัน เพียงแค่ในสำนวน “มะกอกสามตะกร้า ปาไม่ถูก” ที่ได้ฟังติดหู ขึ้นใจ เป็นมะกอกชนิดไหน เพียงแค่นี้ ก็มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้แล้ว
ผักปลูกในสารละลาย…มุมมองจากธรรมชาติ
ผักปลูกในสารละลายหรือ... รู้จักสิ... เขาเรียก “ไฮโดรโปนิกส์” ใช่ไหม อร่อยดีนะ เดี๋ยวนี้ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ตามตลาดนัดก็ยังมี
‘หมูป่าเอาะเผือก’ สูตรเนื้อตุ๋นแบบอีสานของคุณปู่สู่คำนาง
ส่วนคำว่า “เอาะเผือก” หมายถึง การเอาะที่ชูรสด้วยเผือก แต่ถ้าชูรสด้วยหอม ก็เรียก “เอาะหอม” เน้นและย้ำว่า ให้เรียกชื่อวัตถุดิบหลัก ตามด้วยกรรมวิธีการทำให้สุก และปิดท้ายด้วยวัตถุดิบรอง
ประวัติศาสตร์จากสาเกเชื่อม
ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ สาเกเชื่อมถ้วยหนึ่ง ดู ๆ ไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรพิเศษ ของหวานโบราณถ้วยนี้ พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ในยุคที่ “คัพเค้ก” ครองเมือง สัปดาห์ก่อน ผมขับรถไปพักผ่อนที่ชายทะเลแถวเพชรบุรี แวะซื้อขนมริมทางติดมือมานิดหน่อย หนึ่งในนั้นคือสาเกเชื่อม ราคา ๓ ถุงร้อย ใส่ตู้เย็นไว้หลายวันแล้ว เพิ่งนึกได้ เลยแกะถุงเทใส่ถ้วย นั่งพิจารณาดูอยู่ ณ บัดนี้
ผงชูรสกับรสอูมามิ
ป้ายที่เขียนว่า “ร้านนี้ไม่ใช้ผงชูรส” อาจเป็นจุดขายของบางร้านอาหารในเมืองกรุง แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตอำเภอรอบนอกแล้วละก็ เขียนแบบนี้อาจขายไม่ได้เลย ในชนบททุกวันนี้ อาหารพื้นบ้านที่ปรุงโดยชาวบ้านแท้ ๆ ล้วนขาดผงชูรสไม่ได้ นี่เป็นเรื่องจริง
หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง
แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง
เขากินอะไรเป็นข้าวกัน
ในแต่ละมื้ออาหารปกติของคนทั่วโลก ต้องมีของกินที่เป็นหลักอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยแล้วของกินที่ว่านั้นคือ ข้าว แล้วคนชาติอื่นกินอะไร บางคนบอกฝรั่งกินขนมปัง แต่เอ คนแอฟริกากินอะไรเล่า ในยุคสมัยที่ร้านอาหารไม่ถูกจำกัดด้วยความเชื่อ
ยาพิษแสลงใจ
มนุษย์รู้จักยาพิษ และใช้มันเพื่อปลิดชีพตนเองหรือผู้อื่นมานานนับพันปี ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการฆาตกรรม ยาพิษมีข้อได้เปรียบคือ ไม่เปิดเผย ไม่ร้องเตือน และอาจไม่ทิ้งร่องรอย การประกอบยาพิษและการวางยาพิษ เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และรอคอยเวลาที่เหมาะสม แต่กว่าเหยื่อจะรู้ตัว ฆาตกรก็เผ่นหนีไปไหนต่อไหนแล้ว หรือไม่ก็แสร้งร้องไห้คร่ำครวญอยู่ข้างศพผู้ตายนั่นเอง
สมุนไพรระงับปวด
“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน
ต้นงิ้ว กามารมณ์ และการลงทัณฑ์
คุณคิดว่า ต้นงิ้วมีลักษณะอย่างไรหรือ อ๋อ ก็มีลำต้นตรง โตขนาดโอบได้ มีหนามแหลมยื่นยาวออกมาจากต้นโดยรอบ แล้วใบงิ้วเป็นอย่างไร ไม่รู้ซินะ นึกไม่ออก เขาว่ามีอยู่ในนรกไง รู้ได้ไงหรือ อ๋อ เคยได้ยินเพลงร้องว่า “...ต้นงิ้ว กระทะทองแดง เอาหอกแหลมแทง ทุกวันทุกวัน” แล้วเคยเห็นของจริงไหม “บ้าละซี ยังไม่ตายนี่ ถึงตายก็ไม่อยากเห็น”
ฤๅสับปะรดเป็นหัวอยู่ใต้ดิน
ทำไมคนไทยจึงเรียก สับปะรด มีหลายความเห็น แต่ล้วนขาดหลักฐานยืนยัน ยากสรุป จากบันทึกของลา ลูแบร์ คำนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ในเอกสารเก่า ๆ บางทีก็เขียน สัปรด ขณะที่ภาษาถิ่นตามภาคต่าง ๆ เรียกชื่อผลไม้ชนิดนี้ตามเสียง อะนานาส ว่า ยานัด หมากนัด บ่าขะนัด คล้าย ๆ กัน
ถั่วเหลือง ถั่วแระ และถั่วเน่า
สามพันกว่าปีก่อน มนุษย์คนหนึ่งนำเมล็ดถั่วป่าหยอดลงในผืนดินทางตอนเหนือของประเทศจีน นับเป็นการเพาะปลูกถั่วชนิดนี้เป็นครั้งแรกในโลก อีกพันกว่าปีต่อมา ถั่วชนิดนี้แพร่หลายไปยังดินแดนญี่ปุ่น ชมพูทวีป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้