“ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามตัวบท” : เต้าตามทางอาจารย์ชลธิรา เรียนรู้วิธีวิทยาการศึกษาใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง (2) – ธัญญา สังขพันธานนท์
คำว่าตัวบท (text) ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ มีความหมายอ้างถึงอยู่สองระดับ ระดับแรก ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน เพราะหมายถึงแหล่งข้อมูลที่อาจารย์ชลใช้ในการศึกษา วิเคราะห์เพื่อค้นหาความหมาย การเชื่อมโยงข้อมูล หลักฐาน การถอดรหัสนัยจากข้อมูลนั้น ๆ เพื่อหาคำตอบตามสมมุติฐานที่วางไว้
“ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามตัวบท” : เต้าตามทางอาจารย์ชลธิรา เรียนรู้วิธีวิทยาการศึกษาใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง – ธัญญา สังขพันธานนท์
หลังจากงานศึกษาค้นคว้า เพื่อสืบสาวความเป็นมาของชนชาติไท /ไต ในงานเขียนทางวิชาการเล่มหนา ที่ชื่อว่า “มหากาพย์ฯ บรรพหนึ่ง: ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ แล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา หรือ “อาจารย์ชล” ก็ได้เริ่มต้นสืบค้นศึกษาเพื่อสืบสาวความเป็นมาของชนชาติไทในบรรพที่สองโดยไม่รอช้า ชั่วระยะเวลาแค่สามสี่ปี ในขณะที่เราต่างถูกกักขังยาวนานอยู่ใน “คุกโควิด-19” อาจารย์ชลก็ผลิตงานเขียนชุดต่อเนื่องออกมาสู่วงวิชาการอีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง: เต้าตามไต เต้าทางไท” ที่มีความเข้มข้นและอลังการไม่แพ้งานสืบสาวความเป็นมาของชนชาติไท บรรพหนึ่ง
Dam~Tao Dialogue 1 บทวิจารณ์มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง “เต้าตามไต เต้าทางไท”
ปัญหาอย่างหนึ่งของงานโบราณคดีโดยทั่วไปคือ การอธิบายความหมายและนัยยะของโบราณวัตถุให้เกินระดับพื้นผิวของวัตถุ โดยมากทำได้แค่เพียงอธิบายว่าโบราณวัตถุแบบเดียวกันนี้พบที่ไหนบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานของงานโบราณคดี (และประวัติศาสตร์ศิลปะ) นั้นตั้งอยู่บนการศึกษาเชิงรูปแบบ (Form/Formalism) เป็นหลัก อาจมีบ้างที่พยายามจะถอดสัญญะความหมายแต่ก็เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา
Tao Dialogue 6 ต่อเต้าความ เรื่องสัญรูป|สัญอักษร “เต้าตี”
การสลักลวดลายสัญญะบนศิลปะวัตถุสำริด (Bronze vessels) สมัยปลายราชวงศ์ซาง ต่อเนื่องด้วยระยะต้นและระยะกลางของราชวงศ์โจวตะวันตก จัดว่าเป็น ‘ทวิสัญญะ’ ที่ทับซ้อนกัน คือมีทั้งส่วนที่เป็น ‘สัญรูป’ และ ‘สัญอักษร’ หรือนัยหนึ่งคือ ‘อักขระโบราณ’ แต่ดึกด้ำปางบรรพ์ ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครอ่านออกและให้ความหมายได้ชัดเจน
Tao Dialogue 5 บทสนทนาว่าด้วยเรื่อง ‘เต้า’ บทบาททางพิธีกรรม
‘เต้า’ ในฐานะภาชนะ บรรจุของเหลว เช่น น้ำ หรือเหล้า ฝรั่งคงนึกไม่ออกว่า ‘น้ำ’ มีความพิเศษเฉพาะอย่างไรในพิธีกรรม เมื่อมีการขุดพบศิลปะวัตถุโบราณ ที่บรรจุของเหลวได้ มักนิยามสิ่งนั้นว่า เป็น ‘wine container’
Tao Dialogue 4 บทสนทนาว่าด้วยคำ ‘เต้า’ จาก ‘เต้า’ จุดกำเนิด สู่ ‘เก๊ง~เคียง~เชียง’ ที่ตั้งมั่น
Tao Dialogue 4
บทสนทนาว่าด้วยคำ ‘เต้า’
จาก ‘เต้า’ จุดกำเนิด สู่ ‘เก๊ง~เคียง~เชียง’ ที่ตั้งมั่น
โดย ชายชื้น คำแดงยอดไตย