นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 118
นิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๑๘ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
“มื้อออกใหม่เดือนสาม”
ภาพปก : รัตน ไวยะราบุตร
ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๗
จำได้ไหมพี่น้อง เมื่อแรกยึดอำนาจเข้ามาบริหารกิจการบ้านเมือง ปี ๒๕๕๗ ขณะนั้นราคายางตกต่ำ นายกฯบอกว่าถ้าอยากได้ราคาแพงให้ไปขายที่ดาวอังคาร ล่าสุดเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ได้แนะประชาชนแก้ภาวะหาอยู่หากินลำบากโดยให้เลี้ยงไก่กินไข่บ้านละสองตัว
ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๒)
คุณเหลียงถิงหวั่ง เชื่อว่า บรรพชนของชาวเผ่าจ้วง (ขณะที่ยังมิได้แยกเป็นชาติพันธุ์ตระกูลภาษาตระกูลต้ง-ไถ) มีความเกี่ยวพันกับชนเผ่าโบราณที่ปรากฏชื่อในบันทึกโบราณของจีน เช่น ชนเผ่าซีโอว 西瓯 ลั่วเยวี่ย 路越 ชางอู่ 仓吾 ซุ่นจื่อ 损子 กุ้ยกั๋ว 桂国 จวี้ถิง 句町 เย่หลาง 夜郎 ผู่ 濮 โล่วว่อ 漏卧 อู่เลี่ยน 毋敛 เป็นต้น
กำเนิดแคน
“แคน” เป็นชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้เป่าเป็นเพลง ทำด้วยไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า ‘ไม้กู่แคน’ จัดเป็นตระกูลไม้ไผ่ เข้าใจว่าเป็นไม้ชนิดเดียวกับที่ทางภาคกลางเรียกว่า ‘ไม้ซาง’ (สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๗) ต้นเหตุที่จะเกิดมีแคนขึ้นนั้น มีเรื่องเล่าเป็นปรัมปราคติว่า ‘หญิงม่าย’ นางหนึ่งเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์คิดค้นทำแคนขึ้น
ฟ้าผ่า ฟ้าแผด
เรื่องฟ้าร้อง ฟ้าผ่า คนไทยปัจจุบันอธิบายทางวัฒนธรรมได้เพียงว่า นางมณีเมขลาขยับดวงแก้วเป็นฟ้าแลบสว่าง รามสูรขว้างขวานเป็นฟ้าผ่า สรุปว่าคนไทยต้องพึ่งพาเทวดาแขก ทำฟ้าร้องฟ้าผ่าให้
“ท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน” (ครั้งที่ 3) “เที่ยวแอ่งอารยธรรมอีสานเหนือ ~ สกลนคร” ระหว่างวันที่ 4 – 7 มีนาคม 2565
"ท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน" (ครั้งที่ 3) "เที่ยวแอ่งอารยธรรมอีสานเหนือ ~ สกลนคร" ระหว่างวันที่ 4 - 7 มีนาคม 2565