กระดาษ ในยุค ๔.๐

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ กระดาษกองหนึ่งส่วนใหญ่เป็นจดหมายเวียนข่าวสารให้รับรู้ ยังมีเอกสารงานวิจัยทางขวามืออีกกองหนึ่ง ต้องอ่านให้เสร็จในสองสามวัน และนั่นถัดไป เป็นข้อสอบที่ออกเสร็จแล้ว รอการตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไปทำสำเนา กองกระดาษเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์นะหรือ มีไว้เพื่ออวดชาวโลกว่า เราก็ทันสมัยแล้วเราก็ใช้จริง ๆ ด้วย แต่ใช้ควบคู่ไปกับจดหมายเวียนที่เป็นกระดาษ

จากใจชาว “ทางอีศาน”

สนั่น ชูสกุล ได้รับการปลูกฝังให้รักชาติรักประชาชนตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย แล้วตัดสินใจเลือกใช้ชีวิตและสร้างครอบครัว ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อสิทธิเพื่อปากท้องของประชาชนคนรากหญ้า พร้อมกับฝึกทักษะงานด้านวรรณศิลป์จนชำนาญ ผลงานเขียนทุกประเภทของเขาสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ออกมาได้อย่างถึงเลือดถึงเนื้อ เข้าถึงจิตวิญญาณและมีพลังความใฝ่ฝัน โดยเฉพาะงานสารคดีช่วงสุดท้ายเมื่อเขากลับจากไปตระเวนศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๕

“…เรามีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสังคม และการจัดสรรทรัพยากรอย่างมหาศาล ท่านทราบไหมครับว่า ๕๐ ปีที่แล้ว ตอนเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถ้าเราแบ่งคนไทยเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๒๐% คนจนที่สุดของประเทศไทยในปี ๒๕๐๔ เมื่อเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ นั้น เป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ ๔% คนรวยที่สุดอยู่ด้านบน ๒๐% ของประเทศนั้นเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติเกือบ ๖๐%

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๓)

หลังจากสยามมีการผลิตเหรียญเงินอย่างตะวันตกใช้อย่างเป็นทางการในปี ๒๔๐๓ แต่เงินปลีกที่มีราคาต่ำกว่าหนึ่งไพนั้น ก็ยังใช้เบี้ยหรือหอยเบี้ย ซึ่งเป็นหอยขนาดเล็กที่ได้จากมหาสมุทรอินเดีย ใช้เป็นเงินปลีกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยอัตราแลกเปลี่ยนของหอยเบี้ยมีตั้งแต่ ๖๐๐-๘๐๐ เบี้ย เป็นหนึ่งเฟื้องแล้วแต่ความขาดแคลนหอยเบี้ย ซึ่งหอยเบี้ยนี้พ่อค้าชาวมลายู นำใส่เรือสำเภามาขาย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com