นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 114
นิตยสาร “ทางอีศาน” ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๑๔ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๔
ฉบับ รำลึก "๔๕ ปี ๖ ตุลา"
รำลึก ชุมพร ทุมไมย, วิชัย เกศศรีพงษ์ศา สองวีรชนคนที่ราบสูง
ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๓
ในยุคก่อนและเข้าสู่ต้นยุคประวัติศาสตร์ ข้อสันนิษฐานหนึ่งของการล่มสลายไปของบางเมือง ของบางอาณาจักร เกิดจากโรคระบาดใหญ่... ถ้าใครเคยไปทัศนศึกษาแอ่งที่ราบสูงสกลนคร และได้ไปชม “ปราสาทภูเพ็ก” จะเห็นว่าตัวปราสาทส่วนบนยังสร้างไม่เสร็จ เมื่อเดินเลาะเลียบลงไปด้านหลังก็จะพบแหล่งหินตัด บริเวณนั้นจะพบหินที่ตัดแล้ววางกระจายอยู่เป็นระยะ และจะเห็นแผ่นหินที่ถูกเซาะสกัดค้างคาไว้จำนวนมาก
จดหมาย – ชายชื้น คำแดงยอดไตย
สวัสดี ท่านอาจารย์ ชลธิรา สัตยาวัฒนา พร้อมครอบครัว และคุณปรีดา ข้าวบ่อ พร้อมครอบครัว ที่เคารพ
ประวัติศาสตร์จากสาเกเชื่อม
ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ สาเกเชื่อมถ้วยหนึ่ง ดู ๆ ไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรพิเศษ ของหวานโบราณถ้วยนี้ พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ในยุคที่ “คัพเค้ก” ครองเมือง สัปดาห์ก่อน ผมขับรถไปพักผ่อนที่ชายทะเลแถวเพชรบุรี แวะซื้อขนมริมทางติดมือมานิดหน่อย หนึ่งในนั้นคือสาเกเชื่อม ราคา ๓ ถุงร้อย ใส่ตู้เย็นไว้หลายวันแล้ว เพิ่งนึกได้ เลยแกะถุงเทใส่ถ้วย นั่งพิจารณาดูอยู่ ณ บัดนี้
สองวีรชนคนเดือนตุลา
สองวีรชนคนเดือนตุลา
๐ ชุมพร ทุมไมย
วิชัย เกศศรีพงษ์ศา
เขารักชาติพร้อมภักดิ์รักประชา
เขายอมตายเพื่อมหาประชาชน
ผีตาแฮก
ตาแฮก หรือผีตาแฮกเป็นผีดีประจําท้องไร่ท้องนาผู้เป็นเจ้าของนา ตามความเชื่อของคนไท-ลาว ดึกดําบรรพ์ นาทุกผืนจะมีผีตาแฮกอยู่เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพงเพื่อทำที่นา จะทำพิธีเชิญผีตาแฮกมาดูแลนาข้าว ดูแลข้าวกล้า ไม่ให้เสียหาย ไม่ให้วัวควายมากิน ไม่ให้เกิดแมลงต่าง ๆ