ความจริงที่ราษีไศล “ป่าทาม” มดลูกของแม่น้ำอีสาน

ความจริงที่ราษีไศล
“ป่าทาม” มดลูกของแม่น้ำอีสาน
กับเขื่อนแห่งโครงการโขงชีมูล
ทางอีศาน ฉบับที่๑๑ ปีที่๑ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๖
คอลัมน์: บ้านเมืองเรื่องของเรา
Column: Our Country Is Our Business
ผู้เขียน: สนั่น ชูสกุล

e-shann11_ourcountry

เขื่อนที่ราคาแสนแพง

การลุกขึ้นมาต่อสู้และเรียกร้องสิทธิของชาวราษีไศลที่ประสบผลกระทบจากโครงการ โขง ชี มูล ในรอบ ๒๐ ปีมานี้ ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยอย่างกระจะกระจ่างเขื่อนที่ปลอมตัวมาในชื่อ “ฝายราษีไศล” ซึ่งสร้างปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย อำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำกว่าแสนไร่ ก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำมูลทั้งระบบ และกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวชุมชนลุ่มน้ำมูลเป็นหมื่นครอบครัวที่ถูกแย่งชิงทรัพยากรไปจากมือ แต่กระแสข่าวของสังคมแห่งนี้กลับกลายเป็นชาวราษีไศลถูกประณามว่าเป็นคนส่วนน้อยที่ไม่เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เมื่อเขาลุกขึ้นมาเรียกร้องค่าชดเชยก็ถูกโยนใส่ด้วยข้อกล่าวหาเรียกผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ เรียกร้องค่าชดเชยในที่ดินของรัฐ โกงงบประมาณรัฐ เรื่องเขื่อนราษีไศลถูกนักการเมืองสองฟากฝ่ายใช้เป็นเครื่องมือหักล้างกันทางการเมือง ต่อมาเมื่อชาวบ้านเคลื่อนไหวตอบโต้เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของตนเอง กลับถูกฟ้องดำเนินคดีมากมายหลายคดี มีผู้ต้องหารวมแล้วเกือบ ๓๐ คน และชาวบ้านคนหนึ่งต้องติดคุก

ความรุนแรงนี้แฝงอยู่ในโครงสร้างที่ลำเอียงอยุติธรรม ซึ่งครอบงำควบคุมสังคมแห่งนี้อยู่ใต้เงื้อมเงาอันแข็งแรงของอำนาจรัฐและอำนาจทุนและมีทิศทางที่ชัดเจนอยู่ที่การใช้ทรัพยากรอย่างล้างผลาญเพื่อสนองการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจ และการทำลายการพึ่งตนเองของชุมชนชนบทที่ผ่านการพิจารณาโดยศาสตร์สมัยใหม่แล้วว่าเป็นภาคส่วนการผลิตที่ล้าหลัง

รอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านราษีไศลเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องสิทธิมาอย่างยืดเยื้อ ผ่านมา ๑๐ รัฐบาล ทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเรียกร้องการชดเชยความเสียหายบนที่ดินทำกินเรียกร้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐ เรียกร้องการตรวจสอบผลกระทบ เรียกร้องให้มีมาตรการและแผนการฟื้นฟูผลกระทบ ถึงวันนี้เขื่อนที่มีราคาการก่อสร้าง ๘๗๑ ล้านบาทและไม่มีแผนการชดเชยความเสียหายใด ๆ มาก่อน จำต้องจ่ายค่าชดเชยที่ดินทำกินที่คาดไม่ถึงมา ๙ ครั้ง เป็นเงิน ๑,๘๘๖ ล้านบาท(กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖) เข้าไปแล้วและยังคงต้องจ่ายไปอีกมากให้กับผลกระทบที่ยังไม่ได้แก้

ในปีที่ ๒๐ ของการลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิ์ของชาวบ้าน เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ที่ผ่านมานี้ยังมีการชุมนุมผู้เดือดร้อนที่ยืนยันความเดือดร้อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหลายประเด็น จำนวนผู้มาชุมนุมเกือบถึง ๑๐,๐๐๐ คน พวกเขาพากันมาชุมนุมที่หัวงานเขื่อนอย่างสงบ ท่ามกลางบรรยากาศการประชุมเจรจาที่ดีกว่าเก่า

แต่คำถามสำคัญที่สุดที่สังคมต้องการคำตอบน่าจะอยู่ที่ว่า ทำไมเขื่อนราษีไศลแห่งนี้จึงสร้างปัญหาให้คนได้มากมายและแก้ยากถึงปานนั้น

เหตุเกิดที่บุ่งทาม-มดลูกของแม่น้ำมูลตู้กับข้าวของชุมชน

บริเวณตอนกลางของลำน้ำมูลซึ่งมีสัณฐานเป็นที่ราบต่ำ มีความลาดเอียงน้อย เป็นที่เกิดของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงอันกว้างใหญ่ในตอนกลางของแม่น้ำเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ภูมิสันฐาณเช่นนี้ชาวอีสานเรียกว่า “บุ่งทาม” และเรียกสังคมพืชสัตว์ที่ขึ้นในบริเวณนี้ว่า “ป่าบุ่งป่าทาม” หรือ “ป่าทาม”

สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่บุ่งทามแม่น้ำมูลไว้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติใน ๒ บริเวณคือ ผืนหนึ่งบริเวณนับจากอำเภอพุทไธสง, อำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรี, อำเภอท่าตูม, อำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์ อำเภอราษีไศลจนถึงอำเภอเมือง จ.ศรีสะเกษ พื้นที่ ๖๐๔ ตร.กม. (๓๗๗,๕๐๐ ไร่) อีกผืนหนึ่งที่บริเวณแม่น้ำชีไหลลงแม่น้ำมูน ๙๗.๔ ตร.กม. (๖๐,๙๓๗ ไร่) และขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำมูลที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นไว้หลายบริเวณ เฉพาะป่าทามบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนกลาง ๒ พื้นที่ข้างต้น มีเนื้อที่รวมกันถึง ๔๓๘,๔๓๗ ไร่ นับเป็นพื้นที่ ๑ ใน ๓ ของพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคอีสานซึ่งมีอยู่ ๑,๒๔๙,๗๐๖ ไร่

พื้นที่บุ่งทามคือที่เรียกกันว่า “ป่าทามราษีไศล” ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศลในโครงการ โขง ชี มูล ตามข้อมูลของกรมชลประทานมีพื้นที่บุ่งทามที่ได้รับผลกระทบประมาณ ๑ แสนไร่ มีชุมชนที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่บุ่งทามแห่งนี้ประมาณ ๑๔๒ หมู่บ้าน ใน ๒๑ ตำบล ๘ อำเภอ ๓ จังหวัด (สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ)

ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่บุ่งทามผืนนี้ในอดีตนำพาให้ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเข้ามาตั้งหลักแหล่งหลายยุคสมัยชุมชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อ ๑๐๐-๒๕๐ ปีที่แล้ว ทำมาหากินเกี่ยวข้องกับพื้นที่บุ่งทามด้วยวิธีทำกินที่สอดคล้องกับฤดูกาล โดยเฉพาะการทำนาในพื้นที่ทาม มีครัวเรือนร้อยละ ๘๘.๖ มีที่ดินทำกินในบริเวณนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๑.๐ ไร่ โดยเข้าบุกเบิกเองและสืบทอดจากบรรพบุรุษเป็นมรดกร้อยละ ๖๖.๒ ไม่เคยมีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ ในที่ดิน แต่ถือสิทธิ์ยอมรับกันภายในชุมชนตามจารีตประเพณี นาทามได้ผลผลิตค่อนข้างสูงคือ ๖๘๔.๖ กิโลกรัมต่อไร่ (ประสิทธิ์ คุณุรัตน์, ๒๕๔๐) ขณะที่ค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวในนาทุ่งทั่วไปในภาคอีสานประมาณ ๓๘๐ กิโลกรัมต่อไร่

จาก “งานวิจัยไทบ้านราษีไศล” (๒๕๔๗) ได้ศึกษาระบบนิเวศน์บริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด พบภูมิสัณฐานย่อยๆ อย่างหลากหลาย ประกอบด้วยพื้นที่โนนจำนวน ๑๐๓ แห่ง ฮองหรือร่องน้ำจะอยู่คู่กับโนน มีหนองน้ำ กุด อันเป็นแหล่งน้ำหน้าดินมีน้ำขังตลอดปีอยู่ทั่วไป (ในงานของประสิทธิ์ คุณุรัตน์ ระบุมีแหล่งน้ำธรรมชาติประมาณ ๕๐๐ แห่ง) พบพันธุ์ปลาในบริเวณนี้ ๑๑๒ ชนิด เป็นปลาอพยพจากแม่น้ำโขง ๓๓ ชนิด สำรวจพบเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ชาวบ้านใช้หาปลาในบริเวณนี้ ๔๘ ชนิด ด้านพันธุ์พืชพบ ๒๕๐ ชนิดแยกเป็นไม้ยืนต้น ๓๗ ชนิด ไม้พุ่ม ๓๓ ชนิด ไม้เลื้อย ๕๑ ชนิด ประเภทเป็นกอ ๔๓ ชนิด พืชน้ำ ๒๔ ชนิด เห็ด ๓๒ ชนิด มีพืชอาหารวัวควาย ๘๐ ชนิด

ทรัพยากรสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เกลือ ซึ่งชาวบ้านขุดเอา “ขี้ทา” หรือส่าเกลือในฤดูแล้งมากรองแล้วต้มเคี่ยวเป็นเกลือสินเธาว์ ในบริเวณนี้มีการต้มเกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลานต้มเกลือหรือที่ชาวบ้านเรียก “บ่อเกลือ” ประมาณ ๑๕๐ บ่อ มีความกว้างตั้งแต่ ๑๐ – ๑๐๐ ไร่

ชุมชนรอบป่าทามแห่งนี้ได้ใช้ฐานทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ดังกล่าวในการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพเป็นเศรษฐกิจสำคัญของครอบครัวและชุมชน มีกิจกรรมการผลิต ๒๕ กิจกรรม นับเป็นเขตพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางอาหารและสามารถพึ่งตนเองได้ระดับสูงเขตหนึ่งทีเดียว

ในระยะ๔๐กว่าปีที่ผ่านมามีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อป่าทามราษีไศล คือ ภาวะน้ำหลากท่วมลดน้อยลงเพราะมีการสร้างเขื่อนหลายแห่งที่บริเวณต้นแม่น้ำมูล มีการบุกเบิก

บุกรุกพื้นที่บุ่งทาม เปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์มีการจับจองเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจโดยชุมชนและนายทุน เกิดธุรกิจดูดทรายทำให้ตลิ่งพัง

เหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อมีการสร้าง “เขื่อนราษีไศล” ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงมาสู่พื้นที่บุ่งทามและชุมชนราษีไศล

เขื่อนราษีไศลและผลกระทบ

เขื่อนราษีไศล เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๕ แล้วเสร็จและทำการเก็บกักน้ำตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๓๖ เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดความสูง ๙ เมตร ปิด-เปิดด้วยบานประตูเหล็ก ๗ บานควบคุมด้วยระบบไฮโดรลิก สร้างปิดกั้นลำน้ำมูลที่บ้านปากห้วย อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ และมีการก่อสร้างคันดินกั้นสองฝั่งน้ำ (dike) ระดับความสูง ๑๒๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) เพื่อกั้นพื้นที่น้ำหลากท่วมสองฝั่งแม่น้ำเป็นระยะทาง ๔๕.๘ กิโลเมตร ระดับการเก็บกักน้ำสูงสุด ๑๑๙ ม.รทก. ขณะที่พื้นที่ท้องน้ำเท่ากับ ๑๑๐ ม.รทก. จะช่วยยกระดับน้ำในลำน้ำมูลเป็นระยะทาง ๑๒๐ กิโลเมตร และลำสาขา คือห้วยทับทัน ๒๖ กิโลเมตร ลำน้ำเสียว ๑๕ กิโลเมตร ห้วยน้ำเค็ม ๕ กิโลเมตร และลำ
พลับพลา ๗ กิโลเมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำในเอกสารเผยแพร่ ๒๐ ตารางกิโลเมตร (๑๒,๕๐๐ ไร่ พื้นที่จริงปัจจุบัน ๙๓,๐๐๐ ไร่) สามารถเก็บกักน้ำได้๗๔.๔๓ ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ชลประทานตามแผนในระยะแรก ๓๔,๔๒๐ ไร่ และในอนาคตเมื่อมีการผันน้ำมาจากแม่น้ำโขงจะได้พื้นที่ชลประทานจำนวน ๑๔๓,๒๖๐ ไร่ มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ชลประทานทั้งหมด ๒๒๘,๐๐๐ ไร่ โครงการมีแผนการก่อสร้างเป็นเวลา ๖ ปี นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๕ – ๒๕๔๑ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๘๗๑.๙ ล้านบาท

หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เขื่อนราษีไศลได้กักเก็บน้ำในเดือนตุลาคม ๒๕๓๖ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลได้รับผลกระทบอย่างหนัก

(๑) การสูญเสียที่ดินทำกินของราษฎร อ่างเก็บน้ำแห่งนี้เป็นแหล่งที่ราษฎรสองฝั่งลำน้ำมูลครอบครองและทำประโยชน์มาตามครรลองจารีตประเพณีอย่างยาวนาน มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจประมาณ ๒๕ กิจกรรม น้ำได้ท่วมที่ดินนับตั้งแต่ที่ต่ำ คือ กุด หนอง เลิง ที่ใช้ทำ “นาทาม” และที่โนนที่ใช้ทำข้าวไร่และพืชไร่ สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ศึกษาพบว่า ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำราษีไศลมีครัวเรือนที่สูญเสียนาทามราว ๗,๘๕๖ ครัวเรือน พื้นที่นาทามที่ถูกน้ำท่วมราว ๔๖,๙๓๗ ไร่ ใน ๙ ตำบล ผลผลิตข้าวนาทามเปรียบเทียบระหว่างปี ๒๕๓๕ (ก่อนเก็บกักน้ำ) กับปี ๒๕๔๒ รายได้หลักของครัวเรือนที่ทำนาทามลดลงราวปีละ ๑๑,๕๒๐ บาท ผลผลิตรวมโดยประมาณที่ลดลงคือราว ๕๔๐ ล้านบาทต่อปี

(๒) การสูญเสียพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ครัวเรือนร้อยละ ๙๐ เลี้ยงวัวควายครัวเรือนละ ๑๐-๓๐ ตัว พื้นที่บุ่งทามเป็นทำเลที่กว้างขวาง มีพืชอาหารสัตว์หลากหลายและเพียงพอ มีแหล่งน้ำและที่พักสัตว์ ชุมชนแถบนี้มีแบบแผนการเลี้ยงแบบเฉพาะตัวและมีภูมิปัญญาที่สั่งสมมายาวนานเมื่อมีการเก็บกักน้ำ ปริมาณการเลี้ยงวัวควายลดลง ชาวบ้านต้องขายไปเพราะไม่มีที่เลี้ยง ส่วนที่เหลือต้องหาที่เลี้ยงใหม่ ทั้งในทุ่งนา ป่าโคก และเลี้ยงที่บ้าน เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการสร้างเขื่อน (ระหว่างปี ๒๕๓๕ – ๒๕๔๒) การเลี้ยงวัวในพื้นที่บุ่งทามลดลงร้อยละ ๗๕.๔ เปลี่ยนมาเลี้ยงที่บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๖.๗ จำนวนผู้เลี้ยงวัวลดลงร้อยละ ๑๔.๙ และจำนวนผู้เลี้ยงควายลดลงร้อยละ ๗๗.๖

(๓) ปัญหาพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมนานอกอ่างเก็บน้ำ คันดินกั้นน้ำซึ่งก่อสร้างขนาบสองฝั่งแม่น้ำมูลเป็นความยาวทั้งสิ้น ๔๕.๘ กิโลเมตร ปิดกั้นน้ำจากที่สูงไม่ให้ไหลลงแม่น้ำมูลได้ดั่งเดิมเท่ากับว่าคันดินนี้ก็คือเขื่อนขนาดยาวนั่นเอง ส่งผลให้น้ำท่วมนาบริเวณนอกอ่างเก็บน้ำเกือบทุกพื้นที่ราษฎรที่มีที่นาอยู่ในบริเวณดังกล่าวต้องประสบความเดือดร้อนทุกปี ก่อนการสร้างเขื่อน การทำนาในพื้นที่ทามและในนาทุ่งที่สูงขึ้นไปมักต้องถูกน้ำท่วม แต่เป็นการท่วมในระยะ ๑-๒ สัปดาห์เท่านั้น ต้นข้าวในนายังไม่ตายและสามารถฟื้นคืนได้ แต่หลังการก่อสร้างเขื่อนแรงอัดเอ่อของน้ำทำให้เกิดการท่วมยาวนานถึง ๑-๓ เดือนตามธรรมชาตินั้น ในฤดูน้ำหลากน้ำจะเอ่อท่วมสองฝั่งแม่น้ำกว้างประมาณ ๖ กม. แต่เมื่อมีเขื่อนและคันดินขวางกั้น ทางน้ำไหลมีเพียง ๘๗.๕ เมตรที่บานประตูเขื่อนเท่านั้น จึงเกิดน้ำอัดเอ่อไปท่วมพื้นที่เหนือเขื่อนและก่อผลกระทบอย่างกว้างขวาง

(๔) การสูญเสียป่าบุ่งป่าทามแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่บุ่งทามถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศน์ที่สำคัญของภาคอีสาน ของประเทศและของโลก มีภูมิสัณฐานที่หลากหลายอันเกิดจากอิทธิพลของสายน้ำจำนวน ๑๙ ลักษณะ เช่น บุ่ง ทาม วัง ฮองหรือร่องน้ำ คุย วัง เวิน มาบ เลิงดูน ซำ คำ หนอง บวก ปาก กุด แก้ง ฯลฯ ส่งผลให้มีความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ในแต่ละบริเวณ และมีวงจรห่วงโซ่อาหารอันละเอียดซับซ้อน สัมพันธ์กับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ในฤดูแล้งพื้นดินมีโอกาสได้ตากแห้ง วัชพืชน้ำตายลง ถูกแผดเผาโดยแสงแดดจนแห้งรอเปื่อยเป็นอาหารพืช สัตว์ ที่อาศัย หากิน และแพร่พันธุ์ของสัตว์บก มด ปลวก แมลง และเป็นที่จำศีลของกบเขียดและหอย เมื่อถึงฤดูน้ำหลากนอง สัตว์เล็ก แมลงและผลไม้ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นอาหารอันโอชะของปลาที่ว่ายทวนน้ำขึ้นมาหากินและวางไข่ในพุ่มไม้อย่างปลอดภัย เหตุนี้จึงมีการเรียกพื้นที่นี้ว่า “มดลูกของแม่น้ำ” วงจรขอธรรมชาติในพื้นที่ป่าบุ่งป่าทาม อยู่บนเงื่อนไขที่ต้องมีฤดูน้ำหลากท่วมสลับกับฤดูแล้ง ทำให้เกิดวิวัฒนาการของพืชสัตว์ที่มีดุลยภาพในตัวเอง แต่เมื่อกลายเป็นอ่างเก็บน้ำถาวร มวลชีวิตที่มีวงจรระบบนิเวศน์เฉพาะดังกล่าวก็ไม่สามารถดำเนินวงจรชีวิตของตนต่อไปได้

(๕) การแพร่กระจายของดินเค็ม น้ำเค็มพื้นที่ราษีไศลเป็นพื้นที่ตอนล่างซึ่งเป็นแอ่งรับน้ำเค็มจากห้วยก๊ากว้าก ลำน้ำเสียว ทุ่งกุลาร้องไห้และความเค็มจากการทำนาเกลือที่อำเภอพิมาย-โนนไทย ในฤดูน้ำหลาก เกลือที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำจะถูกน้ำนำพาไปสู่ปลายน้ำ ไม่มีผลกระทบใดๆ เมื่อถึงฤดูแล้งจะมีส่าเกลือตกค้างอยู่บนผิวดินทามทั่วไป ชาวบ้านใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับต้มเกลือ จนชุมชนแถบนี้สามารถพึ่งพิงตนเองได้ในเรื่องเกลือมีแบบแผนการต้มเกลือสืบต่อกันมาถึงขนาดเกิดความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการต้มเกลือที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ในบริเวณขอบเขตบุ่งทามที่จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำราษีไศลมี “บ่อเกลือ” นับได้ประมาณ ๑๕๐ บ่อ แต่ละแห่งมีพื้นที่กว้างตั้งแต่ ๑๐ ไร่ถึง ๑๐๐ ไร่ (งานวิจัยไทบ้าน ๒๕๔๘) นอกจากนั้น ส่าเกลือหรือโป่งเกลือ หรือชาวบ้านเรียกว่า “ขี้ตำปวก” เป็นอาหารของปลาจำนวนมากที่ว่ายทวนน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อมาวางไข่ และอาศัยอยู่ในป่าทามลุ่มน้ำมูลตอนกลางในช่วงฤดูน้ำหลากอีกด้วย

เมื่อพื้นที่บุ่งทามกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ปริมาณความเค็มจากเกลือก็ถูกสะสมอยู่ในอ่างเก็บน้ำนั่นเอง ในปี ๒๕๓๘ กรมพัฒนาที่ดินได้สำรวจผลกระทบแล้วสรุปว่า หลังการเก็บกักน้ำของเขื่อนราษีไศลเกลือถูกสะสมในพื้นที่เหนือเขื่อนมากขึ้นเพราะไม่สามารถระบายออกจากระบบได้ ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกตามปกติได้ ทั้งนี้ มีผลการวิเคราะห์ทั้งบริเวณเขื่อนว่าในช่วงแล้งมีความเค็มระดับสูง นำน้ำไปใช้ทำการเกษตรไม่ได้ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำที่ชาวบ้านเคยสูบน้ำขึ้นมาทำนาปรังและปลูกพืชผักในฤดูแล้ง

(๖) ปัญหาน้ำเน่าน้ำเสีย และปัญหาสุขภาพเมื่อมีการเก็บกักน้ำ ป่าทามทั้งผืนจมอยู่ใต้น้ำ เกิดการเน่าเปื่อยของต้นไม้ใบไม้ ส่งผลให้น้ำเน่าเสียน้ำมีสีดำ ยิ่งน้ำนิ่งไม่มีการถ่ายเทยิ่งเพิ่มความรุนแรง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง แหล่งน้ำที่หลายชุมชนใช้ผลิตน้ำประปา (กุด) เกิดสกปรกเพราะมีเศษซากวัชพืชเน่าเปื่อยหมักหมม ระดับน้ำใต้ดินยกระดับสูงขึ้น น้ำบ่อในชุมชนจำนวนมากเริ่มมีสนิมปนเปื้อน บางบ่อน้ำกลายเป็นน้ำกร่อยน้ำเค็มและเป็นสนิม เกิดการระบาดของวัชพืชน้ำจำพวกจอกแหน และการระบาดของหอยคัน หอยเชอรี่ พร้อมกับการสูญพันธุ์ของหอยโข่งซึ่งต้องวางไข่ในดินในฤดูแล้ง หอยเชอรี่ระบาดไปยังทุ่งนาทุกพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำราษีไศล โดยเฉพาะพื้นที่ที่สูบน้ำไปทำการเกษตร

ด้านสุขภาพ หลังการสร้างเขื่อนชาวบ้านเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อนร้อยละ ๑๙.๐ โรคที่พบมากที่สุด คือ โรคผิวหนังผื่นคันร้อยละ ๔๐ ของโรคที่พบ นอกนั้นก็มีโรคท้องร่วง ตาแดงหวัดเรื้อรัง ภูมิแพ้และพยาธิต่าง ๆ ทั้งยังมีอาการป่วยจากการกินปลาปักเป้า แพทย์โรงพยาบาลราษีไศลลงความเห็นว่าเกิดจากพิษปลาปักเป้า (fish poisoning, tetrodo toxin intoxication) มีอาการชารอบริมฝีปาก แขนขา และปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ไม่มีแรง หายใจขัด ในอดีต ปลาปักเป้าเป็นปลาที่ชาวบ้านสามารถบริโภคได้ไม่เคยมีอาการแพ้พิษ และโรคที่มาพร้อมกับโรคอื่น ๆ ก็คือ โรคเครียด วิตกกังวล เกิดจากการสูญเสียที่ทำกินอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อมีการรวมกลุ่มเพื่อผลักดันให้มีการแก้ปัญหา ซึ่งมีความยากลำบากเพราะต่อสู้ยืดเยื้อเผชิญหน้ากับรัฐอย่างตึงเครียด และเป็นกิจกรรมที่ต้องลงทุนลงแรงพอสมควร บางครอบครัวถึงขั้นนำโฉนดที่ดินไปจำนองเพื่อนำเงินมาใช้ในการต่อสู้ หลายคนเกิดอาการเครียดถึงขนาดไปหาหมอ และมีไม่น้อยกว่า ๑๐ คนที่เสียชีวิตขณะชุมนุม

(๗) ผลกระทบต่อแหล่งน้ำชลประทานเดิมของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นก่อน ซึ่งส่วนมากจะเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ฝายน้ำล้น ทำนบกั้นน้ำ บ่อน้ำตื้น เฉพาะในพื้นที่อำเภอราษีไศลและอำเภอบึงบูรพ์ พบว่ามีโครงการชลประทานดังกล่าวจำนวน ๑๒ โครงการ รวมงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๔๐ ล้านบาท ในโครงการต่าง ๆ ดังกล่าว ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ในการใช้น้ำอุปโภคบริโภค การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ บางแห่งสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำในการทำนาปรังในฤดูแล้ง เหล่านี้ล้วนจมอยู่ใต้เขื่อนราษีไศลถือเป็นการทำโครงการที่ซ้ำซ้อนกับโครงการเดิม

(๘) การสูญเสียพื้นที่ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชน ป่าทามลุ่มน้ำมูลตอนกลางเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชนสองฟากฝั่ง การเข้าไปใช้ประโยชน์ในการทำมาหากินร่วมกัน เช่นการเลี้ยงวัว – ควาย การทำนาหนอง การหาปลาการเอาผือ กก มาทอเสื่อ ฯลฯ ทำให้คนสองฝั่งหรือระหว่างชุมชนที่เป็นรอยต่อกันเกิดมีปฏิสัมพันธ์กันฉันญาติมิตร เพื่อน พี่น้อง เกิดการแต่งงานกันข้ามหมู่บ้านสองฟากแม่น้ำมูล กลายเป็นเสี่ยวกัน เป็นเส้นทางในการคมนาคมของชุมชน การค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เช่น บ้านท่างามกับบ้านโนนทรายซึ่งอยู่คนละฟากแม่น้ำมูล มีเส้นทางเชื่อมต่อกันห่างเพียง ๒ กม. ทำให้คนสองบ้านนี้ไปมาหาสู่กันสะดวก หากมีงานบุญในหมู่บ้าน คนในสองหมู่บ้านก็จะเดิน ปั่นจักรยาน ขับมอเตอร์ไซค์ ผ่านป่าทามแห่งนี้มาช่วยเหลือกัน หากเป็นฤดูฝนก็จะพายเรือมาตามร่องน้ำ กุดที่เชื่อมต่อกันและข้ามแม่น้ำมูลมาอีกฝั่งหนึ่งได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปเพื่อเดินทางไปมาหาสู่กันนอกจากนี้ การสร้างเขื่อนราษีไศลทำให้ชุมชนสูญเสียภูมิปัญญาในการทำมาหากิน คนรุ่นหลังขาดโอกาสที่จะลงไปใช้ชีวิต เรียนรู้ และทำมาหากินเพื่อดำรงสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าว เช่น การทำนาไร่ การทำนาหนอง การหาปลา หาผัก การต้มเกลือ เพราะต้องออกไปทำมาหากินนอกชุมชนขายแรงงาน ในฐานะเป็นคนที่มีกำลังมากที่สุดในครอบครัว คนหนุ่มสาวเยาวชนรุ่นหลังจึงขาดการซึมซับรับทอดวิถีการทำมาหากินที่เป็นภูมิปัญญาของครอบครัว วิถีการผลิตที่เรียบง่ายและพึ่งตนเอง ไปหลงใหลกับสมัยนิยมแทน

โครงการรัฐ ไม่คุ้มก็ต้องทำต่อมีปัญหาก็กลายเป็นงานที่มีราคา

การลงทุนของเขื่อนราษีไศลถึงปัจจุบันเป็นค่าก่อสร้าง ๘๗๑ ล้านบาท กับค่าชดเชยที่จ่ายไปแล้ว ๑,๘๘๖ ล้านบาท (ยังเหลืออีกหลายร้อยล้าน) รวมแล้วเป็น ๒,๗๕๗ ล้านบาท ไม่รวมค่าตอบแทนข้าราชการ การก่อสร้างอื่น ๆ และค่ากระบวนการแก้ปัญหาซึ่งอาจใกล้เคียงกับค่าก่อสร้าง

เขื่อนแห่งนี้เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้เท่าไหร่ ? ในเป้าหมายที่วางไว้ ๓๔,๔๒๐ ไร่นั้น ปีปัจจุบันนี้มีการทำนาปรัง ๘,๐๐๐ ไร่ (สูงกว่าทุกปีเพราะนโยบายแทรกแซงราคาข้าวจูงใจ) ลองหารตัวเลขดูเล่น ๆ เขื่อนราษีไศลจัดหาพื้นที่ชลประทาน ๑ ไร่ ต้องลงทุนถึง ๓๔๔,๖๒๕ บาท ตัวเลขประมาณการเฉลี่ยของโครงการโขงชีมูลทั้งโครงการนั้น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อไร่

และเป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออกเมื่อพบความจริงว่า พื้นดินตะกอนแม่น้ำในพื้นที่บุ่งทามซึ่งเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภาคอีสานจำนวน ๑ แสนไร่ ถูกตัดสินใจใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อนำน้ำไปให้นาดินทรายในที่สูงทำนาปรัง ๓๔,๔๒๐ ไร่ และได้ใช้จริงไม่ถึง ๑ หมื่นไร่

คงไม่เกินเลยความจริงที่จะพูดว่า ประโยชน์ของเขื่อนในโครงการโขงชีมูล แท้จริงก็คือการได้สร้างเขื่อนนั่นเอง

ประโยชน์ที่ได้นั้นเท่าไหร่ก็เท่ากัน ในเมื่อได้สร้างขึ้นแล้วก็ถือเป็นสมบัติของราชการ ต้องดูแลรักษากันต่อไป ปัญหาที่ตามมาเป็นลูกโซ่ก็จะถูกแปรเป็นแผนงานเป็นงบประมาณมาดำเนินการกันต่อไป

ต่อจากนี้ ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนราษีไศลและเขื่อนอื่น ๆ อีก ๑๓ โครงการในโครงการ โขง ชี มูล จะทยอยออกมาจากใต้พรมเช็ดเท้า ท่ามกลางสื่อมวลชนโหมกระแสข่าวภัยแล้งและน้ำท่วมกันต่อไป หน่วยงานรัฐก็ยังชงโครงการชื่อใหม่ ๆ ออกมาขายฝันให้คนอีสานต่อไป ชาวบ้านผู้เดือดร้อนที่ลุกขึ้นมาคัดค้านและเรียกร้องสิทธิ์ก็คงจะต้องตกเป็นจำเลยของสังคมอยู่ต่อไปอีกนาน จนกว่าความจริงจะปรากฏเมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแล้วทุกครั้งไป ตราบที่สังคมแห่งนี้ยังถูกควบคุมและครอบงำทางอุดมการณ์และศาสตร์สมัยใหม่อันอยู่ในมือของรัฐและทุนอันลำเอียงเช่นนี้ความจริงที่ราษีไศล
“ป่าทาม” มดลูกของแม่น้ำอีสาน
กับเขื่อนแห่งโครงการโขงชีมูล
ทางอีศาน ฉบับที่๑๑ ปีที่๑ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๖
คอลัมน์: บ้านเมืองเรื่องของเรา
Column: Our Country Is Our Business
ผู้เขียน: สนั่น ชูสกุล

เขื่อนที่ราคาแสนแพง

การลุกขึ้นมาต่อสู้และเรียกร้องสิทธิของชาวราษีไศลที่ประสบผลกระทบจากโครงการ โขง ชี มูล ในรอบ ๒๐ ปีมานี้ ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยอย่างกระจะกระจ่างเขื่อนที่ปลอมตัวมาในชื่อ “ฝายราษีไศล” ซึ่งสร้างปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย อำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำกว่าแสนไร่ ก่อผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำมูลทั้งระบบ และกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวชุมชนลุ่มน้ำมูลเป็นหมื่นครอบครัวที่ถูกแย่งชิงทรัพยากรไปจากมือ แต่กระแสข่าวของสังคมแห่งนี้กลับกลายเป็นชาวราษีไศลถูกประณามว่าเป็นคนส่วนน้อยที่ไม่เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เมื่อเขาลุกขึ้นมาเรียกร้องค่าชดเชยก็ถูกโยนใส่ด้วยข้อกล่าวหาเรียกผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ เรียกร้องค่าชดเชยในที่ดินของรัฐ โกงงบประมาณรัฐ เรื่องเขื่อนราษีไศลถูกนักการเมืองสองฟากฝ่ายใช้เป็นเครื่องมือหักล้างกันทางการเมือง ต่อมาเมื่อชาวบ้านเคลื่อนไหวตอบโต้เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของตนเอง กลับถูกฟ้องดำเนินคดีมากมายหลายคดี มีผู้ต้องหารวมแล้วเกือบ ๓๐ คน และชาวบ้านคนหนึ่งต้องติดคุก

ความรุนแรงนี้แฝงอยู่ในโครงสร้างที่ลำเอียงอยุติธรรม ซึ่งครอบงำควบคุมสังคมแห่งนี้อยู่ใต้เงื้อมเงาอันแข็งแรงของอำนาจรัฐและอำนาจทุนและมีทิศทางที่ชัดเจนอยู่ที่การใช้ทรัพยากรอย่างล้างผลาญเพื่อสนองการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจ และการทำลายการพึ่งตนเองของชุมชนชนบทที่ผ่านการพิจารณาโดยศาสตร์สมัยใหม่แล้วว่าเป็นภาคส่วนการผลิตที่ล้าหลัง

รอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านราษีไศลเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องสิทธิมาอย่างยืดเยื้อ ผ่านมา ๑๐ รัฐบาล ทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเรียกร้องการชดเชยความเสียหายบนที่ดินทำกินเรียกร้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐ เรียกร้องการตรวจสอบผลกระทบ เรียกร้องให้มีมาตรการและแผนการฟื้นฟูผลกระทบ ถึงวันนี้เขื่อนที่มีราคาการก่อสร้าง ๘๗๑ ล้านบาทและไม่มีแผนการชดเชยความเสียหายใด ๆ มาก่อน จำต้องจ่ายค่าชดเชยที่ดินทำกินที่คาดไม่ถึงมา ๙ ครั้ง เป็นเงิน ๑,๘๘๖ ล้านบาท(กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖) เข้าไปแล้วและยังคงต้องจ่ายไปอีกมากให้กับผลกระทบที่ยังไม่ได้แก้

ในปีที่ ๒๐ ของการลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิ์ของชาวบ้าน เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ที่ผ่านมานี้ยังมีการชุมนุมผู้เดือดร้อนที่ยืนยันความเดือดร้อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหลายประเด็น จำนวนผู้มาชุมนุมเกือบถึง ๑๐,๐๐๐ คน พวกเขาพากันมาชุมนุมที่หัวงานเขื่อนอย่างสงบ ท่ามกลางบรรยากาศการประชุมเจรจาที่ดีกว่าเก่า

แต่คำถามสำคัญที่สุดที่สังคมต้องการคำตอบน่าจะอยู่ที่ว่า ทำไมเขื่อนราษีไศลแห่งนี้จึงสร้างปัญหาให้คนได้มากมายและแก้ยากถึงปานนั้น

เหตุเกิดที่บุ่งทาม-มดลูกของแม่น้ำมูลตู้กับข้าวของชุมชน

บริเวณตอนกลางของลำน้ำมูลซึ่งมีสัณฐานเป็นที่ราบต่ำ มีความลาดเอียงน้อย เป็นที่เกิดของพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงอันกว้างใหญ่ในตอนกลางของแม่น้ำเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ภูมิสันฐาณเช่นนี้ชาวอีสานเรียกว่า “บุ่งทาม” และเรียกสังคมพืชสัตว์ที่ขึ้นในบริเวณนี้ว่า “ป่าบุ่งป่าทาม” หรือ “ป่าทาม”

สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่บุ่งทามแม่น้ำมูลไว้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติใน ๒ บริเวณคือ ผืนหนึ่งบริเวณนับจากอำเภอพุทไธสง, อำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรี, อำเภอท่าตูม, อำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์ อำเภอราษีไศลจนถึงอำเภอเมือง จ.ศรีสะเกษ พื้นที่ ๖๐๔ ตร.กม. (๓๗๗,๕๐๐ ไร่) อีกผืนหนึ่งที่บริเวณแม่น้ำชีไหลลงแม่น้ำมูน ๙๗.๔ ตร.กม. (๖๐,๙๓๗ ไร่) และขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำมูลที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นไว้หลายบริเวณ เฉพาะป่าทามบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนกลาง ๒ พื้นที่ข้างต้น มีเนื้อที่รวมกันถึง ๔๓๘,๔๓๗ ไร่ นับเป็นพื้นที่ ๑ ใน ๓ ของพื้นที่ชุ่มน้ำในภาคอีสานซึ่งมีอยู่ ๑,๒๔๙,๗๐๖ ไร่

พื้นที่บุ่งทามคือที่เรียกกันว่า “ป่าทามราษีไศล” ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศลในโครงการ โขง ชี มูล ตามข้อมูลของกรมชลประทานมีพื้นที่บุ่งทามที่ได้รับผลกระทบประมาณ ๑ แสนไร่ มีชุมชนที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่บุ่งทามแห่งนี้ประมาณ ๑๔๒ หมู่บ้าน ใน ๒๑ ตำบล ๘ อำเภอ ๓ จังหวัด (สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ)

ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่บุ่งทามผืนนี้ในอดีตนำพาให้ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเข้ามาตั้งหลักแหล่งหลายยุคสมัยชุมชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อ ๑๐๐-๒๕๐ ปีที่แล้ว ทำมาหากินเกี่ยวข้องกับพื้นที่บุ่งทามด้วยวิธีทำกินที่สอดคล้องกับฤดูกาล โดยเฉพาะการทำนาในพื้นที่ทาม มีครัวเรือนร้อยละ ๘๘.๖ มีที่ดินทำกินในบริเวณนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๑.๐ ไร่ โดยเข้าบุกเบิกเองและสืบทอดจากบรรพบุรุษเป็นมรดกร้อยละ ๖๖.๒ ไม่เคยมีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ ในที่ดิน แต่ถือสิทธิ์ยอมรับกันภายในชุมชนตามจารีตประเพณี นาทามได้ผลผลิตค่อนข้างสูงคือ ๖๘๔.๖ กิโลกรัมต่อไร่ (ประสิทธิ์ คุณุรัตน์, ๒๕๔๐) ขณะที่ค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวในนาทุ่งทั่วไปในภาคอีสานประมาณ ๓๘๐ กิโลกรัมต่อไร่

จาก “งานวิจัยไทบ้านราษีไศล” (๒๕๔๗) ได้ศึกษาระบบนิเวศน์บริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด พบภูมิสัณฐานย่อยๆ อย่างหลากหลาย ประกอบด้วยพื้นที่โนนจำนวน ๑๐๓ แห่ง ฮองหรือร่องน้ำจะอยู่คู่กับโนน มีหนองน้ำ กุด อันเป็นแหล่งน้ำหน้าดินมีน้ำขังตลอดปีอยู่ทั่วไป (ในงานของประสิทธิ์ คุณุรัตน์ ระบุมีแหล่งน้ำธรรมชาติประมาณ ๕๐๐ แห่ง) พบพันธุ์ปลาในบริเวณนี้ ๑๑๒ ชนิด เป็นปลาอพยพจากแม่น้ำโขง ๓๓ ชนิด สำรวจพบเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ชาวบ้านใช้หาปลาในบริเวณนี้ ๔๘ ชนิด ด้านพันธุ์พืชพบ ๒๕๐ ชนิดแยกเป็นไม้ยืนต้น ๓๗ ชนิด ไม้พุ่ม ๓๓ ชนิด ไม้เลื้อย ๕๑ ชนิด ประเภทเป็นกอ ๔๓ ชนิด พืชน้ำ ๒๔ ชนิด เห็ด ๓๒ ชนิด มีพืชอาหารวัวควาย ๘๐ ชนิด

ทรัพยากรสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เกลือ ซึ่งชาวบ้านขุดเอา “ขี้ทา” หรือส่าเกลือในฤดูแล้งมากรองแล้วต้มเคี่ยวเป็นเกลือสินเธาว์ ในบริเวณนี้มีการต้มเกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลานต้มเกลือหรือที่ชาวบ้านเรียก “บ่อเกลือ” ประมาณ ๑๕๐ บ่อ มีความกว้างตั้งแต่ ๑๐ – ๑๐๐ ไร่

ชุมชนรอบป่าทามแห่งนี้ได้ใช้ฐานทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ดังกล่าวในการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพเป็นเศรษฐกิจสำคัญของครอบครัวและชุมชน มีกิจกรรมการผลิต ๒๕ กิจกรรม นับเป็นเขตพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางอาหารและสามารถพึ่งตนเองได้ระดับสูงเขตหนึ่งทีเดียว

ในระยะ๔๐กว่าปีที่ผ่านมามีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อป่าทามราษีไศล คือ ภาวะน้ำหลากท่วมลดน้อยลงเพราะมีการสร้างเขื่อนหลายแห่งที่บริเวณต้นแม่น้ำมูล มีการบุกเบิก

บุกรุกพื้นที่บุ่งทาม เปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์มีการจับจองเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจโดยชุมชนและนายทุน เกิดธุรกิจดูดทรายทำให้ตลิ่งพัง

เหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อมีการสร้าง “เขื่อนราษีไศล” ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงมาสู่พื้นที่บุ่งทามและชุมชนราษีไศล

เขื่อนราษีไศลและผลกระทบ

เขื่อนราษีไศล เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๕ แล้วเสร็จและทำการเก็บกักน้ำตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๓๖ เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดความสูง ๙ เมตร ปิด-เปิดด้วยบานประตูเหล็ก ๗ บานควบคุมด้วยระบบไฮโดรลิก สร้างปิดกั้นลำน้ำมูลที่บ้านปากห้วย อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ และมีการก่อสร้างคันดินกั้นสองฝั่งน้ำ (dike) ระดับความสูง ๑๒๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) เพื่อกั้นพื้นที่น้ำหลากท่วมสองฝั่งแม่น้ำเป็นระยะทาง ๔๕.๘ กิโลเมตร ระดับการเก็บกักน้ำสูงสุด ๑๑๙ ม.รทก. ขณะที่พื้นที่ท้องน้ำเท่ากับ ๑๑๐ ม.รทก. จะช่วยยกระดับน้ำในลำน้ำมูลเป็นระยะทาง ๑๒๐ กิโลเมตร และลำสาขา คือห้วยทับทัน ๒๖ กิโลเมตร ลำน้ำเสียว ๑๕ กิโลเมตร ห้วยน้ำเค็ม ๕ กิโลเมตร และลำ
พลับพลา ๗ กิโลเมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำในเอกสารเผยแพร่ ๒๐ ตารางกิโลเมตร (๑๒,๕๐๐ ไร่ พื้นที่จริงปัจจุบัน ๙๓,๐๐๐ ไร่) สามารถเก็บกักน้ำได้๗๔.๔๓ ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ชลประทานตามแผนในระยะแรก ๓๔,๔๒๐ ไร่ และในอนาคตเมื่อมีการผันน้ำมาจากแม่น้ำโขงจะได้พื้นที่ชลประทานจำนวน ๑๔๓,๒๖๐ ไร่ มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ชลประทานทั้งหมด ๒๒๘,๐๐๐ ไร่ โครงการมีแผนการก่อสร้างเป็นเวลา ๖ ปี นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๕ – ๒๕๔๑ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๘๗๑.๙ ล้านบาท

หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เขื่อนราษีไศลได้กักเก็บน้ำในเดือนตุลาคม ๒๕๓๖ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลได้รับผลกระทบอย่างหนัก

(๑) การสูญเสียที่ดินทำกินของราษฎร อ่างเก็บน้ำแห่งนี้เป็นแหล่งที่ราษฎรสองฝั่งลำน้ำมูลครอบครองและทำประโยชน์มาตามครรลองจารีตประเพณีอย่างยาวนาน มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจประมาณ ๒๕ กิจกรรม น้ำได้ท่วมที่ดินนับตั้งแต่ที่ต่ำ คือ กุด หนอง เลิง ที่ใช้ทำ “นาทาม” และที่โนนที่ใช้ทำข้าวไร่และพืชไร่ สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้ศึกษาพบว่า ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำราษีไศลมีครัวเรือนที่สูญเสียนาทามราว ๗,๘๕๖ ครัวเรือน พื้นที่นาทามที่ถูกน้ำท่วมราว ๔๖,๙๓๗ ไร่ ใน ๙ ตำบล ผลผลิตข้าวนาทามเปรียบเทียบระหว่างปี ๒๕๓๕ (ก่อนเก็บกักน้ำ) กับปี ๒๕๔๒ รายได้หลักของครัวเรือนที่ทำนาทามลดลงราวปีละ ๑๑,๕๒๐ บาท ผลผลิตรวมโดยประมาณที่ลดลงคือราว ๕๔๐ ล้านบาทต่อปี

(๒) การสูญเสียพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ครัวเรือนร้อยละ ๙๐ เลี้ยงวัวควายครัวเรือนละ ๑๐-๓๐ ตัว พื้นที่บุ่งทามเป็นทำเลที่กว้างขวาง มีพืชอาหารสัตว์หลากหลายและเพียงพอ มีแหล่งน้ำและที่พักสัตว์ ชุมชนแถบนี้มีแบบแผนการเลี้ยงแบบเฉพาะตัวและมีภูมิปัญญาที่สั่งสมมายาวนานเมื่อมีการเก็บกักน้ำ ปริมาณการเลี้ยงวัวควายลดลง ชาวบ้านต้องขายไปเพราะไม่มีที่เลี้ยง ส่วนที่เหลือต้องหาที่เลี้ยงใหม่ ทั้งในทุ่งนา ป่าโคก และเลี้ยงที่บ้าน เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการสร้างเขื่อน (ระหว่างปี ๒๕๓๕ – ๒๕๔๒) การเลี้ยงวัวในพื้นที่บุ่งทามลดลงร้อยละ ๗๕.๔ เปลี่ยนมาเลี้ยงที่บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๖.๗ จำนวนผู้เลี้ยงวัวลดลงร้อยละ ๑๔.๙ และจำนวนผู้เลี้ยงควายลดลงร้อยละ ๗๗.๖

(๓) ปัญหาพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมนานอกอ่างเก็บน้ำ คันดินกั้นน้ำซึ่งก่อสร้างขนาบสองฝั่งแม่น้ำมูลเป็นความยาวทั้งสิ้น ๔๕.๘ กิโลเมตร ปิดกั้นน้ำจากที่สูงไม่ให้ไหลลงแม่น้ำมูลได้ดั่งเดิมเท่ากับว่าคันดินนี้ก็คือเขื่อนขนาดยาวนั่นเอง ส่งผลให้น้ำท่วมนาบริเวณนอกอ่างเก็บน้ำเกือบทุกพื้นที่ราษฎรที่มีที่นาอยู่ในบริเวณดังกล่าวต้องประสบความเดือดร้อนทุกปี ก่อนการสร้างเขื่อน การทำนาในพื้นที่ทามและในนาทุ่งที่สูงขึ้นไปมักต้องถูกน้ำท่วม แต่เป็นการท่วมในระยะ ๑-๒ สัปดาห์เท่านั้น ต้นข้าวในนายังไม่ตายและสามารถฟื้นคืนได้ แต่หลังการก่อสร้างเขื่อนแรงอัดเอ่อของน้ำทำให้เกิดการท่วมยาวนานถึง ๑-๓ เดือนตามธรรมชาตินั้น ในฤดูน้ำหลากน้ำจะเอ่อท่วมสองฝั่งแม่น้ำกว้างประมาณ ๖ กม. แต่เมื่อมีเขื่อนและคันดินขวางกั้น ทางน้ำไหลมีเพียง ๘๗.๕ เมตรที่บานประตูเขื่อนเท่านั้น จึงเกิดน้ำอัดเอ่อไปท่วมพื้นที่เหนือเขื่อนและก่อผลกระทบอย่างกว้างขวาง

(๔) การสูญเสียป่าบุ่งป่าทามแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่บุ่งทามถือได้ว่าเป็นระบบนิเวศน์ที่สำคัญของภาคอีสาน ของประเทศและของโลก มีภูมิสัณฐานที่หลากหลายอันเกิดจากอิทธิพลของสายน้ำจำนวน ๑๙ ลักษณะ เช่น บุ่ง ทาม วัง ฮองหรือร่องน้ำ คุย วัง เวิน มาบ เลิงดูน ซำ คำ หนอง บวก ปาก กุด แก้ง ฯลฯ ส่งผลให้มีความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ในแต่ละบริเวณ และมีวงจรห่วงโซ่อาหารอันละเอียดซับซ้อน สัมพันธ์กับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ในฤดูแล้งพื้นดินมีโอกาสได้ตากแห้ง วัชพืชน้ำตายลง ถูกแผดเผาโดยแสงแดดจนแห้งรอเปื่อยเป็นอาหารพืช สัตว์ ที่อาศัย หากิน และแพร่พันธุ์ของสัตว์บก มด ปลวก แมลง และเป็นที่จำศีลของกบเขียดและหอย เมื่อถึงฤดูน้ำหลากนอง สัตว์เล็ก แมลงและผลไม้ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นอาหารอันโอชะของปลาที่ว่ายทวนน้ำขึ้นมาหากินและวางไข่ในพุ่มไม้อย่างปลอดภัย เหตุนี้จึงมีการเรียกพื้นที่นี้ว่า “มดลูกของแม่น้ำ” วงจรขอธรรมชาติในพื้นที่ป่าบุ่งป่าทาม อยู่บนเงื่อนไขที่ต้องมีฤดูน้ำหลากท่วมสลับกับฤดูแล้ง ทำให้เกิดวิวัฒนาการของพืชสัตว์ที่มีดุลยภาพในตัวเอง แต่เมื่อกลายเป็นอ่างเก็บน้ำถาวร มวลชีวิตที่มีวงจรระบบนิเวศน์เฉพาะดังกล่าวก็ไม่สามารถดำเนินวงจรชีวิตของตนต่อไปได้

(๕) การแพร่กระจายของดินเค็ม น้ำเค็มพื้นที่ราษีไศลเป็นพื้นที่ตอนล่างซึ่งเป็นแอ่งรับน้ำเค็มจากห้วยก๊ากว้าก ลำน้ำเสียว ทุ่งกุลาร้องไห้และความเค็มจากการทำนาเกลือที่อำเภอพิมาย-โนนไทย ในฤดูน้ำหลาก เกลือที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำจะถูกน้ำนำพาไปสู่ปลายน้ำ ไม่มีผลกระทบใดๆ เมื่อถึงฤดูแล้งจะมีส่าเกลือตกค้างอยู่บนผิวดินทามทั่วไป ชาวบ้านใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับต้มเกลือ จนชุมชนแถบนี้สามารถพึ่งพิงตนเองได้ในเรื่องเกลือมีแบบแผนการต้มเกลือสืบต่อกันมาถึงขนาดเกิดความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการต้มเกลือที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ในบริเวณขอบเขตบุ่งทามที่จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำราษีไศลมี “บ่อเกลือ” นับได้ประมาณ ๑๕๐ บ่อ แต่ละแห่งมีพื้นที่กว้างตั้งแต่ ๑๐ ไร่ถึง ๑๐๐ ไร่ (งานวิจัยไทบ้าน ๒๕๔๘) นอกจากนั้น ส่าเกลือหรือโป่งเกลือ หรือชาวบ้านเรียกว่า “ขี้ตำปวก” เป็นอาหารของปลาจำนวนมากที่ว่ายทวนน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อมาวางไข่ และอาศัยอยู่ในป่าทามลุ่มน้ำมูลตอนกลางในช่วงฤดูน้ำหลากอีกด้วย

เมื่อพื้นที่บุ่งทามกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ปริมาณความเค็มจากเกลือก็ถูกสะสมอยู่ในอ่างเก็บน้ำนั่นเอง ในปี ๒๕๓๘ กรมพัฒนาที่ดินได้สำรวจผลกระทบแล้วสรุปว่า หลังการเก็บกักน้ำของเขื่อนราษีไศลเกลือถูกสะสมในพื้นที่เหนือเขื่อนมากขึ้นเพราะไม่สามารถระบายออกจากระบบได้ ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกตามปกติได้ ทั้งนี้ มีผลการวิเคราะห์ทั้งบริเวณเขื่อนว่าในช่วงแล้งมีความเค็มระดับสูง นำน้ำไปใช้ทำการเกษตรไม่ได้ในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำที่ชาวบ้านเคยสูบน้ำขึ้นมาทำนาปรังและปลูกพืชผักในฤดูแล้ง

(๖) ปัญหาน้ำเน่าน้ำเสีย และปัญหาสุขภาพเมื่อมีการเก็บกักน้ำ ป่าทามทั้งผืนจมอยู่ใต้น้ำ เกิดการเน่าเปื่อยของต้นไม้ใบไม้ ส่งผลให้น้ำเน่าเสียน้ำมีสีดำ ยิ่งน้ำนิ่งไม่มีการถ่ายเทยิ่งเพิ่มความรุนแรง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง แหล่งน้ำที่หลายชุมชนใช้ผลิตน้ำประปา (กุด) เกิดสกปรกเพราะมีเศษซากวัชพืชเน่าเปื่อยหมักหมม ระดับน้ำใต้ดินยกระดับสูงขึ้น น้ำบ่อในชุมชนจำนวนมากเริ่มมีสนิมปนเปื้อน บางบ่อน้ำกลายเป็นน้ำกร่อยน้ำเค็มและเป็นสนิม เกิดการระบาดของวัชพืชน้ำจำพวกจอกแหน และการระบาดของหอยคัน หอยเชอรี่ พร้อมกับการสูญพันธุ์ของหอยโข่งซึ่งต้องวางไข่ในดินในฤดูแล้ง หอยเชอรี่ระบาดไปยังทุ่งนาทุกพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำราษีไศล โดยเฉพาะพื้นที่ที่สูบน้ำไปทำการเกษตร

ด้านสุขภาพ หลังการสร้างเขื่อนชาวบ้านเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อนร้อยละ ๑๙.๐ โรคที่พบมากที่สุด คือ โรคผิวหนังผื่นคันร้อยละ ๔๐ ของโรคที่พบ นอกนั้นก็มีโรคท้องร่วง ตาแดงหวัดเรื้อรัง ภูมิแพ้และพยาธิต่าง ๆ ทั้งยังมีอาการป่วยจากการกินปลาปักเป้า แพทย์โรงพยาบาลราษีไศลลงความเห็นว่าเกิดจากพิษปลาปักเป้า (fish poisoning, tetrodo toxin intoxication) มีอาการชารอบริมฝีปาก แขนขา และปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ไม่มีแรง หายใจขัด ในอดีต ปลาปักเป้าเป็นปลาที่ชาวบ้านสามารถบริโภคได้ไม่เคยมีอาการแพ้พิษ และโรคที่มาพร้อมกับโรคอื่น ๆ ก็คือ โรคเครียด วิตกกังวล เกิดจากการสูญเสียที่ทำกินอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อมีการรวมกลุ่มเพื่อผลักดันให้มีการแก้ปัญหา ซึ่งมีความยากลำบากเพราะต่อสู้ยืดเยื้อเผชิญหน้ากับรัฐอย่างตึงเครียด และเป็นกิจกรรมที่ต้องลงทุนลงแรงพอสมควร บางครอบครัวถึงขั้นนำโฉนดที่ดินไปจำนองเพื่อนำเงินมาใช้ในการต่อสู้ หลายคนเกิดอาการเครียดถึงขนาดไปหาหมอ และมีไม่น้อยกว่า ๑๐ คนที่เสียชีวิตขณะชุมนุม

(๗) ผลกระทบต่อแหล่งน้ำชลประทานเดิมของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นก่อน ซึ่งส่วนมากจะเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ฝายน้ำล้น ทำนบกั้นน้ำ บ่อน้ำตื้น เฉพาะในพื้นที่อำเภอราษีไศลและอำเภอบึงบูรพ์ พบว่ามีโครงการชลประทานดังกล่าวจำนวน ๑๒ โครงการ รวมงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๔๐ ล้านบาท ในโครงการต่าง ๆ ดังกล่าว ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ในการใช้น้ำอุปโภคบริโภค การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ บางแห่งสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำในการทำนาปรังในฤดูแล้ง เหล่านี้ล้วนจมอยู่ใต้เขื่อนราษีไศลถือเป็นการทำโครงการที่ซ้ำซ้อนกับโครงการเดิม

(๘) การสูญเสียพื้นที่ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชน ป่าทามลุ่มน้ำมูลตอนกลางเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชนสองฟากฝั่ง การเข้าไปใช้ประโยชน์ในการทำมาหากินร่วมกัน เช่นการเลี้ยงวัว – ควาย การทำนาหนอง การหาปลาการเอาผือ กก มาทอเสื่อ ฯลฯ ทำให้คนสองฝั่งหรือระหว่างชุมชนที่เป็นรอยต่อกันเกิดมีปฏิสัมพันธ์กันฉันญาติมิตร เพื่อน พี่น้อง เกิดการแต่งงานกันข้ามหมู่บ้านสองฟากแม่น้ำมูล กลายเป็นเสี่ยวกัน เป็นเส้นทางในการคมนาคมของชุมชน การค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เช่น บ้านท่างามกับบ้านโนนทรายซึ่งอยู่คนละฟากแม่น้ำมูล มีเส้นทางเชื่อมต่อกันห่างเพียง ๒ กม. ทำให้คนสองบ้านนี้ไปมาหาสู่กันสะดวก หากมีงานบุญในหมู่บ้าน คนในสองหมู่บ้านก็จะเดิน ปั่นจักรยาน ขับมอเตอร์ไซค์ ผ่านป่าทามแห่งนี้มาช่วยเหลือกัน หากเป็นฤดูฝนก็จะพายเรือมาตามร่องน้ำ กุดที่เชื่อมต่อกันและข้ามแม่น้ำมูลมาอีกฝั่งหนึ่งได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปเพื่อเดินทางไปมาหาสู่กันนอกจากนี้ การสร้างเขื่อนราษีไศลทำให้ชุมชนสูญเสียภูมิปัญญาในการทำมาหากิน คนรุ่นหลังขาดโอกาสที่จะลงไปใช้ชีวิต เรียนรู้ และทำมาหากินเพื่อดำรงสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าว เช่น การทำนาไร่ การทำนาหนอง การหาปลา หาผัก การต้มเกลือ เพราะต้องออกไปทำมาหากินนอกชุมชนขายแรงงาน ในฐานะเป็นคนที่มีกำลังมากที่สุดในครอบครัว คนหนุ่มสาวเยาวชนรุ่นหลังจึงขาดการซึมซับรับทอดวิถีการทำมาหากินที่เป็นภูมิปัญญาของครอบครัว วิถีการผลิตที่เรียบง่ายและพึ่งตนเอง ไปหลงใหลกับสมัยนิยมแทน

โครงการรัฐ ไม่คุ้มก็ต้องทำต่อมีปัญหาก็กลายเป็นงานที่มีราคา

การลงทุนของเขื่อนราษีไศลถึงปัจจุบันเป็นค่าก่อสร้าง ๘๗๑ ล้านบาท กับค่าชดเชยที่จ่ายไปแล้ว ๑,๘๘๖ ล้านบาท (ยังเหลืออีกหลายร้อยล้าน) รวมแล้วเป็น ๒,๗๕๗ ล้านบาท ไม่รวมค่าตอบแทนข้าราชการ การก่อสร้างอื่น ๆ และค่ากระบวนการแก้ปัญหาซึ่งอาจใกล้เคียงกับค่าก่อสร้าง

เขื่อนแห่งนี้เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้เท่าไหร่ ? ในเป้าหมายที่วางไว้ ๓๔,๔๒๐ ไร่นั้น ปีปัจจุบันนี้มีการทำนาปรัง ๘,๐๐๐ ไร่ (สูงกว่าทุกปีเพราะนโยบายแทรกแซงราคาข้าวจูงใจ) ลองหารตัวเลขดูเล่น ๆ เขื่อนราษีไศลจัดหาพื้นที่ชลประทาน ๑ ไร่ ต้องลงทุนถึง ๓๔๔,๖๒๕ บาท ตัวเลขประมาณการเฉลี่ยของโครงการโขงชีมูลทั้งโครงการนั้น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อไร่

และเป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออกเมื่อพบความจริงว่า พื้นดินตะกอนแม่น้ำในพื้นที่บุ่งทามซึ่งเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภาคอีสานจำนวน ๑ แสนไร่ ถูกตัดสินใจใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อนำน้ำไปให้นาดินทรายในที่สูงทำนาปรัง ๓๔,๔๒๐ ไร่ และได้ใช้จริงไม่ถึง ๑ หมื่นไร่

คงไม่เกินเลยความจริงที่จะพูดว่า ประโยชน์ของเขื่อนในโครงการโขงชีมูล แท้จริงก็คือการได้สร้างเขื่อนนั่นเอง

ประโยชน์ที่ได้นั้นเท่าไหร่ก็เท่ากัน ในเมื่อได้สร้างขึ้นแล้วก็ถือเป็นสมบัติของราชการ ต้องดูแลรักษากันต่อไป ปัญหาที่ตามมาเป็นลูกโซ่ก็จะถูกแปรเป็นแผนงานเป็นงบประมาณมาดำเนินการกันต่อไป

ต่อจากนี้ ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนราษีไศลและเขื่อนอื่น ๆ อีก ๑๓ โครงการในโครงการ โขง ชี มูล จะทยอยออกมาจากใต้พรมเช็ดเท้า ท่ามกลางสื่อมวลชนโหมกระแสข่าวภัยแล้งและน้ำท่วมกันต่อไป หน่วยงานรัฐก็ยังชงโครงการชื่อใหม่ ๆ ออกมาขายฝันให้คนอีสานต่อไป ชาวบ้านผู้เดือดร้อนที่ลุกขึ้นมาคัดค้านและเรียกร้องสิทธิ์ก็คงจะต้องตกเป็นจำเลยของสังคมอยู่ต่อไปอีกนาน จนกว่าความจริงจะปรากฏเมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแล้วทุกครั้งไป ตราบที่สังคมแห่งนี้ยังถูกควบคุมและครอบงำทางอุดมการณ์และศาสตร์สมัยใหม่อันอยู่ในมือของรัฐและทุนอันลำเอียงเช่นนี้

Related Posts

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”
เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com