ชุมชนลุ่มน้ำโขงพร้อมใจบวงสรวงเทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข
ชุมชนลุ่มน้ำโขงพร้อมใจบวงสรวงเทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข
ว่าด้วยพิธีกรรมบวงสรวง
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพิธีกรรมของพราหม์ แท้จริงแล้ว”บวงสรวง” เป็นภาษาพราหมณ์สมัยพุทธกาลก็เป็นภาษาบาลี
ส่วนภาษาไทยแปลว่า ยอมรับนับถือท่านผู้มีพระคุณ คือ พระรัตนตรัย พรหม เทวา ผู้เป็นใหญ่ดูแลโลก ดูแลคุ้มครองผู้ที่มีบุญบารมีไม่ให้ได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ จากผู้ร้าย จากภัยธรรมชาติ เป็นพิธีการบูชาพระคุณความดีของท่านที่มีคุณงามความดีต่อสรรพสัตว์ทั้ง 3 โลก
บวงสรวงทำเพื่อการใด?
จุดประสงค์ของการบวงสรวงมีมากมายหลายข้อ แล้วแต่จุดประสงค์ของแต่ละท่านที่จะบวงสรวงเพื่ออะไร ก็ตั้งจิตอธิษฐาน อัญเชิญท่านผู้เป็นใหญ่ ท่านผู้มีพระคุณ ถ้าศาสนาพราหมณ์ก็บูชา พระพรหม เทวาอารักษ์ ถ้าเป็นชาวพุทธก็อัญเชิญท่านผู้เป็นใหญ่สูงสุด คือองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยสาวกทุกๆพระองค์เบื้องบนพระนิพพาน คุณบิดามารดาทุกๆชาติ เทพเจ้าพระพรหมเทวดาที่ดูแลคุ้มครองป้องกันทั้ง 3 โลก
เรื่องที่อ้อนวอนขอ
เจ้าพิธี ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์ พราหมณ์ ร่างทรง จะทำหน้าที่นี้ เมื่อพระองค์ท่านเสด็จมาแล้วตามที่เราตั้งใจอัญเชิญด้วยความเคารพนับถือ ด้วย ใจจริง ขอให้ท่านช่วยเหลืองานใหญ่ๆ ที่เราจะทำ เช่น สร้างวัด สร้างบ้าน สร้างตึก ปัดเป่าสิ่งรังควาน ขอความอยู่เย็นเป็นสุข ผีวิญญาณ คนสัตว์ ได้เห็นพระท่านมา ได้โมทนา ยินดี เมื่อได้เห็นแสงสว่างจากท่านผู้บริสุทธิ์ มีปัญญาบารมี มีความสุขสดชื่น โลกก็ไม่วุ่นวายเดือดร้อนจนเกินไป สรรพสัตว์ จะอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็น มีการประน้ำมนต์
เครื่องบวงสรวง ตามหลักจะมีสิ่งเหล่านี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับภูมิและความเชื่อของแต่ละพื้นที่ ที่จะส่งสัญญานผ่าน “เจ้าพิธี” อาทิ
(1) บายศรีเทพและบายศรีพรหม อย่างละ 1 คู่,บายศรีปากชาม 2 คู่
(2) ขนมมงคล 9 อย่าง
(3) อาหารคาว 5 อย่าง รวมข้าวสุก 1 จาน
(4) หัวหมู 1 หัว,เป็ด 1 ตัว,ไก่ 1 ตัว,กุ้ง ปูทะเล,ปลาช่อน 1 ตัว
(5) ผลไม้ 9 อย่าง
(6) อ้อย,กล้วย,เผือก,มัน อย่างละ 1 ถ้วย
(7) ธัญพืช ถั่วเขียว,ดำ,แดง,เหลือง,งาขาว,งาดำ 1 ถ้วย
(8) น้ำ 5 สี ส้ม –เขียว-ดำ-แดง-นม-เนย- เหล้า –น้ำเปล่า
(9) ดอกไม้ 2 พุ่ม หรือ แจกัน 1 คู่, พวงมาลัยดาวเรือง 2 พวง
(10) หมากกพลู บุหรี่
(11) พวงมาลัยดาวเรือง 2 พวง
(12) ข้าวตอก ดอกไม้
(13) กำยาน พร้อมที่รอง 4 มุม จุดหลังจากเจ้าพิธีจุดธูป 16 ดอก
จัดเตรียมธูปดังนี้
- ธูปสำหรับ เจ้าพิธี จุดก่อนบูชาพระ 9 ดอก
- ธูปสำหรับ เจ้าพิธี จุดหลังกล่าวคำบวงสรวง 16 ดอก อัญเชิญเทพ พรหม มารับเครื่องสักการะบูชา
- ธูปสำหรับ เจ้าพิธี จุดก่อนเริ่มพิธี เพื่ออัญเชิญสัมภเวสี มารับเครื่องสังเวย บริเวณด้านล่างขาโต๊ะพิธีทั้งสี่ขา
- ธูปสำหรับ ผู้ร่วมพิธี 9 ดอก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของศาลเล็ก ใหญ่ ความพร้อม ธรรมเนียมของแต่ละแห่ง
โต๊ะบวงสรวง
-วางเครื่องสักการบูชา โดยบายศรีเทพแเละบายศรีพรหม อยู่ด้านหน้า ตรงกลาง ส่วนบายศรีปากชาม อยู่สองข้าง แจกันดอกไม้ ถัดจากบายศรีปากชาม หัวหมู อยู่กลาง ไก่ต้ม ปลาต้ม (นึ่ง) อยู่ด้านข้าง
ผลไม้ ขนม เผือก มัน จัดตามสมควร
-เชิงเทียน 2 กระถางธูป 1 วางเหมือนโต๊ะหมู่บูชา
-กำหนดการณ์ ต้องไม่เกิน 10.00 น. หลังจากเวลานี้ เทวดาไปประชุมกันหมด
เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
1 เจ้าพิธีจุดธูป 9 ดอก ปักไว้ที่กระถางธูปสำหรับเจ้าพิธี (แยกกระถางธูปสำหรับเจ้าพิธี และผู้ร่วมพิธี คนละกระถาง) ผู้ร่วมงานจุดธูป 9 ดอก
2 บุชาพระรัตนตรัย พร้อมกัน
3 กล่าว นะโม พร้อมกัน 3 จบ
4 กล่าว ชุมนุมเทวดา
5 กล่าวอัญเชิญ
6 เจ้าพิธี จุดธูป 16 ดอกอัญเชิญ เทพ พรหมเทวา มารับเครื่องสักการะ
7 จุดกำยาน
8 เปิดเทป ดนตรีไทย จนกว่าธูป จะหมด
9 เจ้าพิธีกล่าวส่งเทพ พรหมกลับวิมาน
“เมื่อลาของบวงสรวงแล้ว สามารถนำเครื่องสักการะบูชา มาทาน ตามอัตภาพ”
ทุกข์ภัยของแม่น้ำโขง ความเชื่อที่ต้องการขจัดปัดเป่าสิ่งรังควาน
เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) มีความเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใน 3 โลก จะช่วยคุ้มครองให้สรรพสิ่งในลุ่มน้ำโขงอยู่เย็นเป็นสุข ผู้ใดเบียดเบียนผู้อื่น ผู้นั้นจะได้รับผลแห่งกรรม ผลแห่งการกระทำ จึงพร้อมใจในการจัดพิธีกรรมนี้ในระดับชุมชนหลายแห่ง คนอีสานลุ่มน้ำโขง จึงจัดพิธีเลี้ยงบ้าน เลี้ยงปูตา ซึ่งมักจัดกันเป็นบุญเดือนหก และในเดือนเจ็ดจัดพิธีบุญซำฮะ เพื่อชำระ ปัดเป่าสิ่งรังควานออกจากชุมชนของตนเอง
แพ้ทางหรือไม่ หากเครื่องบวงสรวงไม่ครบ?
แม้เครื่องบวงสรวงที่มาจากความสามัคคีของคนในชุมชน จะไม่ครบถ้วน ยิ่งใหญ่ตระการตา แต่เครือข่ายฯ เชื่อว่า ความรัก เจตนาดีที่จะปกป้องวิถีชีวิต ความสมดุลย์ของสรรพสิ่งในลุ่มน้ำโขง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใน 3 โลก จะช่วยพวกเราอย่างแน่นอน
นายอำนาจ ไตรจักร์ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ในคราวบรวงสรวงเขื่อนไซยะบุรี ฝ่ายสร้างเขื่อน ก็ทำพิธีกรรม ด้วยการบนหมูเป็นตัว ในขณะที่ชาวบ้านก็บนหัวหมู มีหลายคนแซวว่า เหตุนี้จึ่งแพ้ทาง ซึ่งในข้อเท็จจริง ได้สอบถามผู้รู้ว่า เจตนาดี ความสามัคคีคือพลัง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3 โลกรู้ดีว่า ส่วนใดปกป้อง ส่วนใดทำลาย
ความเงียบ กับการร้องขอสิ่งที่มองไม่เห็น
เครือข่ายฯ นัดหมายกันที่ ต.ไชยบุรี จ.นครพนม 13-14 พค.นี้ ที่จ.นครพนม
หลังจากที่แต่ละชุมชน ที่ทำเรื่องนี้ ทะยอยจัดไปพร้อมๆกับ บนศาลปู่ตา
เราจะทำในนามคข. 7 จว.
ชวนเพื่อนๆ ท่านใดสะดวกทำบุญร่วมด้วยช่วยกัน
กำหนดการคร่าว ๆ
13 พฤษภาคม 2565 เตรียมเครื่องบวงสรวง
เช้า 14 พฤษภาคม 2565 มีการเลี้ยงพระเช้าและถวายสังฆทานร่วมกับชุมชนเมืองไชยบุรี เมืองโบราณแห่งลุ่มน้ำโขง หลังจากนั้นจะมีการเข้าทรง
รำบวงสรวง เราจะบวงสรวงทั้งน้ำโขงและน้ำสงคราม โดยจัดเครื่องบวงสรวง 2 ชุด และสังฆทาน 7 ชุดสำหรับเครือข่ายฯ 7 จังหวัด
เชิญชวนเพื่อนๆ ร่วมด้วยช่วยกัน ส่งกำลังใจได้ที่
เครือข่ายฯ ลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน
ขอบคุณข้อความและรูปภาพ จากเฟซบุ๊ก : อ้อมบุญ ทิพย์สุนา