“ด้ำเสือ”
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
วิถีวิวัฒน์สังคมชนชาติไท
“การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของชาวไต โดยเริ่มจากการวิเคราะห์บทเพลงขับขาน “ความล่องคง” ของชาวไทใหญ่ รวมถึงการคัดสรร คำกล่าว คำพังเพย คติพื้นบ้าน ตำนาน สายด้ำ โดยให้ความสำคัญกับสายตระกูล “เสือ” เป็นหลัก ใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง ว่าด้วยการ “เต้าตามไต|เต้าทางไท” เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีไทห้วงก่อนประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ยุคต้นของสังคมชนชาติไท ดังที่ดำเนินการมาเป็นลำดับขั้น
“โดยเฉพาะในกรณีของ “วิถีชุมชนไทใหญ่|ไตมาว” นั้น มิได้มุ่งหมายเพียงแค่เสนอ เนื้อหาหรือเรื่องราว “ประวัติศาสตร์แบบตำนาน” (Legendary history) ของชาวไทใหญ่ (กลุ่มไตมาว) เท่านั้น หากมุ่งหมายที่จะนำ ปรากฏการณ์สังคมในปรัมปราคติชาวไทใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็น ‘หน่วยย่อยของสังคม’ (Micro Unit) ในห้วงเวลารอยต่อระหว่าง “ปางด้ำนาย” กับ “ปางแต่งเมือง” มาสังเคราะห์ เพื่อยกขึ้นสู่แนวคิดเชิงทฤษฎี ว่าด้วย “วิถีวิวัฒนาการสังคม ชุมชนไต|ไท|ลาว| สยาม” ในภาพรวม โดยการพิเคราะห์เชิงระบบและเชิงโครงสร้าง เพื่อ “ถอดรหัส” วิถีวิวัฒน์ สังคมชนชาติไท ซึ่งถือว่าเป็นโครงครอบใหญ่ของการศึกษา…”
ส่วนหนึ่งจากหนังสือ3 เล่มชุด “มหากาพย์ชนชาติไท ~ ‘เต้าตามไต เต้าทางไท’ ”
โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา, ชายชื้น คำแดงยอดไตย
สำนักพิมพ์ทางอีศาน