Tag

มหากาพย์ชนชาติไท

เปิดตัวหนังสือ “มหากาพย์ชนชาติไทฯ”

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ~ นักวิชาการของประชาชนกับผลงานล่าสุดที่ตกผลึกทางความคิด ลุ่มลึก เธอจัดเจนอักษรศาสตร์หลากภาษา; มีประสบการณ์สนามที่แลกด้วยชีวิต ขึ้นเขาลงห้วยมาแล้วทั้งในแดนไทย ลัวะ ละว้า มอญ ลาว เวียดนาม; จากใต้คง เมืองหมอกขาวมาวโหลง เมืองนุนสุนคำ เมืองว้าอาหว่าซาน เมืองปะหล่องปู้หลางซาน เมืองนางพญาไท่ที่หูหนาน และเมืองพระยาแถนหลวงที่ยูนนาน

กำหนดการงาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ

กำหนดการงาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ วันพฤหัสที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 12.30 - 18.00 น. ณ ห้อง Auditorium ช้ัน 2 ตึก 15 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต - 12.30 - 12.50 น. ลงทะเบียน

หนังสือ ๓ เล่มชุด “มหากาพย์ชนชาติไท : เต้าตามไต เต้าทางไท”

ชลธิรา สัตยาวัฒนา ใช้ข้อมูลที่ร่ำเรียน สืบเสาะหา และวิจัยมาทั้งชีวิต ใช้เวลาตกผลึกทางความคิด สรุป และเรียบเรียงถึง ๖ ปี แล้วออกแบบรูปเล่ม แนะนำการทำปก ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนอีกปีกว่า บัดนี้ผ่านการพิมพ์ปกมาตรวจความเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว

# ร่วมบุญสร้างหนังสือ

บอกบุญสร้างหนังสือสื่อเพื่อนมิตร มอบอุทิศแด่สังคมอุดมผล บารมีจากปัญญาบันดาลดล สร้างสรรค์สู่สากลสดุดี มหากาพย์ชนชาติไท ~ "เต้าตามไต เต้าทางไท" ใฝ่วิถี สืบสาวลึกรากเหง้าทบเท่าทวี เสริมศักดิ์ศรีมนุษย์รุดหน้าไป

ชายเป็นใหญ่ : จาก “แถน” สู่ “เทพ”*

สำหรับกรณีของวิถีวิวัฒน์สังคมบรรพชนไท|ลาว|สยาม นั้น เป็นที่ประจักษ์จากหลักฐานประวัติศาสตร์ทางภูมิปัญญาว่า ในระยะต่อมา บทบาท อำนาจ และบารมีของผู้นำที่เป็น ‘บรรพบุรุษ’ ได้รับการหนุนเสริมขึ้นสู่ “ความเป็นแถน” (ฟ้า) ตามด้วย “ภาวะแห่งเทพ” (เทวราชา แบบพราหมณ์|ฮินดู) ในพื้นภูมิหลายแห่ง โดยเฉพาะอาณาจักรสมัยทวารวดี ลพบุรี อโยธยา ต่อเนื่องด้วยอยุธยา

“ด้ำเสือ”

“การศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของชาวไต โดยเริ่มจากการวิเคราะห์บทเพลงขับขาน “ความล่องคง” ของชาวไทใหญ่ รวมถึงการคัดสรร คำกล่าว คำพังเพย คติพื้นบ้าน ตำนาน สายด้ำ โดยให้ความสำคัญกับสายตระกูล “เสือ” เป็นหลัก ใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง ว่าด้วยการ “เต้าตามไต|เต้าทางไท” เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีไทห้วงก่อนประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ยุคต้นของสังคมชนชาติไท

“ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามตัวบท” : เต้าตามทางอาจารย์ชลธิรา เรียนรู้วิธีวิทยาการศึกษาใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง (3) – ธัญญา สังขพันธานนท์

งานสืบค้นความเป็นมาของชุมชนคนไท/ไต ไม่เพียงแต่นำเสนอให้เห็นวิธีการศึกษาแบบสหวิทยาการและบูรณาการของหลักคิดและองค์ความรู้แบบข้ามศาสตร์ข้ามสาย แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการใช้เครื่องมือ (tool) และวิธีวิทยาสำคัญ ๆ ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องซึ่งถูกคัดเลือกและระดมมาใช้ศึกษา วิเคราะห์ ตีความตัวบทประเภทต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการตอบคำถามและสร้างมุมมอง/องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรกราก ความเป็นมาของชนชาติไท

“ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามตัวบท” : เต้าตามทางอาจารย์ชลธิรา เรียนรู้วิธีวิทยาการศึกษาใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง (2) – ธัญญา สังขพันธานนท์

คำว่าตัวบท (text) ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ มีความหมายอ้างถึงอยู่สองระดับ ระดับแรก ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน เพราะหมายถึงแหล่งข้อมูลที่อาจารย์ชลใช้ในการศึกษา วิเคราะห์เพื่อค้นหาความหมาย การเชื่อมโยงข้อมูล หลักฐาน การถอดรหัสนัยจากข้อมูลนั้น ๆ เพื่อหาคำตอบตามสมมุติฐานที่วางไว้

“ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามตัวบท” : เต้าตามทางอาจารย์ชลธิรา เรียนรู้วิธีวิทยาการศึกษาใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง – ธัญญา สังขพันธานนท์

หลังจากงานศึกษาค้นคว้า เพื่อสืบสาวความเป็นมาของชนชาติไท /ไต ในงานเขียนทางวิชาการเล่มหนา ที่ชื่อว่า “มหากาพย์ฯ บรรพหนึ่ง: ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ แล้ว ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา หรือ “อาจารย์ชล” ก็ได้เริ่มต้นสืบค้นศึกษาเพื่อสืบสาวความเป็นมาของชนชาติไทในบรรพที่สองโดยไม่รอช้า ชั่วระยะเวลาแค่สามสี่ปี ในขณะที่เราต่างถูกกักขังยาวนานอยู่ใน “คุกโควิด-19” อาจารย์ชลก็ผลิตงานเขียนชุดต่อเนื่องออกมาสู่วงวิชาการอีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง: เต้าตามไต เต้าทางไท” ที่มีความเข้มข้นและอลังการไม่แพ้งานสืบสาวความเป็นมาของชนชาติไท บรรพหนึ่ง

Dam~Tao Dialogue 1 บทวิจารณ์มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง “เต้าตามไต เต้าทางไท”

​ปัญหาอย่างหนึ่งของงานโบราณคดีโดยทั่วไปคือ การอธิบายความหมายและนัยยะของโบราณวัตถุให้เกินระดับพื้นผิวของวัตถุ โดยมากทำได้แค่เพียงอธิบายว่าโบราณวัตถุแบบเดียวกันนี้พบที่ไหนบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานของงานโบราณคดี (และประวัติศาสตร์ศิลปะ) นั้นตั้งอยู่บนการศึกษาเชิงรูปแบบ (Form/Formalism) เป็นหลัก อาจมีบ้างที่พยายามจะถอดสัญญะความหมายแต่ก็เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา

Tao Dialogue 6 ต่อเต้าความ เรื่องสัญรูป|สัญอักษร “เต้าตี”

การสลักลวดลายสัญญะบนศิลปะวัตถุสำริด (Bronze vessels) สมัยปลายราชวงศ์ซาง ต่อเนื่องด้วยระยะต้นและระยะกลางของราชวงศ์โจวตะวันตก จัดว่าเป็น ‘ทวิสัญญะ’ ที่ทับซ้อนกัน คือมีทั้งส่วนที่เป็น ‘สัญรูป’ และ ‘สัญอักษร’ หรือนัยหนึ่งคือ ‘อักขระโบราณ’ แต่ดึกด้ำปางบรรพ์ ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครอ่านออกและให้ความหมายได้ชัดเจน

Tao Dialogue 5 บทสนทนาว่าด้วยเรื่อง ‘เต้า’ บทบาททางพิธีกรรม

‘เต้า’ ในฐานะภาชนะ บรรจุของเหลว เช่น น้ำ หรือเหล้า ฝรั่งคงนึกไม่ออกว่า ‘น้ำ’ มีความพิเศษเฉพาะอย่างไรในพิธีกรรม เมื่อมีการขุดพบศิลปะวัตถุโบราณ ที่บรรจุของเหลวได้ มักนิยามสิ่งนั้นว่า เป็น ‘wine container’

Tao Dialogue 4 บทสนทนาว่าด้วยคำ ‘เต้า’ จาก ‘เต้า’ จุดกำเนิด สู่ ‘เก๊ง~เคียง~เชียง’ ที่ตั้งมั่น

Tao Dialogue 4 บทสนทนาว่าด้วยคำ ‘เต้า’ จาก ‘เต้า’ จุดกำเนิด สู่ ‘เก๊ง~เคียง~เชียง’ ที่ตั้งมั่น โดย ชายชื้น คำแดงยอดไตย

Tao Dialogue 3 บทวิจารณ์ มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง

เมื่อศาสตราจารย์พิเศษชลธิรา สัตยาวัฒนา (อาจารย์ชล) เชื้อชวนผมให้เขียนถึงคำว่า ‘เต้า’ ใน ‘เต้า’ ตาม ไต ‘เต้า’ ทางไท อันเป็นบรรพสองของ “มหากาพย์ชนชาติไท” ทางหนึ่งจึงนับเป็นเกียรติยิ่งอีกครั้ง จากคราวก่อนที่ได้รับความเมตตาให้โอกาสเขียนถึงคำว่า ‘ด้ำ’ ผีบรรพชนผู้เฝ้าปกปักรักษาสายโคตรตระกูล ในมหากาพย์ฯ บรรพแรก: ‘ด้ำ’ แถน กำเนิดรัฐไท (ชลธิรา พ.ศ.๒๕๖๑)

Dam Dialogue 2 บทต่อเต้าความ “มหากาพย์ชนชาติไท”

ในงานเขียนเรื่อง ‘สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม’ อันเป็นบรรพแรกของ “มหากาพย์ชนชาติไท” ศาสตราจารย์พิเศษชลธิรา สัตยาวัฒนา (อาจารย์ชล) ได้สืบสาวความหมายของ ‘ด้ำ’ ที่เชื่อมโยงถึงความเชื่อเก่าแก่หลากหลายนัยยะ เน้นย้ำถึงความสำคัญของคำว่า ‘ด้ำ’ อย่างเป็นพิเศษชนิด ‘ยวดยิ่ง’ ว่าคือ คำต้นเค้าต้นแบบอันเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ที่มีอิทธิพลอย่างลึกล้ำต่อการ ‘แรก’ สร้างชุมชนสร้างเมืองของพวกไท-กะได โดยเฉพาะสายไท-ลาว-สยาม
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com