ชายเป็นใหญ่ : จาก “แถน” สู่ “เทพ”*

     สำหรับกรณีของวิถีวิวัฒน์สังคมบรรพชนไท|ลาว|สยาม นั้น เป็นที่ประจักษ์จากหลักฐานประวัติศาสตร์ทางภูมิปัญญาว่า ในระยะต่อมา บทบาท อำนาจ และบารมีของผู้นำที่เป็น ‘บรรพบุรุษ’ ได้รับการหนุนเสริมขึ้นสู่ “ความเป็นแถน” (ฟ้า) ตามด้วย “ภาวะแห่งเทพ” (เทวราชา แบบพราหมณ์|ฮินดู) ในพื้นภูมิหลายแห่ง โดยเฉพาะอาณาจักรสมัยทวารวดี ลพบุรี อโยธยา ต่อเนื่องด้วยอยุธยา โดยที่ในพื้นภูมิรัฐอีกบางแห่งที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก็เกิดมี “ธรรมราชา” (แบบพุทธ) ดังที่ได้บังเกิดขึ้นในอาณาจักรสุโขทัย

     ทั้งนี้ “ธรรมราชา” ธำรงอยู่อย่างรุ่งเรืองได้เพียงไม่กี่รัชสมัย ราชวงศ์แบบ “ธรรมราชา” สุโขทัย ก็ต้องพ่ายแพ้ตกอยู่ใน อำนาจอิทธิพลที่เหนือกว่าของฝ่ายราชวงศ์ “เทวราชา” (แบบพราหมณ์) ของอาณาจักรทางใต้ลงมาคือ อยุธยา ซึ่งต่อมาไทยสยามได้ผนวกความเป็น “พุทธราชา” เข้าไปผสมผสาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้จนบรรลุยุคสมัยความรุ่งเรืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ยังคงสืบทอดอัตลักษณ์ ‘อยุธยา’ โดยราชวงศ์จักรี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

*เศษเสี้ยวจากหนังสือ 3 เล่มชุด มหากาพย์ชนชาติไท ~ “เต้าตามไต เต้าทางไท”

โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา, ชายชื้น คำแดงยอดไตย

สำนักพิมพ์ทางอีศาน

Related Posts

เปิดตัวหนังสือ “มหากาพย์ชนชาติไทฯ”
กำหนดการงาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ
หนังสือ ๓ เล่มชุด “มหากาพย์ชนชาติไท : เต้าตามไต เต้าทางไท”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com