พระธรรมบาล ประติมากรรมขอม
ธรรมบาล แปลว่า ผู้รักษาธรรม หรือผู้พิทักษ์ธรรม
ในทางพุทธศาสนา พระธรรมบาล (สันสกฤตว่า ธรฺมปาลมฺ, Dharmapala) หมายถึง ผู้ปกป้องหรือพิทักษ์พระธรรมคำสอน อาจเป็นเทพ นาค คนธรรพ์ กินนร ยักษ์ ทั้งเพศชายและหญิง เรื่อยไปจนถึงภูตผีก็ได้ มีใจเคารพพระรัตนตรัย ยอมรับหน้าที่ที่จะดูแลคำสอน ธรรมสมบัติ ขับไล่ผีร้ายและอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติธรรม และช่วยเหลือผู้ปฏิบัติ
เราจึงมักได้ยินชื่อ หรือคำอธิบายประติมากรรมขอม – เขมร ภาษาอังกฤษว่า“ธรรมบาล” บ่อย ๆ
คติความเชื่อเรื่องพระธรรมบาลมีต้นกำเนิดในอินเดีย ภายหลังจึงเผยแพร่ไปถึงทิเบต จีน และอุษาคเนย์
เริ่มต้นจึงยกย่องเทพฮินดูเป็น “ธรรมบาล” ในศาสนาพุทธ
เมื่อพวก ขอม (เขมรโบราณ) รับความเชื่อพุทธศาสนามหายานก็ได้รับคติความเชื่อเกี่ยวกับธรรมบาลไว้ด้วย เมื่อพบเทวรูปพร้อมกับหลักฐานทางความเชื่อพุทธมหายาน แม้ไม่มั่นใจ “ชื่อ” เรียกเทวรูปองค์นั้น เพราะหลักฐานด้านพุทธมหายานในไทย – เขมร มีน้อย หากลักษณะเด่นของพระธรรมบาลไม่ชัดเจน ก็มักจะใช้ชื่อเรียกกว้าง ๆ ว่า “พระธรรมบาล” ส่วนที่ลักษณะเด่นชัดเจน เช่น พระเหวัชระ ก็จะมีชื่อเรียกชัดเจน
แต่ทางทิเบต จีน นั้น มีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับพระธรรมบาล ทางทิเบตซึ่งดั้งเดิมนับถือลัทธิผีมาก่อน จึงมีธรรมบาลประหลาด ๆ หลายองค์ ส่วนทางจีนนั้นมีหลักฐานเกี่ยวกับพระธรรมบาลชัดเจนว่าส่วนใหญ่มาจากเทพดาอินเดีย…
อ่านเรื่อง พระธรรมบาล ประติมากรรมขอม ฉบับเต็มได้ในนิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ ๙๕ เดือนมีนาคม ๒๕๖๓