มรดกวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน

ธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และวัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล ของศิลปไทยยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่าง ประเทศ ทำให้มีสีต่างๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและ ภาพลวดลายต่างๆ ปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ สถานที่ตั้งจิตรกรรมส่วน ใหญ่พบที่อุโบสถ ปรางค์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร กุฏิ ตู้พระธรรม สมุดข่อย และพระบฏ
“จิตรกรรมสมัยอยุธยาก็เช่นเดียวกับงานช่างแขนงอื่น ๆ ของช่างหลวงในสมัยอยุธยาที่ใช้จิตรกรรมเป็น เครื่องมือหรือสื่อที่สําคัญสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธศาสนา ช่างได้วาดไว้บนผนังพระ อุโบสถบ้าง พระวิหารบ้าง หรือบนสมุดภาพ สีของช่างในสมัยอยุธยาจะเป็นสีฝุ่นผสมกาวระบายเรียบ ตัดเส้นขอบ และรายละเอียดของภาพ การตัดเส้นแสดงความรู้สึกนึกคิดผ่านฝีมืออันชํานาญ และแม่นยํา เป็นที่ประจักษ์มา ก่อนแล้วในสมัยสุโขทัย ดังภาพลายเส้นที่จารลงบนแผ่นหินชนวนจํานวนหนึ่งจากวัดศรีชุด แต่น่าเสียดายที่งาน ระบายสีตัดเส้นในศิลปะสุโขทัยเหลือเพียงร่องรอยว่าได้วาดภาพเรื่องราวของอดีตพุทธเจ้าแลเรื่องพุทธประวัติบาง ตอน ดังนั้น วิธีการทางจิตรกรรมและแรงบันดาลใจจากเรื่องราวทางศาสนาของอยุธยาจึงเกี่ยวโยงกับศิลปะสุโขทัย มาก่อน โดยไม้ตองกล่าวถึงแรงบันดาลใจจากศิลปะอันสืบเนื่องจากวัฒนธรรมขอมซึ่งแทบไม่มีหรือไม่เหลือ แม้หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีความชํานาญหรือสันทัดในการงานช่างด้านนี้ ด้วยหลักฐานที่มีอยู่น้อยมากของ จิตรกรรมฝาผนังในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร และจิตรกรรมฝาผนังรุ่นหลังในเขมรเองก็เป็นงานจิตรกรรมที่มี อายุราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๒ และคงได้รับอิทธิพลไปจากงานจิตรกรรมสมัยอยุธยามากกว่า

………………..
มาถึงช่วงยุคกลางของอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในยุคนี้มีตัวอย่างเหลืออยู่น้อยมาก หลักฐานที่ระบายสีตัด เส้นบนแผ่นชิน เป็นภาพแถวพระสงฆ์สาวกในท่ายืนพนมมือ น่าเสียดายที่สีจางไปเกือบหมดแล้ว ภาพจิตรกรรม ฝาผนังคูหาเจดีย์บางแห่ง ศาสตราจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ ซึ่งเป็นช่างเขียนฝีมือเอกคนหนึ่ง ได้เคยคัดลอกไว้ก่อนจะลบเลือนเสียหายไปหมดแล้ว อย่างสภาพในปัจจุบัน งานที่ท่านคัดลอกไว้เก็บรักษาอยู่ที่หอศิลป์ หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กรมศิลปากร
………………..

ภาพเขียนบนสมุดไทย ที่วาดขึ้นในยุคกลางนี้ ยังไม่นิยมปิดทองประดับภาพ แต่ใช้สีสดใสกว่าเก่ามาก เรื่องราวที่เขียนนํามาจากวรรณคดีไตรภูมิ ซึ่งสะท้อน โลกทัศน์ของชาวพุทธเรื่องสัณฐานจักรวาล มักเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า สมุดภาพไตรภูมิ แต่ภาพพุทธประวัติและ ภาพชาดกก็วาดร่วมอยู่ด้วย การที่สมุดภาพเป็นแผ่นพับทบกันอย่างต่อเนื่อง เมื่อคลี่ออกดูได้คราวละสองหน้า เท่ากับเป็นเงื่อนไขของพื้นที่เขียนภาพ องค์ประกอบภาพ จึงแปลกไปจากภาพที่วาดประดับฝาผนัง
………………..
ในช่วงอยุธยายุคปลาย จิตรกรรมบนผนังอุโบสถของวัดในยุคนี้ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทบไม่เหลืออยู่แล้ว มีเพียงแห่งเดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ยังพอศึกษาได้บ้าง ที่ตําหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ เขียนขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ปัจจุบันวัดนี้มีภิกษุประจําอยู่ สภาพชํารุดของจิตรกรรมฝาผนังได้รับการ ซ่อมแซมเมื่อเกือบสายไปแล้ว ภาพชาดกเรื่องเตมียกุมารยังอยู่ในสภาพที่สามารถศึกษาได้ (ศิลปะอยุธยา ศ.สันติ เล็กสุขุม)
จิตรกรรมในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่ จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา โดยช่วงแรกจะได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบลพบุรี สุโขทัย และลังกาผสมผสานกัน บางภาพจะมีลักษณะแข็งและหนัก ใช้สีดำ ขาว และแดง มีการปิดทองบนภาพบ้างเล็กน้อย เช่น ภาพเขียนบนผนังในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ ซึ่งสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ภาพเขียนบนผนังในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์ เป็นต้น แต่ช่วงหลังจิตรกรรมสมัยอยุธยามักวาดภาพที่เกี่ยวกับไตรภูมิ และมีภาพพุทธประวัติประกอบอยู่ด้วย ซึ่งวิธีการเขียนภาพจะเป็นเช่นเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยที่นิยมใช้สีแดงเข้มเป็นพื้น แต่สมัยอยุธยาจะมีการใช้สีเพิ่มมากขึ้น อาทิ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี วัดใหม่ประชุมพล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2172–2199) จนสิ้นสุดสมัยอยุธยา จิตรกรรมของอยุธยา แสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยแท้อย่างสมบูรณ์ มีการปิดทองบนรูปและลวดลาย เนื้อเรื่องที่เขียนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพชุมนุม พุทธประวัติ ไตรภูมิ วิธีการเขียนยังคงใช้สีน้อย ภาพมีลักษณะแบน และตัดเส้นด้วยสีขาว และสีดำ