มรรควิธีวิทยา Methodology (3)

The Scientific Method

มรรควิธีวิทยา Methodology (3)
ทองแถม นาถจำนง

วิธีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์พัฒนาไปพร้อมกับความเจริญทางวิทยาศาสตร์

วิธีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ล้วนสัมพันธ์กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์พัฒนาไปถึงระดับไหน ก็จะมีมรรควิธีในระดับเดียวกัน มรรควิธีทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ล้วนบรรลุโดยอาศัยมรรควิธีที่แน่นอนจำนวนหนึ่ง ซึ่งมรรควิธีนั้น ๆ ก็อาศัยความรู้และทฤษฎีวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน

มรรควิธีแห่งวิทยาศาสตร์กับวิทยาศาสตร์แยกจากกันไม่ได้ วิทยาศาสตร์รวมเอาวิธีการไว้ด้วย มรรควิธีหา

วิทยาศาสตร์นั้นตัวมันเองก็เป็นวิทยาศาสตร์

การที่เราทำการทดลอง, สังเกต เป็นการใช้วิทยาศาสตร์

การถอดให้เป็นนามธรรม การสรุปถอด Abstract, การตัดสิน – พินิศจัย Judgement, การอนุมาน Inference, การสร้างสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ Hypothesis นั้นดำเนินไปบนพื้นฐานระดับทฤษฎีและความรับรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ขณะนั้น

การค้นพบหรือผลสำเร็จใด ๆ ที่ไม่สามารถบ่งชี้ระบุถึงมรรควิธีที่ทำให้ได้รับผลสำเร็จนั้น ๆ มา แทบไม่มีความหมายอะไรในทางวิทยาศาสตร์

มรรควิธีวิทยาศาสตร์พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความเจริญทางวิทยาศาสตร์

อธิบายได้ดังนี้

1. มรรควิธีวิทยาศาสตร์เป็นการรวบรวม สรุปบทเรียนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้น เราต้องดำเนินการสังเกต ทดลอง เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของเป้าปัญหา จากนั้นก็ต้องจัดระบบ จัดการกับข้อมูลเบื้องต้นเหล่านั้น แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาและสัญลักษณ์ เราทำการสรุปบทเรียนจากการสังเกต การทดลอง และการจัดการข้อมูล เมื่อสรุปออกมาก็จะได้วิธีการแบบต่าง ๆ ผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ล้วนให้บทเรียน (วิธีการ) ที่สำคัญในการได้รับผลสำเร็จ เช่น วิธีการสถิติ, วิธีการ Ideal Experiment ของไอน์สไตน์ เป็นต้น

2. ผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะทฤษฎีที่มีความหมายกว้างขวางนั้น ต่อ ๆ มาจะสามารถนำมาใช้เป็นวิธีการชี้นำมนุษย์เราดำเนินการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น กฎแรงดึงดูด ของ นิวตัน, ทฤษฎีวิวัฒนาการ ของ ดาร์วิน เป็นต้น

3. เมื่อมนุษย์รับรู้คุณสมบัติของสิ่งภาววิสัยแล้ว มนุษย์สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการค้นคว้าได้ เช่น ใช้ความรู้มาสร้างเครื่องมือการตรวจวัด, สร้างอุปกรณ์การทดลอง เป็นต้น

อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์นั้น ล้วนสร้างขึ้นจากความรับรู้ในกฏเกณฑ์และคุณสมบัติของสรรพสิ่งในธรรมชาติทั้งสิ้น

4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะต้องผ่านกระบวนการสร้างจินตภาพ, ดำเนินการพินิศจัย(ตัดสิน), และอนุมาน แล้วแสดงออกมาด้วยภาษา หรือสัญลักษณ์ (เช่น สมการคณิตศาสตร์) วิธีการทางตรรก เป็นการรวบรวม สรุป รูปแบบของกระบวนการการแสดงออกเหล่านี้

marxeng
คาร์ล มาร์กซ์ กับ เฮเกล

วิธีการทางตรรกกำเนิดขึ้นในกระบวนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์แยกไม่ออกจากทฤษฎีการขบคิดที่ถูกต้อง การค้นคว้ากฏเกณฑ์แห่งการขบคิดทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่นักคิดรุ่นก่อน เช่น อริสโตเติล, ฟรานซิส เบคอน ฯลฯ ได้สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ไว้ ในยุคใกล้ คาร์ล มาร์กซ และ เฟดเดริค เองเกลล์ เสนอความคิดวิภาษวิธี (สืบทอดจาก เฮเกล) ซึ่งได้เกิดบทบาทที่ใหญ่หลวง

ในยุคปัจจุบันมีสิ่ง และปรากฏการณ์ใหม่ ๆ มากมาย นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังค้นคว้ากฏเกณฑ์แห่งการขบคิดใหม่ ๆ ขึ้น

ภาพจาก: ck12.org, totalawake.com

อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (1)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา Methodology (2)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (4)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (5)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (6)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (7)
อ่าน: มรรควิธีวิทยา : วิภาษวิธี : Dialectical Methodology (8)

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com