ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”
ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”
เกิด 27 กุมภาพันธ์ 2508 จังหวัดชัยภูมิ
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 193 หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ 36140
อาชีพปัจจุบัน รับราชการครู สถานที่ทำงานโรงเรียนคอนสวรรค์
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี สาขาศิลปศึกษา ประสบการณ์สร้างงานศิลปกรรม 10 – 20 ปี
ประวัติการแสดงงาน (อดีต – ปัจจุบัน)
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ
- ร่วมแสดงงานนิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่ 9) ครั้งที่ 6 – ปัจจุบัน (พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน)
- ร่วมแสดงงานภาพวาดเหมือนจริงกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ ระดับประชาชนทั่วไป“กล้วยไม้ไทย ในความเป็นไทย ครั้งที่ 3” อุทยานกล้วยไม้ไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- ร่วมแสดงนิทรรศการ “ประเทศไทยสวยงาม” ระดับประชาชนทั่วไป บริษัท นานมี จำกัด
- ร่วมแสดงงานกลุ่มนา ครั้งที่ 2, 3
- ร่วมแสดงงานกลุ่มข้าวใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ร่วมแสดงงานการประกวดภาพจิตรกรรมหัวข้อ “การศึกษาไทย” สำนักงานเลขาธิการการศึกษา พ.ศ. 2553
- ร่วมแสดงงานภาพวาดเหมือนจริงกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ ระดับประชาชนทั่วไป “กล้วยไม้ไทย ในความเป็นไทย ครั้งที่ 8” อุทยานกล้วยไม้ไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เกียรติประวัติรางวัลที่ได้รับ
2552 ครูดีเด่นคุรุสภา สาขาครูศิลปะดีเด่น
2551 ครูผู้สอนดีเยี่ยมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สาขาการสร้างนวัตกรรมสาระการเรียนรู้ศิลปะ
2550 ชนะเลิศการวาดภาพ ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2549 ครูดีเด่น กลุ่มสาระวิชาศิลปะสาขาทัศนศิลป์ ช่วงชั้นที่ 4 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
2547 บุคลากรต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้สาขาศิลปะ ระดับคุณภาพ ดีเด่น
2544 – 45 ชนะเลิศการประกวดวาดภาพทุ่งดอกกระเจียว ประเภทประชาชนทั่วไปเนื่องในงานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวบานประจำปี 2544 และปี 2545
แนวคิด
ความรัก ความอบอุ่น การดำเนินชีวิตความรับผิดชอบในหน้าที่ของเด็กอีสานที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม ระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเอาตัวรอดในแต่ละวันจากรุ่นสู่รุ่นจากพ่อสู่ลูก วิถีชีวิตที่ดีงาม เรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันนั้นหาได้ยากเต็มที เพราะถูกแทรกแซงด้วยวัฒนธรรมสมัยใหม่ เด็กอีสานในทุกวันนี้ถูกสอนด้วยโทรทัศน์ โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต การดำเนินชีวิต วัฒนธรรม การละเล่น คำสอนต่าง ๆ นับวันจะถูกเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของลูกชาวนาคนอีสาน