อีสานโบราณรบน่านเจ้า : เหวินตัน (Wen Dan) มิใช่เวียงจันท์ แต่เป็นฟ้าแดดสงยาง !!

อีสานโบราณรบน่านเจ้า : เหวินตัน (Wen Dan) มิใช่เวียงจันท์ แต่เป็นฟ้าแดดสงยาง !!

เดิมเชื่อว่าเวียงจันท์โบราณคือเหวินตัน (Wentan) เมืองสำคัญร่วมสมัยทวารวดี แต่ John N, Miksic และ Geok Yian Coh (2017) แย้งว่าควรอยู่ที่อีสานบนเส้นทางค้ามากกว่า

ทัสสุโอะ โฮชิโน (Tatsuo Hoshino, 2002) ยืนยันว่าเหวินตันคือฟ้าแดดสงยาง เพราะมีหลักฐานมากกว่า !!!

1, เหวินตันคือรัฐอิสสระราชวงศ์ถังปกครองเวียดนามนาน ประชิดลาวเหนือและอีสาน จึงรู้เรื่องอีสานโบราณดี ประวัติราชวงศ์ถังฉบับใหม่ (พศ 1161-1450) ว่า เหวินตันเป็นรัฐอิสระ ส่งทูตไปให้จีนในช่วง คศ. 1199 – 1204, 1260, 1314, และสุดท้าย 1341

2 ช่วยจีนรบหนานเจาจีนตอนนั้นขัดแย้งกับหนานเจา/น่านเจ้า ต้องการคุมเส้นทางค้าและบ่อเกลือ แต่รบแพ้ใน พศ.1294 และ 1296 กษัตริย์เหวินตันจึงส่งราชบุตรและนายทัพ 26 คนไปจีน ว่าจะช่วยรบ ราชสำนักถังจึงอวยยศให้เป็น “ผู้บัญชาการหาญกล้า” (Charl Bacus 1981, Tatsuo Hoshino, 2002)

พอถึงปี 1297 แม่ทัพหลีมีนำทัพจากเสฉวน 7 หมื่น บุกหนานเจา ส่วนเหอลู่กวาง ข้าหลวงเวียดนามร่วมกับเหวินตัน ตีกระหนาบทางใต้ แต่เก๋อหลอเฟิ่ง (Ko-lo-feng) กษัตริย์หนานเจาจับหลีมี ได้ชัยชนะ กองทัพของเหวินตานจึงกลับบ้านไปในปีนี้ราชบุตรของกษัตริย์เหวินตานไปจีนในปี 1314 จีนตั้งให้เป็น “ผู้บัญชาการพิเศษสูงสุดประจำท้องถิ่น” เสมอด้วยกษัตริยน่านเจ้า สูงกว่าข้าหลวงจีนที่เวียดนามและกวางโจวเสียอีก (Charl Bacus 1981, Tatsuo Hoshino, 2002)

3. เหวินตันมิใช่เวียงจันท์ Tatsuo Hoshino (2002) ยืนยันตามประวัติราชวงศ์ถังฉบับใหม่น ว่าเหวินตันอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองฮวนโจว (Huanzhou) ซึ่งได้แก่เมืองวิงห์หรือฮาติงห์ในเวียดนามกลาง (เลขที่ 2 และ3 ในแผนที่ 1) เหวินตันจึงควรเป็นฟ้าแดดสงยางทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของฮวนโจว (หมายเลข 11 บนแผนที่รูป 1) มิใช่เวียงจันท์ที่อยู่ทางตะวันตกของฮวนโจว (หมายเลข 6 ในแผนที่) ประวัติราชวงศ์ถังเล่าว่า เดินจากฮวนโจวไปเหวินตัน ผ่านเทือกเขาและแม่น้ำ ราว 8 วันถึงฝั่งขวาแม่น้ำโขงอาจจะแถวนครพนม จากนั้นอีกราว 10 วัน ผ่านภูเขา (ภูพาน) และที่ราบ จะถึงเวียงชั้นนอกของเหวินตัน ส่วนวังกษัตริย์ตั้งอยู่ในเวียงชั้นใน ห่างออกไป 1 วัน (หวง ฮุ่นคุน 2531, Tatsuo Hoshino 2002) ปัจจุบันรถวิ่งจากนครพนม แค่ 3 ชั่วโมงก็ถึงเวียดนาม ไม่ใกลจากเมืองวิงห์และฮาติงห์ (รูป 2)

4. ฟ้าแดดและกันทรวิชัยเวียงชั้นนอกของเหวินตันได้แก่เมืองฟ้าแดดสงยาง กาฬสินทร์ กว้าง 1.35 ยาว 2 กม.ใหญ่กว่าเวียงเชียงใหม่ มีพระธาตุยาคู (รูป3) ที่ผาสุก อินทราวุธ (2542) ว่าชั้นฐานคือทวารวดีอีสาน ร่ำรวยเสมาหินสลัก ที่งามมากชื่อ พิมพาพิลาป (รูปสุดท้าย) สูงถึง 174 เมตร เป็นศูนย์กลางของทวารวดีอีสานบนแม่น้ำชี หลักฐานร่วมสมัยเหวินตันมากกว่าเวียงจันท์ ส่วนเวียงที่ตั้งวังหลวงคือเมืองกันทรวิชัย มหาสารคาม รูปทรงวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 กม. ใหญ่มิใช่น้อย (Tatsuo Hoshino 2002)

5. วาระสุดท้ายของเหวินตัน เหวินตันส่งทูตไปจีนครั้งสุดท้ายใน พศ 1341 คงเพราะว่าจากนั้นไม่นานราวพุทธศตวรรษที่ 15 เมืองพระนครขยายอิทธิพลถึงลุ่มน้ำมูน ชี เหวินตันจึงหายไปแต่อดีตเมือ’แห่งทวารวดีอีสานไม่ตาย เพราะอยู่บนเส้นทางการค้า ปราสาทหินจึงเกิดขึ้นต่อมาในทุกที่ !!!กชกร นันทพันธ์ 20 กพ. 2566

คำอธิบายรูป

รูปที่ 1. แผนที่ตั้งของเหวินตันวาดโดย Tatsuo Hoshino (2002)

รูปที่ 2. แผนที่ถนน หมายเลข 12 จากนครพนมถึงเวียดนามกลางได้

รูปที่ 3 เสมาหินสลักรูปพระพุทธเจ้าโปรดนางพิมพาจากที่เมืองฟ้าแดด


รูปที่ 4 ขุนศึกน่านเจ้าในจินตนาการของ Shuai Zhang

รูปที่ 5 ธาตุยาคูที่มีฐานเป็นทวารวดีอีสาน

อ้างอิง

1. หวง ฮุ่นคุน, การค้นคว้าเกี่ยวกับอาณาจักร สยาม-ไต โบราณ, รสสุคนธ์ ขันนะภา (แปล) , รวมบทความประวัติศาสตร์, กพ 2531

2. John N, Miksic และ Geok Yian Coh, Ancient Southeast Asia, R Routledge, 2017

3. Tatsuo Hoshino, Wen Dan and its neighbors: the central MeKong valley in the seventh and eighth centuries, in Breaking new ground in Lao history, edited by Mayoury Ngaosrivathana and Kennon Breazeale, Silkworm Books, 2002

4. Charles Backus, The Nanchao kingdom and Tang’ southwestern frontier, Cambridge University press 1981

ที่มา : https://www.facebook.com/groups/593238237489298/permalink/3167269350086161/?paipv=0&eav=AfYvlYAxfa7catEDG2zU5qrlwqd4UL0NVeHbKcFaeXd_Kv0P8BzaiCMTBt55NslRQao&_rdr

WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com