เส้นทางวัฒนธรรมคืออะไร [๒]
เรื่องของพระปาจิตและนางอรพิม เป็นเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆ กันมาในหมูชุ่มชนชาวอีสานและลาว ที่มีความโดดเด่นในด้านการเล่าเรื่องจากสถานที่ เป็นการบอกที่มาของภูมิศาสตร์และชื่อบ้านนามเมือง เช่นการบอกที่มาของชื่อภูเขาแม่นํ้า เนิน โคก ต้นไม้ ดอกไม้ ที่มีลักษณะแปลกรวมทั้งที่มาของชื่อหมู่บ้านว่ามีที่มาอย่างไร จึงเป็นที่มาของการจัดการรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภูมินามเหล่านี้ ให้เป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องกันจนกลายเป็นเส้นทางวัฒนธรรม
ปิดเล่ม
“บัวอาศัยเซิ่งน้ำปลาเพิ่งสังคม
ไพร่กับนายเพิ่งกันโดยด้าม
อันว่าเสือสางช้างกวางฟานอาศัยป่า
ป่าอาศัยสิ่งฮ้ายจึงหนาแน่นมืดมุง
เฮาอาศัยเพิ่งบ้านบ้านกะเพิ่งบุญเฮา
คันหากเฮาหนีเสียชิเกิดเป็นดงไม้
คันเฮาหนีไกลบ้านเฮือนชานชิเป็นป่า
บ้านชิเป็นเหล่าเฮื้อเครือเกี้ยวมืดมุง
เฮาอาศัยพวกพ้องน้องนุ่งสหายเกลอ
เขาก็อาศัยเฮาจึงเป็นเมืองบ้าน
คนหากอาศัยด้วยดอมคนเป็นหมู่
บ่มีใผอยู่ยั้งทอมท้อผู้เดียวได้แล้ว”
พุทธปรินิพพานในตำนานอุรังคธาตุ
เรื่องราวแห่งมหาวิปโยคของชาวพุทธ จากเหตุการณ์พุทธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อน ได้ถูกเรียบเรียงและบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เรียกว่า มหาปรินิพพานสูตร เป็นพระสูตรที่มีขนาดยาวจึงเรียกว่า ทีฆนิกาย
มงคลชีวิตที่หนองประจักษ์
ผมชอบเกาะกลางบึงนํ้าที่ออกแบบให้มีสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีสวนดอกไม้ สวนสุขภาพสนามเด็กเล่น แต่ที่สุดยอดคือเส้นทางเดิน วิ่ง และขี่จักรยานรอบบึงนํ้า ได้มาตรฐานยุโรปราวกับสวนสาธารณะริมทะเลสาบเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ จนรู้สึกอิจฉาชาวเมืองอุดรธานี นึกถึง “พุทธวจนะ” บทที่ว่า...การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็น ๑ ในมงคล ๑๐๘ ประการ