วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่มที่สอง [๕]
มุขปาฐะเรื่องปาจิต อรพิม นี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบโคลงในสมัยอยุธยา ตัวธรรมลาวปัญญาสชาดก แต่การบันทึกลายลักษณ์อักษรในฐานะ ตำนานเมืองพิมายนั้นเป็นการยืมโครงเรื่องของเรื่องเล่านิทานปรัมปราที่กลายเป็นชาดกนอกนิบาต และกลับกลายเป็นตำนานท้องถิ่น
กินข้าวป่า (๒)
กินข้าวป่าครั้งนี้ นอกจากต้มปลา ปิ้งกบแล้ว ผมสนใจเรื่องปูนา เพราะเพื่อนคนที่ชวนพวกเรามากินข้าวป่า เขาถนัดเรื่องทำอาหารจากปูนามาก เริ่มจากพวกเราลงลุยนํ้า จับปูใส่ถังนํ้ามีปูอ่อน ปูแก่ ตัวเล็กตัวโตเอาหมด ได้ปูเยอะพอสมควร เราก็มาแยกปูออกล้างนํ้าให้สะอาด ปูอ่อนยังตัวนิ่ม ๆ สีขาว ๆ ส่วนปูไข่ตัวโตกระดองใหญ่ไข่เต็มท้อง ปูตัวขนาดกลางกระดองยังแข็งมากนักก็นำมาทำ “ตำปู”
พื้นสืบ
“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”
ฤกษ์งาม ยามดี : โลกเก่าที่เล่าซํ้าบนโลกใหม่
การแสดงจุดยืนด้วยท้องถิ่นนิยมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอีสานปัจจุบัน เช่น การรณรงค์อาหารอีสาน การเที่ยวเมืองอีสาน การรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ตลอดถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาอีสาน
ภูมิใจ
พ่อเฒ่าสีโห ผัวแม่เฒ่าสีกา ไทบ้านท่ามะโก มีลูกเขยชื่อว่า ทิดโท “บักทิดโท” มันเป็นคนดี มีสัมมาคารวะ อยู่ในกรอบของฮีตเก่าคองหลังบ่คือพ่อเฒ่าสีโห ซึ่งมีนิสัยมักม่วน หยอกผู้สาวสํ่าน้อย เว้าเล่นแกมอีหลี จนผู้คนชาวบ้านคึดว่าเรื่องมาจากปากพ่อเฒ่าสีโหนั้นเป็นความจริงไปทั้งหมด! ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องไม่เป็นความจริงเหมือนที่แกว่าเลย