รฦก ๔๘ ปี “๑๔ ตุลา ๒๕๑๖”
เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนทุกสาขาอาชีพ นักเรียน นักศึกษา คนหนุ่มสาว นับหมื่นนับแสนออกจากบ้านไปร่วมส่วนการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายคนไม่ได้กลับบ้านอีกเลย บางคนกลับไปด้วยร่างกายพิการ บางคนกลับไปด้วยความรู้สึกใหม่ เหตุการณ์ ๑๔ - ๑๕ ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต ๗๑ คน บาดเจ็บ ๘๕๗ คน
อีสานแค้น
อีกาฮ้องกากา
อยู่เถียงนายามเที่ยง
แดดกะฮ้อนเปรี้ยงเปรี้ยง
ตะวันเกลี้ยงปานหมากแตง
ถ้อยแถลงของนายเจ้า
อีสานเฮาคือลาว
แสนสิสุดปวดร้าวยามมีคนมาลบหลู่
อีสานเฮากะฮู้บ่สู้ว่าจังได๋
เสียงเพลงของชาวนาเมื่อหน้าฝน
ฝนตกฝนตกจากฟ้า
ตกลงมาสู่ไร่สู่นา
แห้งแล้งจนแสนระอา
ตกลงมาอย่าช้าเร็วไว
# อหังการ์ของอีแร้ง
แก๊ว แก๊วโก่งคอร้อง
เสียงกึกก้องกระพือบิน
จ๊อก จ๊อกที่ได้ยิน
เสียงกระจอกร้องสู้ตาย
บทนำ ฉบับ “ฟ้าใหม่”
นักคิดนักเขียนที่มีความคิดก้าวหน้าคนหนึ่ง ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป คือผลิตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถ่ายความจัดเจนในทางสร้างสรรค์ที่ได้รับจากการต่อสู้ของชีวิต ทั้งในทางธรรมชาติและทางสังคม ทั้งนี้โดยสะท้อนถ่ายออกมาในแง่ความงาม แนบแน่นกับความเป็นจริง มีความตรึงตราและง่ายในระดับที่ประชาชนส่วนข้างมากสามารถชื่นชม และเข้าใจได้ อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลาที่มันถือกำเนิดขึ้นมา
กวี
สมัยโบราณ
คนชอบร้องเพลงเกี่ยวกับธรรมชาติ
หิมะและดอกไม้
ดวงจันทร์และสายลม
กลุ่มหมอก
ภูเขาและลำน้ำ
# ส ร ร พ สิ่ ง
ดาวโลกเมื่อเริ่มวิวัฒน์จนเกิดวัฏจักรขึ้นเป็นธรรมดาธรรมชาตินั้น จะงดงาม สุกสกาว สว่างไสวในเวิ้งจักรวาลปานใด