คณะหมอลําพันปีบ้านสาวะถี : สืบวิถีหมอลําทํานองขอนแก่น
หมอลําศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานที่ผสมผสานการร้องลํา การฟ้อน ประกอบดนตรีพื้นบ้าน เพื่อให้ผู้ชมสนุกสนานเพลิดเพลิน มีต้นกําเนิดจากการเล่านิทานพื้นบ้านให้ลูกหลานฟัง สู่การอ่านหนังสือธรรมจากใบลานเพื่อคบงันการอยู่กรรม (การคลอดลูก) งานศพ งานบุญ ประเพณีในชุมชน จากนั้นจึงเป็นการลําคนเดียว แสดงบทบาทตามเนื้อเรื่อง มีการนําแคนมาเป่าประกอบระหว่างการลํา สู่ยุคผู้แสดงชายจริงหญิงแท้ มีการสวมแต่งกายแบบลิเกในภาคกลาง จนถึงยุคการนํากลองชุดและเครื่องดนตรีสากล ประยุกต์เป็นวงลูกทุ่งหมอลํา และหมอลําซิ่ง ผสมผสานเป็นคอนเสิร์ตลูกทุ่งหมอลํามีชื่อเสียงในปัจจุบัน
หมู่บ้านสาวะถี ตําบลสาวะถี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นถิ่นกําเนิดหมอลําทํานองขอนแก่นชื่อดังหลายคณะสืบทอดศิลปะการแสดงหมอลําพื้นบ้านมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นถิ่นกําเนิดของหมอลําโสภา พลตรี หมอลําลูกชาวนาที่สอดแทรกแนวความคิดทางการเมืองและการกดขี่ของข้าราชการผ่านกลอนลําเป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป จนถูกจับกุมในข้อหากบฏผู้มีบุญและเสียชีวิตในปี ๒๔๘๕ ระหว่างถูกจองจํา
ภายใต้แนวความคิดการอนุรักษ์หมอลําทํานองขอนแก่นให้คงอยู่โดยการสนับสนุนของ พระครูบุญชยากร เจ้าอาวาสวัดไชยศรีบ้าน สาวะถีจึงได้จัดตั้งคณะหมอลําพันปีขึ้นเพื่อรับงานแสดงทั่วไปโดยการรวบรวมศิลปินหมอลํา ในท้องถิ่นที่เคยแสดงในหมอลําคณะต่าง ๆ เมื่อครั้งอดีตมารวมตัวอีกครั้งหนึ่งภายใต้ชื่อว่าคณะ หมอลําพันปีบ้านสาวะถี
นายเฉลิม มาวัน ผู้แสดงคณะหมอลำพันปี อดีตพระเอกคณะประสงค์ศิลป์ คณะแสงอรุณศิลป์ และคณะสมบุญยุคพัฒนา นายวิรัตน์ สอนศักดา ผู้จัดการวงคณะหมอลำพันปีบ้านสาวะถีนางสงวน แสงศรีเรือง ผู้แสดงคณะหมอลำพันปี แสดงเรื่องนางแตงอ่อนเป็นเรื่องแรก กับคณะหมอลำ ส.ประสงค์ศิลป์ นางพิไลวรรณ ช่วยศรี เริ่มต้นจากการเป็นหางเครื่อง สู่ตัวตัวประกอบ และนางเอกคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์อยู่ประมาณ ๒๐ ปี
นายวิรัตน์ สอนศักดา ผู้จัดการวงได้กล่าวถึงความเป็นมาของคณะหมอลําพันปีว่า ได้รับสนับสนุนจากพระครูบุญชยากร ซึ่งปัจจุบันทางวัดได้จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สําคัญ เช่น บุญข้าวจี่ บุญสงกรานต์ แหล่งเรียนรู้ฮูปแต้มวรรณกรรมสินไซ ภายในสิมวัดไชยศรี เมื่อมีการจัดงานประเพณีในแต่ละครั้งจึงได้รวบรวมหมอลําจากคณะต่าง ๆ จัดแสดงในงาน และรับงานทั่วไป
ปัจจุบันคณะหมอลําพันปัมีสมาชิกอยู่ ๔๐ คน แสดงหมอลําเรื่องทํานองขอนแก่นเรื่อง นาง นกกระจอกน้อย รับงานแสดงคืนละ ๒๐,๐๐๐ บาท จังหวัดราคา ๒๕,๐๐๐ บาท นอกจากนั้น ยังได้ฝึกซ้อมลูกหลานในท้องถิ่นเพื่อสืบทอด ศิลปะการแสดงหมอลําให้คงอยู่กับหมู่บ้าน สาวะถีตลอดไป
นางพิไลวรรณ ช่วยศรี อดีตนางเอก หมอลําคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ปัจจุบัน ร่วมแสดงในคณะหมอลําพันปี กล่าวว่าเริ่มต้นเข้าสู่วงการหมอลําด้วยการเป็นหางเครื่อง สู่การเป็นตัวประกอบเรื่องนางแตงอ่อนที่คณะแม่ประสงค์ศิลป์ จากนั้นจึงย้ายมาที่คณะสมบุญยุคพัฒนา ก่อนจะมาเป็นนางเอกคณะรัตนศิลป์ อินตาไทยราษฎร์ ได้ประมาณ ๒๐ ปี จนอายุ ๕๐ ปีจึงเลิกการแสดงมาอยู่กับครอบครัว ได้ให้ความ เห็นว่า หมอลําหมู่ หมอลําเรื่องต่อกลอนใน ปัจจุบันนั้นหมดยุคแล้วเหลือแต่การแสดง คอนเสิร์ตลูกทุ่ง สตริง สลับกับกลอนลําหรือเพลง ลูกทุ่งที่ได้รับความนิยม
นางสงวน แสงศรีเรือง ผู้แสดงคณะ หมอลําพันปีได้กล่าวว่า เริ่มหัดลํากับแม่ปั้น นาม เสาร์ ในระหว่าง ปี ๒๔๙๔ – ๒๔๙๘ โดยไปช่วย ทํานาพร้อมคาาเรียน ๒๕๐ บาท จากนั้นในปี ๒๕๐๑ จึงมาลําอยู่คณะ ส.ประสงค์ศิลป์ ของคุณ แม่ประสงค์ศิลป์ แสดงเรื่องนางแตงอ่อนเป็น เรื่องแรก การเดินทางไปแสดงในแต่ละครั้งต้อง เดินทางด้วยเท่า มีเวทีแบบง่าย ๆ ปูเสื่อ จุดไต้ กระบอง ๔ มุม จะมีผู้ชมจะนั่งอยู่รอบ ๆ มี อาจารย์หมอลํานุ่งผ้าโจงกระเบน ผ้าขาวม้าโพก ศีรษะ ร้องกลอนลําแสดงบทบาทเป็นตัวละคร ทั้งหมด มีหมอแคน ๑ คน มีนักแสดงประกอบ ๔ – ๕ คน ตนได้แสดงเรื่อยมาจนถึงปี ๒๕๑๑ – ๒๕๑๒ มีครอบครัวจึงได้ยุติการแสดง
นายเฉลิม มาวัน ผู้แสดงคณะหมอลําพันปี กล่าวว่าเริ่มหัดหมอลําเมื่ออายุ ๑๔ ปี กับหมอลํา แม้ประสงค์ศิลป์ หัดลําเรื่องจําปาสี่ต้นเป็นเรื่องแรกเริ่มเป็นพระเอกที่คณะประสงค์ศิลป์ คณะแสงอรุณศิลป์ และคณะสมบุญยุคพัฒนาเป็นคณะสุดท้าย มีประสบการณ์เป็นพระเอก พระ กุมาร มหาโจร พิธีการหน้าเวที และผู้ควบคุม เครื่องเสียงประจําวง
นายบุญมาก แสงศรีเรือง หมอแคนคณะหมอลําพันปีเริ่มหัดเป่าแคนครั้งแรกกับครูดุล เมื่ออายุ ๑๔ ปี เป่าแคนกับวงหมอลํากับคณะ แสนศรีเรืองของบิดา เมื่ออายุ ๑๖ ปี จากนั้นมา เป่าแคนกับคณะแสงอรุณศิลป์ คณะ ส.ประสงค์ ศิลป์ คณะระเบียบวาทศิลป์ และคณะอังคารแก้ววิเศษเป็นคณะสุดท้าย
อย่างไรก็ตามหมอลําคณะรัตนศิลป์อินตา ไทยราษฎร์ ถือเป็นคณะหมอลําที่มีชื่อเสียงโด่งดังในย่านนี้ มีถิ่นกําเนิดอยู่ที่ตําบลบ้านเป็ด อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีหมอลําอินตา บุญตา เป็นหัวหน้าคณะโดยใช้ชื่อคณะเสียงทองบันเทิงศิลป์อินตาไทยราษฎร์ ภายหลังหมอลําอินตา เสียชีวิต หมอลําบุญลือ – หมอลําชวาลา หาญสุริย์ ลูกศิษย์ได้สืบทอดคณะหมอลําต่อมาในปี ๒๕๐๒ โดยใช้ชื่อว่าคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์ มาจนถึงปัจจุบัน
คณะเสียงทองบันเทิงศิลป์อินตาไทยราษฎร์ โดยการนําของหมอลําอินตา บุญตา เมื่อครั้งอดีตมีลูกศิษย์ ที่เป็นหัวหน้าคณะหมอลําในยุคต่อมา เช่น หมอลําบุญเยี่ยม สมพืช แห่งคณะเทพประสิทธิ์ศิลป์ หมอลําอุษา แถววิชา แห่งคณะหนึ่งในสยาม อําเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และหมอลําบุญถม นามวันทา แห่งคณะประถม บันเทิงศิลป์ บ้านผือ ตําบลพระลับ อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ด้วยชั่วชีวิตนี้มีศิลปะการแสดงหมอลํา อยู่ในสายเลือดและจิตวิญญาณ เส้นทางการ เดินทางของชาวคณะหมอลําพันปีแห่งหมู่บ้านสาวะถี จึงยังคงยืนหยัดเพื่อสืบสานและอนุรักษ์ศิลปะการแสดงของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
คณะหมอลำพันปีบ้านสาวะถี ประกอบด้วยจากซ้าย นายเฉลิม มาวัน (หมอลำ) นางสงวน แสงศรีเรือง (หมอลำ) นายบุญมาก แสงศรีเรือง (หมอแคน) นายวิรัตน์ สอนศักดา (ผู้จัดการวง)คณะหมอลำพันปีบ้านสาวะถี ประกอบด้วยจากซ้าย นายเฉลิม มาวัน (หมอลำ) นางพิไลวรรณ ช่วยศรี (หมอลำ) นายบุญมาก แสนศรีเรือง (หมอแคน) นายวิรัตน์ สอนศักดา (ผู้จัดการวง)
ลีลาการร่ายรำของหมอแคน หมอลำ คณะหมอลำพันปียังคงอ่อนช้อย มีเสน่ห์เป็นที่ประทับใจทั้งท่วงทำนองและลีลา