ทำไมฝนจึงตกตามฤดูกาล

ทำไมฝนจึงตกตามฤดูกาล

กาลอันล่วงเลยมาจนไม่สามมารถกำหนดช่วงเวลา  กำหนดวัน  กำหนดเดือน  กำหนดปีที่เกิดเหตุการณ์ได้  และไม่สามารถที่จะกำหนดเป็นศตวรรษได้  โดยเริ่มต้นจากกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  มีอยู่สมัยหนึ่งพระอินทร์ (พญาแถน) ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งสิ่งทั้งมวลบนโลกภิภพ  อีกทั้งยังเป็นจอมเทพแห่งเทวโลก  มนุษย์โลก  และสัตว์โลกทั้งหลาย 

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  สมัยเมื่อสรรพสิ่งทั้งหลายมีมนุษย์  สัตว์  หินดินน้ำฟ้า  ป่าแดดทะเลฝน  ต่างสื่อสารระหว่างกันด้วยภาษาเดียวกัน  ต่างรู้เรื่องมีความเข้าใจซึ่งกันและกันไม่มีแบ่งชนชั้นวรรณะ  มีความสุขด้วยความเป็นอยู่อย่างเสมอกัน  ในขณะเดียวกันได้มีเมืองอยู่เมืองหนึ่ง  ตั้งอยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์  ที่เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ  นับว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ  เป็นเมืองศูนย์การค้า  โดยเฉพาะพืชพันธุ์ต่างๆ เนื้อสัตว์  เครื่องท่อผ้าชนิดต่างๆ รวมทั้งเป็นเมืองนักปราชญ์ราชบัณฑิต  ผู้คนในเมืองนี้ต่างก็พรั่งพร้อมด้วยคนดี  มีความสัตย์ซื่อถือคุณธรรม  เป็นที่หมายปองของผู้คนหลายๆ เมืองที่อยู่ในระแวกนี้  

เมืองนี้มีชื่อว่า อินทะปัตถนคร  ในเมืองนี้มีพญาผู้ปกครองที่ดี  เป็นที่เคารพรักของปวงชน  และมีคุณธรรม  มีชื่อว่า พญาเอกราช  ทรงปกครองเมืองนี้มาเป็นเวลาอันยาวนาน  ได้สืบทอดราชสมบัติมาจากพระราชบิดาผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรมเช่นกัน  พระองค์มีมเหสีพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า สีดา อยู่ด้วยกันมาจึงมีพระโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่า คันคาก หลังจากพระองค์ประสูติมา  พบว่ามีผิวพรรณขรุขระเหมือนดังผิวคางคก  พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามให้ว่า คันคาก  ผู้คนทั้งหลายก็รู้จักชื่อนี้นับตั้งครั้งนั้นเป็นต้นมา  แต่ในความไม่ดีก็ยังมีดีอยู่อย่างหนึ่ง กล่าวคือ มีสีผิวจะออกสีเหลืองเหมือนทองคำประมาณนั้น 

กาลเวลาผ่านไปเมื่อพระโอรสเจริญวัยขึ้น  พระราชบิดาได้ส่งไปศึกษาศิลปวิทยายังสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์  หลังจากจบการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางกลับมายังเมืองอินทะปัตถนคร  อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน  กาลต่อมาเมื่อพระโอรสมีอายุจะมีครอบครัวได้แล้ว  แต่พระโอรสเป็นคนช่างเลือกคู่ครอง  ถึงแม้ว่าตนเองจะมีรูปร่างหน้าตาไม่หล่อก็ตามที  พระโอรสได้ตั้งมาตรฐานผู้หญิงไว้สูงมาก  โดยส่วนตัวแล้วพระองค์ทรงชอบผู้หญิงที่มีความสวย  อยากได้หญิงสาวที่มีรูปโฉมงดงามมาเป็นภรรยา  แต่ด้วยว่าพระองค์มีรูปพรรณที่น่าเกลียดน่ากลัวเหมือนกับคางคก  จนเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วเมืองว่า “พระโอรสคันคาก” ด้วยพระองค์มีผิวพรรณเหมือนคางคกนั่นเอง  ด้วยเหตุผลเช่นนี้ จึงหาหญิงสาวที่มีความสวยงามอย่างว่า  มาชอบก็หายากมากเพราะหล่อนก็ชอบหนุ่มหล่อเช่นกัน  ต่อมาจึงขอให้พระบิดาแสวงหาช่วย  จะพยายามหาเท่าไหร่ก็ไม่มีก็ไม่ได้ 

อยู่มาวันหนึ่ง  เมื่อไม่สมหวังดังตั้งใจในที่สุดพระโอรสก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากตนเองมีบุญบารมีจริงแล้ว  ขอให้ได้หญิงผู้เลิศด้วยความงาม  ขอให้ได้ตามความประสงค์ด้วยเทอญ  เราจะไปสู่ขอมาเป็นภรรยาตามประเพณีเลย”  ด้วยเดชแห่งบุญญาบารมีของพระโอรสจึงร้อนไปถึงพระอินทร์ (พญาแถน) ที่อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  พระอินทร์ (พญาแถน) จึงเสด็จลงมายังเมืองมนุษย์  เมื่อตรวจดูแล้วจึงพบว่า พระโอรสแห่งเมืองอินทะปัตถนครอยากได้ภรรยาที่สวยที่สุด 

เมื่อพระอินทร์ (พญาแถน) ทรงทราบเช่นนี้แล้ว  พระองค์จึงได้เนรมิตปราสาทสามฤดูให้จำนวนสามหลัง  ตั้งไว้ใจกลางเมืองอินทะปัตถนคร  เพื่อให้เป็นที่ประทับอยู่อย่างสบายของพระโอรส  พร้อมทั้งได้นำนางอุดรกุรุทวีปผู้มีความงามมาเป็นเนื้อคู่มาไว้ในปราสาทดังกล่าวนี้  ซึ่งนางแก้วเทวีคนดีคนนี้เป็นผู้มีความสวยเหมือนกับนางฟ้า  แต่พระพระอินทร์ (พญาแถน) พิจารณาแล้วทรงเห็นว่า “พระโอรสคันคากมีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์มาก  ถ้ายังมีรูปลักษณ์เป็นอยู่เช่นนี้นางแก้วเทวีก็จะไม่ชอบเอาได้”  ต่อมาจึงเนรมิตให้พระโอรสเป็นหนุ่มที่มีรูปร่างหน้าดี  เพื่อให้ทั้งสองความหล่อสวยเสมอกันจะอยู่ด้วยกันได้อย่างเหมาะสม  จะไม่มีความรังเกลียดต่อกันในวันข้างหน้า  จะได้ครองรักกันในปราสาทนั้นอย่างเป็นปกติสุขดังคนทั่วๆ ไป  แล้วพระอินทร์ (พญาแถน) ให้พรกับคนทั้งสอง  พร้อมได้ทำพิธีอภิเษกสมรสพร้อมกับขึ้นครองเมืองอินทะปัตถนคร  อย่างที่พระองค์วางแผนเอาไว้ทุกประการ

          เมื่อข่าวสารการได้ปราสาทเป็นเรือนหอ  และได้ภรรยาผู้แสนสวยงามพร้อมของพระโอรส  แพร่ไปยังพระเจ้าอินทะปัตถนครเมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่องแล้ว  พระองค์ก็ทรงดีพระทัยอย่างมาก  ต่อมาจึงได้ยกราชสมบัติให้ครองเพิ่มอีก  ทั้งสองจึงได้อภิเษกครองเมืองสืบมา  เมื่อพญาคันคากครองเมืองมาช้านาน  ทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขมานานหลายปี  แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล  บ้านเมืองเกิดภาวะแห้งแล้งประชาชนอดอยาก  พืชพันธุ์ธัญญาหารก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ผู้คนและสัตว์ต่างๆ ได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า  ด้วยว่าพระอินทร์ (พญาแถน) ไม่พอใจมีความอิจฉาริษยาขึ้นในจิต  เพราะเห็นว่าพญาคันคากมีอิทธิฤทธิ์และมีบารมีมากกว่าตน  มีอคติจิตคิดว่าพญาคันคากเป็นคนที่ตนเองชุบเลี้ยงขึ้นมา  ให้ปราสาท  หาภรรยาให้  จึงเกรงว่าจะเป็นภัยต่อตนในอนาคต 

เมื่อพระอินทร์ (พญาแถน) คิดได้เช่นนี้แล้ว  จึงหาทางกลั่นแกล้งกำจัดกำลังพญาคันคาก  ด้วยเดชแห่งตนที่มีเหนือกว่ามนุษย์โลก  จึงไม่ให้ฝนตกลงมายังบนพื้นโลก  เมื่อฝนฟ้าไม่ตกลงมามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไม่มีน้ำอุปโภคบริโภค  จึงเกิดความเดือดร้อนไปทั่วพื้นพิภพโลก  เมื่อผู้คนและสัตว์ทั้งหลายอดอยากปากแห้ง  จึงก่อให้เกิดอาชญากรรมมากมาย  ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทั่วปฐพี  พญาคันคากจึงได้สั่งให้พญานาคและปลวก  ออกเดินทางไปสู้รบกับพญาแถนบนสวรรค์นั้น  โดยมีกองทัพสัตว์ต่างๆ เดินทางไปสู้รบด้วย เช่น กิ้งกือ  ตะขาบ  แมงป่อง เป็นต้น  ส่วนพญาคันคากได้พาบริวาร  อันมี  กบ  เขียด  งู  ผึ้ง  ต่อ  แตน  และหมู่สัตว์อื่นๆ ที่มีพิษเดินทางไปสู้รบด้วย 

การสู้รบกันในครั้งนี้ใช้เวลายาวนานพอสมควร  ในที่สุดพระอินทร์ (พญาแถน) แพ้ฤทธิ์ของพญาคันคากพร้อมกับคณะและบริวาร  เพราะการร่วมตัวกันของสรรพสิ่งบนโลกมนุษย์  ก่อให้เกิดฤทธานุภาพเหมือนพระอินทร์ (พญาแถน) ในการต่อสู้รบกันคราวนี้เป็นการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่มากของพญาคันคาก  มีชัยชนะเหนือพระอินทร์ (พญาแถน) ในครั้งนั้น  จึงทำให้พญาคันคากบังคับให้พระอินทร์ (พญาแถน) ส่งฝนให้ตกยังโลกมนุษย์  ในเวลาที่มนุษย์ต้องการน้ำทำการเกษตรปลูกข้าวกล้า  และต้องให้ตกตามฤดูกาลเมื่อถึงฤดฝนด้วย  โดยพระอินทร์ (พญาแถน) จะต้องไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น  นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาฝนฟ้าจึงตกลงมาตามฤดูกาล

          เมื่อพญาคันคากมีคำสั่งให้พระอินทร์ (พญาแถน) ปล่อยน้ำฝนให้ตกลงในเมืองอินทะปัตถนคร  แล้วเอาข้าวทิพย์เม็ดเท่าลูกมะพร้าว  จากเมืองของพระอินทร์ (พญาแถน) มาปลูกในเมืองมนุษย์ด้วย  เสร็จศึกคราวนั้นแล้วก็เลิกทัพกลับมาเมืองอินทะปัตถนครตามเดิม  นับตั้งแต่นั้นมาบ้านเมืองก็สมบูรณ์บริบูรณ์ดังเช่นแต่ก่อน  

ต่อมาชาวเมืองอินทะปัตถนครพากันเกียจคร้าน  เพราะมีความสุขสบายมากเกินไป  มิได้พากันทำยุ้งฉางไว้คอยรับข้าวทิพย์  รอแต่จะเอามีดฟันเม็ดข้าวแล้วเม็ดข้าวก็เล็กลงอยู่ต่อมาเมล็ดข้าวได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ  และมีวิวัฒนาการจนลดขนาดลงอย่างที่เห็นในกาลปัจจุบันนี้  (จึงมีคำสำนวนที่ว่า “ฤดูฝน”)  

ปรัชญาจากตำนานชาวอุษาคเนย์ปรัมปรา

          นิทานปรัชญาชาวบ้านปรัมปราเรื่องนี้  ได้เสนอแนวคิดเรื่องฝนฟ้าฤดูกาล  การที่ฝนจะตกลงมายังพื้นผิวโลกนั้นหากมองตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์  ก็คงมีความเห็นที่ขัดแย้งกับความเชื่อของคนสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง  แต่นั้นเป็นเพียงแนวความเชื่อของคนยุคก่อนและก่อนๆ โน้น  แต่การที่ฝนจะตกลงมามิใช่ว่าจะไม่เคยมีฝนตกมาด้วยอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลึกลับ  สิ่งที่เหนือกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ  สิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางธรรมชาตินี้เองที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะเข้าถึงและพิสูจน์ได้เลย  ดังนั้นก็ไม่ควรที่จะมองข้ามความเชื่อเหล่านี้ได้เลย

Related Posts

ก้อยไข่โพ๊ะ : แหย่ไข่มดแดงในป่า หาปลากั้งน้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ
พระธรรมบาล ประติมากรรมขอม
ปิดเล่ม
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com