By

ผศ.ดร.ไชยยง รุจจนเวท

สะบ้า เป็นได้มากกว่าของเล่น

ในวงสนทนาคํ่าคืนหนึ่ง เพื่อนที่มาด้วยกันจากในเมืองยื่นของสิ่งหนึ่งให้ดูแล้วถามว่า นี่ลูกอะไรเก็บมาจากพื้นดินเมื่อตอนเดินเที่ยวป่าตอนบ่าย ผมมองลูกกลมแบน สีนํ้าตาลอมแดง ขนาดกําได้ในฝ่ามือ แล้วตอบ อ๋อ เขาเรียกลูกสะบ้า ในป่าดิบชื้นนี่พบได้มาก แล้วรู้ไหมเมล็ดสะบ้านี่ เอาไปทําอะไรได้บ้าง

มะกอก ในความคิดคำนึง

มะกอก ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นชื่อต้นไม้ แต่ในหลายครั้งของการพูดคุยเรื่องมะกอก กลับพบว่า พูดกันคนละเรื่อง เพราะมะกอกของคุณกับมะกอกของผม อาจไม่ใช่มะกอกต้นเดียวกัน เพียงแค่ในสำนวน “มะกอกสามตะกร้า ปาไม่ถูก” ที่ได้ฟังติดหู ขึ้นใจ เป็นมะกอกชนิดไหน เพียงแค่นี้ ก็มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้แล้ว

ต้นไม้กลิ่นเหม็น

เคยไหมครับ ไปในป่า ในทุ่งนา แล้วได้กลิ่นแปลก ๆ ของต้นไม้ เหม็นบ้าง หอมบ้าง มีทั้งรู้จักและไม่รู้จัก พืชที่คนเรานิยมว่ามีกลิ่นหอม ก็ถูกนำมาปลูกมาเลี้ยง จนกลายเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน ส่วนที่คนบอกว่าเหม็น ก็มักถูกละเลยหรือถึงขั้นตัดฟันทำลายไปก็มี ลองมาดูต้นไม้กลิ่นเหม็นสักห้าอย่างเป็นไร

กะเป๊ก : หน่อไม้จากต้นข้าว

“กะเป๊ก” คืออะไร ถามคนส่วนใหญ่ไม่น่ามีใครรู้บางคนยังถามกลับว่า เป็นตัวอะไรหรือแต่ถ้าถามว่าแล้ว “หน่อไม้น้ำ” เล่าซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของกะเป๊ก บางคนบอกเคยได้ยินชื่อ และในบางคนนั้น อาจมีเพียงคนหรือสองคนที่รู้จัก และเคยกิน

ผักปลูกในสารละลาย…มุมมองจากธรรมชาติ

ผักปลูกในสารละลายหรือ... รู้จักสิ... เขาเรียก “ไฮโดรโปนิกส์” ใช่ไหม อร่อยดีนะ เดี๋ยวนี้ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ตามตลาดนัดก็ยังมี

กินสาหร่าย กินพลังงาน

เคยกินสาหร่ายไหมครับ ทําไมจะไม่เคยใส่ในแกงจืดไง ยำสาหร่ายแบบญี่ปุ่นก็อร่อยดีนะ ส่วนข้าวห่อสาหร่ายนั้นก็ไม่ใช่ของแปลกสำหรับคนไทยใน พ.ศ.นี้แล้ว อ้อ เห็นเขาว่าน้ำซุปแบบญี่ปุ่นก็ปรุงจากปลาแห้งกับสาหร่ายที่ชื่อ “คอมบุ”

กระดาษ ในยุค ๔.๐

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ กระดาษกองหนึ่งส่วนใหญ่เป็นจดหมายเวียนข่าวสารให้รับรู้ ยังมีเอกสารงานวิจัยทางขวามืออีกกองหนึ่ง ต้องอ่านให้เสร็จในสองสามวัน และนั่นถัดไป เป็นข้อสอบที่ออกเสร็จแล้ว รอการตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไปทำสำเนา กองกระดาษเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์นะหรือ มีไว้เพื่ออวดชาวโลกว่า เราก็ทันสมัยแล้วเราก็ใช้จริง ๆ ด้วย แต่ใช้ควบคู่ไปกับจดหมายเวียนที่เป็นกระดาษ

เรื่องข้าวที่เขา (ทองแถม) ไม่ได้เล่าให้ฟัง

คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักมานาน นานจนอดนึกไม่ได้ว่า ตอนยังไม่เป็นคนไทยก็คงกินข้าวเหมือนกัน กินจนติดเป็นนิสัย กินอาหารอื่นมากเท่าใดก็ไม่รู้สึกอิ่มเหมือนกินข้าว นอกจากรู้จักกินข้าวแล้ว ดูเหมือนว่าเรารู้เรื่องราวของข้าวที่กินทุกมื้อทุกวันน้อยเหลือเกิน รู้บ้างก็กระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ รู้จริงบ้างนิดหน่อย แต่ส่วนใหญ่รู้ไม่จริง

จันทน์เทศ ไม้ที่มีค่าควรเมือง

ไม้รู้จักจันทน์เทศหรือครับ ไม่แปลกอะไร คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักไม่เคยเห็น ไม่รู้ด้วยซํ้า ว่าเอาไปทําอะไร กลิ่นเป็นอย่างไรก็นึกไม่ออก ใครบางคนบอกก็อยู่ในเครื่องแกงมัสมั่นไง โธ่ ก็มีเครื่องเทศตั้งหลายอย่าง แยกกลิ่นไม่ได้หรอก

ผักดอง…ทําไมจึงดอง

เคยสงสัยไหมครับว่าผักสดก็มีออกถมไป ทำไมต้องกินผักดองตอบแบบไม่ต้องใช้อวัยวะระหว่างหูคิดก็ได้ว่า ก็มันอร่อยนะสิฝรั่งมีแตงดอง (pickled cucumber) กะหลํ่าปลีดอง (sauerkraut) เกาหลีมีกิมจิญี่ปุ่น จีน มีขิงดอง ผักกาดดอง มะเขือดอง เต้าเจี้ยว ฯลฯ เครื่องจิ้มของอินเดียที่เรียก ชัทนีย์ ก็เป็นผักผลไม้ดองแบบหนึ่ง ส่วนกับข้าวไทย ต้มจืด ผักกาดดอง แกงคั่วหน่อไม้ดอง (กับปูม้า หรือหอยแมลงภู่) ผักก็มีผักเสี้ยนดองจิ้มน้ำพริกกะปิ และอีกสารพัด พูดแล้วนํ้าลายไหล

ประวัติศาสตร์จากสาเกเชื่อม

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ สาเกเชื่อมถ้วยหนึ่ง ดู ๆ ไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรพิเศษ ของหวานโบราณถ้วยนี้ พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ในยุคที่ “คัพเค้ก” ครองเมือง สัปดาห์ก่อน ผมขับรถไปพักผ่อนที่ชายทะเลแถวเพชรบุรี แวะซื้อขนมริมทางติดมือมานิดหน่อย หนึ่งในนั้นคือสาเกเชื่อม ราคา ๓ ถุงร้อย ใส่ตู้เย็นไว้หลายวันแล้ว เพิ่งนึกได้ เลยแกะถุงเทใส่ถ้วย นั่งพิจารณาดูอยู่ ณ บัดนี้

ผงชูรสกับรสอูมามิ

ป้ายที่เขียนว่า “ร้านนี้ไม่ใช้ผงชูรส” อาจเป็นจุดขายของบางร้านอาหารในเมืองกรุง แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตอำเภอรอบนอกแล้วละก็ เขียนแบบนี้อาจขายไม่ได้เลย ในชนบททุกวันนี้ อาหารพื้นบ้านที่ปรุงโดยชาวบ้านแท้ ๆ ล้วนขาดผงชูรสไม่ได้ นี่เป็นเรื่องจริง

หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง

แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง

เขากินอะไรเป็นข้าวกัน

ในแต่ละมื้ออาหารปกติของคนทั่วโลก ต้องมีของกินที่เป็นหลักอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยแล้วของกินที่ว่านั้นคือ ข้าว แล้วคนชาติอื่นกินอะไร บางคนบอกฝรั่งกินขนมปัง แต่เอ คนแอฟริกากินอะไรเล่า ในยุคสมัยที่ร้านอาหารไม่ถูกจำกัดด้วยความเชื่อ

ยาพิษแสลงใจ

มนุษย์รู้จักยาพิษ และใช้มันเพื่อปลิดชีพตนเองหรือผู้อื่นมานานนับพันปี ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการฆาตกรรม ยาพิษมีข้อได้เปรียบคือ ไม่เปิดเผย ไม่ร้องเตือน และอาจไม่ทิ้งร่องรอย การประกอบยาพิษและการวางยาพิษ เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และรอคอยเวลาที่เหมาะสม แต่กว่าเหยื่อจะรู้ตัว ฆาตกรก็เผ่นหนีไปไหนต่อไหนแล้ว หรือไม่ก็แสร้งร้องไห้คร่ำครวญอยู่ข้างศพผู้ตายนั่นเอง
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com