By

วิวัฒน์ โรจนาวรรณ

สภาพอีสานเมื่อ ๘๐ ปีก่อน จากชีวิตและปาฐกถาของผู้แทนราษฎรรุ่นแรก

หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ จะเห็นด้วยกับความดีเด่นในภาพร่วม ตามที่ ผศ.ดร.สมเกียรติได้ กล่าวไว้ นับเป็นครั้งแรกที่ “ผู้แทนราษฎร” ของจังหวัดต่าง ๆ ได้สะท้อนคติและความสำนึกที่ตนมีต่อท้องถิ่นของตน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ ที่เป็นรัฐเดี่ยวออกมาอย่างกระตือรือร้นและมีความหวัง ในส่วนของผู้แทนราษฎรของภาคอีสานชุดแรก ๑๙ คนนี้ ส่วนใหญ่ได้เป็นผู้แทนราษฎรครั้งนี้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นรายของ นายเลียง ไชยกาล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทองม้วน อัตถากร และขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ ในจำนวนผู้แทนราษฎรชุดแรกและชุดต่อ ๆ มาจนถึงปีที่เกิด “รัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” นี้ มีผู้แทนราษฎรอีสานหลาย ๆ คน ที่อุทิศชีวิตให้กับงานการเมืองอย่างน่าประทับใจ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ทางอีศาน 13: “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก เกิดขึ้นจากการสะสมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านส่วนตัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยการขอบริจาค ขอซื้อ รวมทั้งขอแลกเปลี่ยนจากชาวบ้าน ในเขตอำเภอลำปลายมาศแล้วขยายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ตามโอกาสที่มี โดยใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบสะสมแต่อย่างใด เมื่อเห็นว่ามีเครื่องมือเครื่องใช้พอสมควร สามารถจัดแยกหมวดหมู่ จึงได้เปิดให้ผู้อื่นมาชื่นชมได้”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com