ฮูปแต้มวัดไชยศรี บ้านสาวะถี
วัดไชยศรีตั้งอยู่บ้านสาวะถี หมู่ที่ ๘ ตำบลสาวะถีอําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สร้างโดยชาวบ้านสาวะถีเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๘ เรียกกันว่า “วัดใต้” พระอุโบสถเดิมเป็นสิมแบบพื้นบ้านอีสาน บูรณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมภาคกลางเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ แต่ยังรักษาฮูปแต้มเดิมไว้ได้บางส่วน
ฮูปแต้มวัดโพธาราม นาดูน
ฮูปแต้มวัดโพธารามเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวใช้สีของผนังสิมเป็นสีพื้น สีที่ใช้มีสีน้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง แดง ดํา และขาว วรรณะสีโดยรวมแล้วเป็นสีเย็น ภาพที่ต้องการเน้นให้สะดุดตา จะเขียนสีตรงกันข้ามติดกัน เช่น สีครามตัดเส้นด้วยสีนํ้าตาล ส้ม และดํา เป็นต้น
ฮูปแต้มวัดจักรวาฬภูมินิมิต
สิมวัดจักรวาลภูมินิมิต มีลักษณะทางศิลปกรรมเป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ หน้าบันหรือรังผึ้งมีลวดลายแกะสลักไม้ภายนอกมี “ฮูปแต้ม” เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ภาพขุมนรก และภาพพระพุทธองค์ขณะปลงพระเกศา มีพระอินทร์มารับนําไปประดิษฐานยังเจดีย์จุฬามณี
ฮูปแต้มวัดไชยศรี
สิมมีฮูปแต้มรอบฝาผนังทั้งด้านนอกด้านใน วาดโดยช่างชาวบ้านชื่อนาย “ทอง ทิพย์ชา” คนอําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยพระอธิการอ่อนสา กําหนดเรื่องให้เขียน
ฮูปแต้มวัดขอนแก่นเหนือ
จิตรกรรมฝาผนังในภาคอีสาน เรียกว่า “ฮูปแต้ม” มักวาด (แต้ม) ไว้ในโบสถ์ ชาวอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” คําว่าสิมมาจากคําว่า สีมาหรือเสมา สิมมีหลายแบบแต่ที่หลงเหลือให้เห็นในอีสานส่วนใหญ่ เป็นสิมที่ก่อด้วยอิฐดิบหรืออิฐเผาฉาบปูนมีสิมโถงหรือสิมโปร่ง (อายุประมาณ ๒๐๐ - ๒๕๐ ปี) และสิมก่อผนังหรือสิมทึบ (อายุ ประมาณ ๑๐๐ - ๒๐๐ ปี)
ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย
“รูปกาก” วัดนี้มีคุณค่ามาก เพราะเป็นภาพวิถีชีวิตชาวบ้าน แสดงถึงประเพณี พิธีกรรม และการแต่งกายของคนพื้นบ้าน เช่น ภาพกองทัพสยาม เป็นภาพทหารเดินเรียงแถว ถือหอก แต่งกายด้วยชุดมีสีสันสดใส ตัดผมสั้นแบบทหารราชสํานักสยาม ข้างแถวทหารเป็นภาพหญิงชาวบ้านแต่งกายแบบลาว คือเกล้ามวย ห่มผ้าเบี่ยงสีสันสดใส นุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้าลายทางต่อหัวต่อตีน
ฮูปแต้มวัดมหาธาตุ อำเภอเชียงคาน
วัดมหาธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่บ้านเชียงคาน (บ้านท่านาจันทร์เดิม) ประวัติการก่อสร้างไม่ชัดเจนทราบเพียงว่า พญาศรีอรรคฮาด จากหลวงพระบาง ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำโขง แล้วสร้างวัดมหาธาตุขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๗ ต่อมามีการสร้างวัดใหญ่ (วัดศรีคูณเมือง) ขึ้นทางเหนือของวัดมหาธาตุ
ฮูปแต้ม วัดกลางมิ่งเมือง ร้อยเอ็ด
ชื่อวัดกลางมิ่งเมือง บ่งบอกถึงความสำคัญอยู่แล้ว คือเป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง ตามประวัติวัดนี้เดิมชื่อ “วัดกลาง” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๘ สมัยที่พระยาขัตติยะวงศา (ท้าวทน) เป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีสิมขนาดใหญ่เก่าแก่ เขียนฮูปแต้มทั้งผนังด้านในและด้านนอก