ฮูปแต้มวัดขอนแกนเหนือ

ภาพเทพชุมนุมในวงกลม ด้านล่างมีตัวอักษรไทน้อย เขียนบอกปีการสร้างและผู้สร้างฮูปแต้ม

จิตรกรรมฝาผนังเป็นงานศิลปกรรมที่มีคุณค่าบ่งบอกความเป็นมาของสังคมวัฒนธรรมไทยผ่านภาพเขียน

จิตรกรรมฝาผนังของแต่ละภาค ต่างก็มีอัตลักษณ์ของภาคและสื่อแสดงถึงวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละภาค

จิตรกรรมฝาผนังในภาคอีสาน เรียกว่า “ฮูปแต้ม” มักวาด (แต้ม) ไว้ในโบสถ์ ชาวอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” คําว่าสิมมาจากคําว่า สีมาหรือเสมา สิมมีหลายแบบแต่ที่หลงเหลือให้เห็นในอีสานส่วนใหญ่ เป็นสิมที่ก่อด้วยอิฐดิบหรืออิฐเผาฉาบปูนมีสิมโถงหรือสิมโปร่ง  (อายุประมาณ ๒๐๐ – ๒๕๐ ปี) และสิมก่อผนังหรือสิมทึบ (อายุ ประมาณ ๑๐๐ – ๒๐๐ ปี)

ส่วนฮูปแต้มมักอยู่ด้านนอกและด้านในสิมช่างแต้มจะบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน เรื่องราวที่วาด (แต้ม) นิยมเรื่องพุทธประวัติชาดกต่าง ๆ และวรรณคดีสําคัญ เช่น เรื่อง สินไซ เป็นต้น

คอลัมน์นี้จะสรรหาฮูปแต้ม ที่เป็นมรดกลํ้าค่ามาเสนอเป็นประจําทุกเดือน

เดือนนี้ขอแนะนําฮูปแต้มสิมวัดขอนแก่นเหนือ วาด (แต้ม) โดย ซาทิพรส เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘

วัดขอนแก่นเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านขอนแก่นเหนือ หมู่ที่ ๓ ตําบลขอนแก่น อําเภอเมืองฯ จังหวัดร้อยเอ็ด

หนังสือ “หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมอีสาน ฉบับเพิ่มเติม เล่ม ๑” แนะนําไว้ว่า

“ฮูปแต้มวัดขอนแก่นเหนือ เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ โดย ซาทิพรส ชาวเมืองสารคาม เป็นช่างแต้ม เขียนอยู่บริเวณผนังสกัดหน้าด้านนอกของสิม ตัวภาพโดยรวมอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีบางส่วนที่ลบเลือนไปบ้าง เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติตอนมารผจญ ตอนออกมาหาภิเนษกรมณ์ และสอดแทรกภาพวิถีชีวิตการทํามาหากินของชาวบ้าน

สีที่ใช้ในการเขียนภาพ ใช้สีของผนังเป็นสีพื้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสีขาวนวล เพื่อช่วยกระจายแสงทําให้ภาพเด่นชัดขึ้น สีที่ใช้ในการเขียนภาพของวัดขอนแก่นเหนือจะเน้นหนักไปทางสีนํ้าเงิน คราม เขียว แดง ขาว และดํา การใช้สีส่วนใหญ่ จะไม่ใช้สีฉูดฉาด เทคนิคการใช้สีนั้นช่างแต้มได้ใช้ความรู้สึกนึกคิดของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่คำนึงถึงทฤษฎี และการผสมผสานของสีตามกฎเกณฑ์ทางศิลปะ จึงเป็นเอกลักษณ์ของฮูปแต้มอีสาน” (หน้า ๑๓ – ๑๑๔ ลักขณา จินดาวงษ์ เรียบเรียง)

* รูปทั้งหมดจากหนังสือ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน (ฉบับเพิ่มเติม) เล่ม ๑

(ซ้าย) ภาพธิดาพญามารยั่วยวนพระพุทธเจ้า ช่างแต้มเลือกเอาตอนที่ธิดาพญามารแสดงนฤมิตอัตตภาพเป็นหญิง ปัจฉิมวัย (ขวา) นายฉันนะหาบเครื่องทรงของเจ้าชายสิทธัตถะกลับวัง ด้านล่างแทรกภาพวิถีชีวิตชาวบ้าน

***

คอลัมน์ ฮูปแต้มอีศาน นิตยสารทางอีศาน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๗ | มีนาคม ๒๕๕๙

.
ราคาเล่มละ ๑๐๐ บาท
สมัครสมาชิก ครึ่งปี ๖๐๐ บาท
หนึ่งปี ๑,๑๐๐ บาท
ตลอดชีพ ๙,๕๐๐ บาท (ได้รับหนังสือย้อนหลัง)
.
สั่งซื้อ// ชำระเงิน // สอบถามเพิ่มเติม ได้ทาง
inbox หนังสืออีศาน m.me/166200246799901
line id : @chonniyom (มี@) คลิก https://lin.ee/amxqtvW
อีบุค ที่ www.mebmarket.com


โทร. 086-378-2516
บริษัท ทางอีศาน จำกัด
244/539 รามอินทราซอย 5 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. 10220

Related Posts

ปัญจอันตรธาน : สาระสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในงานบุญผะเหวด
จากใบชาถึงใบเมี่ยง
เส้นทางวัฒนธรรมคืออะไร [๒]
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com