โลกหลังประชาธิปไตย (6)
รัฐชาติโมเดลของยาร์วินและไทยในสายตาของเขา ตามวิสัยทัศน์ของยาร์วิน มีบางประเทศที่ใกล้เคียงกับโมเดลของเขา
โลกหลังประชาธิปไตย (5)
แนวคิด “ราชาธิปไตยเทคโน” ของยาร์วิน มองเห็นสังคมที่ปกครองโดยอำนาจส่วนกลางหรือ “ซีอีโอ” ซึ่งมีอำนาจเกือบสมบูรณ์แบบ โดยอุดมคติคือการดำเนินงานด้วยประสิทธิภาพและความมีเหตุผลเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน โมเดลนี้ให้คุณค่ากับการรวมศูนย์อำนาจอย่างเข้มแข็ง การขจัดความไม่มีประสิทธิภาพของระบบประชาธิปไตย และชนชั้นนำที่มีความสามารถสูงซึ่งตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
โลกหลังประชาธิปไตย (4)
เคอร์ติส ยาร์วิน เป็นนักทฤษฎีการเมืองที่เกี่ยวข้องกับขบวนการ “เรืองปัญญามืด” (Dark Enlightenment) นั้น เสนอแนวคิดที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับรูปแบบการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เขาเรียกว่า “ ราชาธิปไตยเทคโน” หรือ "Neo-cameralism” ซึ่งเป็น “การปกครองโดยผู้นำอำนาจเด็ดขาดเหมือนกษัตริย์” ที่ดำเนินการเหมือนซีอีโอบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูง เขามีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบนี้ดังนี้
โลกหลังประชาธิปไตย (3)
แนวคิดของยาร์วินกับมักเกียเวลลีมีอะไรหลายอย่างที่คล้ายและแตกต่างกัน ขบวนการ “เรืองปัญญามืด” และแนวคิดเรื่อง “ราชธิปไตยเทคโน” ของยาร์วินเน้นการวิจารณ์ประชาธิปไตยและเสนอระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งคล้ายกับการบริหารบริษัทเทคโนโลยี แนวคิดเหล่านี้สามารถเปรียบเทียบกับผลงานทางการเมืองคลาสสิกของมักเกียเวลลี อย่าง “เจ้าผู้ปกครอง” (The Prince) ดังนี้
โลกหลังประชาธิปไตย (2)
“ราชาปราชญ์” ของเพลโต กับ “ราชาธิปไตยเทคโน” ของยาร์วิน มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ก็มีความแตกต่างในพื้นฐานปรัชญา วิธีการ และเป้าหมาย ที่อาจอธิบายได้ดังนี้
โลกหลังประชาธิปไตย (1)
ปัจจัยหลักคือเงินกับเทคโนโลยีหมายเหตุ : บทความยาว 6 ตอน ที่จะโพสท์ต่อเนื่อง อยากทำความเข้าใจกับโลกวันนี้ เริ่มจาก “ปรากฏการณ์อเมริกา” และขบวนการขวาจัดทั่วโลกที่กำลังกลับมา ด้วยการศึกษาแนวคิดของ Curtis Yarvin “ประกาศก” (prophet) ยุคใหม่ของการเมืองโลก.
โลกยุคใหม่ชื่อยุคกราฟีน
โลกผ่านไปแล้วหลายยุค คือ ยุคหิน ยุคสำริด ยุคเหล็ก มาถึงยุคพลาสติกและน้ำมัน ยุคปัจจุบันที่เรียกกันว่ายุคซิลิคอน และกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่ได้ชื่อว่า ยุคกราฟีน ที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้น แต่นี่คือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๔ ท่าแร่
พ่อคิดว่า งานวัฒนธรรมควรให้ผลทางจิตใจแก่ชุมชน แก่คนที่ไปเยือนมากกว่าเพื่อแสดงความอลังการของงานที่อ้างงว่าเป็นศิลปวัฒนธรรม ก็ดูแต่การจัดการแห่ดาวก็ให้คนเดินตามรถที่ประดับประดาด้วยดาวและดอกไม้ ปีหนึ่งเห็นมีหญิงสาวแต่งตัวสวยงามนั่งมาคนเดียว คล้ายกับขบวนแห่ในงานบุพชาติ งานสงกรานต์
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๓ ท่าแร่
ภาษา คำพูด มีอำนาจ กำหนดภาพลักษณ์ คุณค่า ความหมาย เมื่อได้ยินคำว่า “ท่าแร่” คนมักคิดถึงเนื้อสุนัข เหมือนคนเยอรมันสมัยก่อนที่พูดคำว่า “สาวไทย” (Thai Maedchen) ก็คิดถึงหญิงบริการ เพราะภาพลักษณ์เป็นเช่นนั้น หรือวันนี้คำว่า “หมอนวด” คนยังคิดถึงหญิงบริการในที่ “อาบ อบ นวด” แม้ว่ามีคนนวดแผนโบราณที่ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั่วไปในสังคม
#บันทึกชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๒ ท่าแร่
ฉบับที่แล้วเล่าไปไกลเพราะล้วนเกี่ยวพันกันไปหมด คณะมิซซังต่างประเทศกรุงปารีสประจำอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและภาคกลาง เมื่อปี 1881 ได้เดินทางไปอีสาน ขี่ม้าไปถึงโคราช แล้วนั่งเรือล่องแม่น้ำมูลไปถึงอุบลฯ ปี 1883 ล่องแม่น้ำโขงขึ้นไปถึงนครพนม แล้วต่อมาไปที่สกลนคร เพราะได้ข่าวว่ามีคนเวียดนามที่เป็นคริสต์จำนวนหนึ่งขอให้ไปตั้งวัดที่นั่น
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๑ ญาติพี่น้อง
จดหมายฉบับที่แล้ว พ่อพูดถึงรากเหง้ากับคีรีวง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกันมาก อยากเล่าให้ฟังเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการเข้าใจว่า ทำไมพ่อจึงอยากเขียนถึงท่าแร่ บ้านเกิดของพ่อ
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๑๐ ญาติพี่น้อง
พูดถึงญาติทางปู่จำนงค์ไปแล้ว ทางด้านของย่าคำปุนนั้น ญาติพี่น้องของทวดหนูนาที่สกลนครมีมากก็จริง แต่เราก็ไม่ได้สนิทกับใคร เพราะไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือติดต่อกันมาตั้งแต่ต้น เคยมี พล.ต.ต.ชาติชาย อุปพงษ์เท่านั้น เพราะนามสกุลอุปพงษ์กับศรีวรกุลเป็นลูกหลานเจ้าเมืองสกลนครเหมือนกัน
#บทเรียนชีวิต (บทที่ ๒) ฉบับที่ ๙ ญาติพี่น้อง
ปู่มาเมืองไทยอายุ 8 ขวบ ได้นามสกุล “พงค์พิศ” เมื่อไร อย่างไร พ่อก็ลืมถามปู่ รู้แต่ว่าท่านเป็นต้นตระกูล น้องของปู่ทุกคนพร้อมลูกหลานจึงใช้นามสกุลเดียวกันนี้ เขียนต่างกันบ้าง ไม่เป็นไร ขอให้ใช้ตามที่เขียนในบัตรประชาชนของตนก็แล้วกัน ดั้งเดิมจริงๆ พงค์ ใช้ ค์ ไม่ใช่ ศ์ หรือ ษ์ ไม่ทราบแปลว่าอะไร
#บันทึกชีวิต (๘) “แม่”
พ่อขอเงินย่าหนึ่งสลึงไปซื้อดินสอ ย่าไม่ให้ แต่เมื่อขอไปให้คนขอทาน โดยเฉพาะวนิพกพเนจร ที่มาเป่าแคน เล่นพิณ เล่นกะจับปี่หน้าบ้าน ย่าจะให้เสมอ แต่พ่อไม่ให้เขาทันที จะเดินตามเขาไป ฟังเขาเล่นหน้าบ้านโน้นบ้านนี้จนสุดหมู่บ้าน จึงให้ตังค์เขา แล้วเดินกลับบ้าน เบิกบานอิ่มใจในเสียงดนตรี
#บันทึกชีวิต (๗) “แม่”
ปู่ย่ามีลูก 14 คน เสียชีวิตตอนคลอดและตอนยังเด็ก 3 คน ย่าเลี้ยงลูกจนโต 11 คน บอกว่ารักลูกทุกคนเท่ากัน และย่าก็พยายามแสดงออกเช่นนั้น แม้เป็นธรรมดามนุษย์ ที่ในใจท่านคงรักหรือเป็นห่วงบางคนบางกว่าคนอื่น