ปิดเล่ม ทางอีศาน 23
ในวินาทีเดียวกัน ในนาทีเดียวกัน คนไทยกำลังเสพสื่อต่าง ๆ นานา แตกต่างกันมากมาย อย่างที่เรียกได้ว่า “คนละทีป” ถ้าจดจ้องจอโทรทัศน์ บ้านที่มิได้ติดเคเบิ้ลทีวีหรือไม่ติดจานดาวเทียม ก็อาจจะกำลังจดจ้องโทรทัศน์สาธารณะห้าหกช่อง บ้านที่ติดเคเบิ้ลทีวีหรือจานดาวเทียม ก็เลือกจดจ้องได้เกินกว่าห้าสิบช่อง บางช่องก็มีแต่ “ผี” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็ “ตี” กัน “เตะ” กัน ฯลฯ (ช่องกีฬา) ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็เป็น “จีน” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็เป็น “แขก” เป็น “ฝรั่ง” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
“หมอลำหลวง” เมืองอุบลฯ
มีด้วยหรือ “หมอลำหลวง” ?
มีซิ ทำไมละ ในเมื่อ “โหรหลวง” หรือหมอดูหลวงยังมีเลย
แต่ “หมอลำหลวง” มีในอดีตสมัยรัชกาลที่ ๕ โน่น
ฝังข้าไว้ที่เถียงนา
น้องเอยน้องเพียงฟังเสียงจากหัวใจพี่
หวาดไหวฤดีอ่อนล้าทรมาน
พี่จากนามาห่างไกลนิวาสถาน
สุดเส้นแล้วต้องซมซานกลับคืนพื้นถิ่นเฮา
ย้อนอดีตโรคระบาดในไทย
ย้อนเหตุโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยในอดีต และการรับมือในแต่ละครั้ง เรื่องราวเหล่านี้ให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง
ภารตนิยาย : ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา แปล ตัด ต่อ แต่ง เติม จากคัมภีร์ภาษาสันสกฤต ปรากฤต และทมิฬ
ภารตนิยาย : ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา แปล ตัด ต่อ แต่ง เติม จากคัมภีร์ภาษาสันสกฤต ปรากฤต และทมิฬ โดยเริ่มตั้งแต่เรื่องต่างๆในคัมภีร์พระเวทตั้งแต่ ๔๐๐๐ ปี เรื่อยมาจนถึง มหากาพย์รามายณะ มหากาพย์มหาภารตะ และคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ๑๘ คัมภีร์ ซึ่งเล่มสุดท้ายเขียนขึ้นเมื่อ ๑๐๐๐ กว่าปีนี่เอง
ยุทธศักดิ์ ลุมไธสงค์ “ศิลปินลูกอีสานผู้เรียบง่าย และรักธรรมชาติ”
ความรัก ความอบอุ่น การดำเนินชีวิตความรับผิดชอบในหน้าที่ของเด็กอีสานที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรม ระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเอาตัวรอดในแต่ละวันจากรุ่นสู่รุ่นจากพ่อสู่ลูก วิถีชีวิตที่ดีงาม เรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันนั้นหาได้ยากเต็มที
คำโตงโตย
สุกอยู่บนต้นบ่ปานฝานหัวบ่ม
เพิ่นบ่มให้บ่ปานเจ้าบ่มเอา
เย็นนี้เรามีนัด
20.15 - 22.15 น. รับชมไลฟ์สดจาก
🎶หมาเก้าหาง🎶
" ดนตรีร้องลำ ในความทรงจำ
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ " ในช่วงยุคประมาณปี พ.ศ. 2553 - 2556
ขอบพระคุณ พี่อาทิตย์ บำรุงเอื้อ พี่ปรีดา ข้าวบ่อ และทีมงานหมาเก้าหาง แวะมาเยี่ยมยาม
ขอบพระคุณ พี่อาทิตย์ บำรุงเอื้อ พี่ปรีดา ข้าวบ่อ และทีมงานหมาเก้าหาง แวะมาเยี่ยมยามพร้อมกับคำแนะนำในการขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรมอีสาน เดินทางเดียวกัน ไปด้วยกัน ครับ สนใจหนังสือหนังสือมีชีวิต ของสำนักพิมพ์ชนนิยม ติดต่อพี่ปรีดา นะครับ ผมแนะนำให้ชาวอีสานทุกท่านได้อ่่านและเก็บ "นิตยสารทางอีศาน" ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ ครับ
สาส์นจากทางอีศาน
การถือกำเนิดขึ้นและดำเนินการมาของนิตยสารรายเดือน “ทางอีศาน” ก็เพื่อ ‘ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต’
นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 96
เรื่องเด่นในฉบับ
• เปิดบั้นกวดสอบเหรียญคำ ครั้งที่ ๓ ปี ๒๐๒๐ – ๒๐๒๒ ของวงการกวีนิพนธ์ลาวทั่วโลก โดย บุญรักษ์ ปะละกัง (“บ่าว เจดี”)
• เปิดคอลัมน์ “อีศานโจ้โก้” – แหล่งตัดหินสร้างปราสาท ของขอมโบราณในอีสานใต้ โดย สัจภูมิ ละออ
• ผักไหม พลังท้องถิ่นผนึกท้องที่ที่น่าอยู่ โดย ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
• มันมหามัน : มันแกวบรบือ มหาสารคาม โดย สมปอง ดวงไสว
• แกงบอน : หาพาแลงชวนทำ “แกงแม่นางหวาน” โดย "หลานเหลียน" พร้อมทั้งมีผญา นวนิยาย บทกวี การ์ตูน ภาพวาด พ่อเฒ่ากับลูกเขย สาระบันเทิงเข้มข้น ครบครัน
ปิดเล่ม
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ใกล้จะถึงเดือนมีนาคม มีข่าวร่ำลือว่าช่วงสงกรานต์จะมีวันหยุดถึงเก้าวัน ก็ไม่รู้ว่าจะจริงหรือไม่จริง ถ้าเป็นจริงก็น่าเป็นห่วงเรื่องอุบัติเหตุบนถนนบาดเจ็บล้มตายกัน ปีก่อน ๆ วันหยุดน้อยกว่ายังบาดเจ็บล้มตายกันมาก
วาทะทางประวัติศาสตร์ของผู้นำสตรีเยอรมนี: ถึงประชาชนชาวเยอรมนี
วาทะทางประวัติศาสตร์ของผู้นำสตรีเยอรมนี: ถึงประชาชนชาวเยอรมนี พูดได้อย่างจับใจ สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา ความมั่นใจอย่างหนักแน่นว่า ชาวเยอรมนีจะฝันฝ่าวิกฤตไปด้วยกันและร่วมใจกันจัดการงานครั้งนี้ได้สำเร็จ! ให้กำลังใจและขอบคุณแพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและบุคลากรที่ทำงานสาธารณสุขทุกท่าน ผู้ยืนอยู่ในแนวหน้า ที่ต้องพบกับผู้ป่วย พบความรุนแรงของการติดเชื้อ ตลอดจน เหล่าผู้ที่นั่งอยู่หลังเครื่องเก็บเงินของร้านค้า และเหล่าผู้ที่เติมสินค้าให้ชั้นวางของ นี่คืองานชิ้นประวัติศาสตร์
และจะสำเร็จลงได้ด้วยการร่วมมือกัน!!
Cr. ธีรภัทร เจริญสุข แปล
ต้องการรู้เรื่องอีสาน พิมพ์คำว่าทางอีศาน
นิตยสารรายเดือนทางอีศาน จัดทำมาเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยได้รับความร่วมมือจากเพื่อนมิตร นักเขียน และนักอ่าน ถึงอย่างไรการจัดทำหนังสือเล่มยังเป็นการผลิตที่ต้นทุนสูงและเข้าถึงผู้อ่านไม่ทั่วถึง จึงเกิดแนวคิดโครงการ “อีศานมีเดีย” ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศิลปะของชนชาวไทยในภาคอีสาน ทั้งเนื้อหาปัจจุบันและเคยตีพิมพ์มาในอดีต
เรื่องจากปก ทางอีศาน 15 : กำเนิดข้าวไทย
ในระยะแรกยุคที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตด้วยการเก็บและล่า ข้าวเป็นเพียงอาหารตามฤดูกาล เมื่อข้าวป่าสุกจึงเก็บมาบริโภค เพราะข้าวป่าเมล็ดร่วงง่าย พอลงดินก็กลายเป็นต้นข้าวในฤดูต่อไป ต่อมามนุษย์เฝ้าสังเกตและเรียนรู้ธรรมชาติ จนถึงในยุคหินใหม่มนุษย์จึงเรียนรู้การปลูกข้าวอย่างเป็นระบบ แทนที่การหาเก็บ ต่อมาเมื่อมนุษย์อยู่รวมเป็นกลุ่ม จึงคิดวิธีปลูกข้าวแบบนาหว่าน แต่ได้ผลผลิตไม่ดีนักเพราะการหว่านไม่สม่ำเสมอ จึงประดิษฐ์ “ไถ” เพื่อแทง หรือไถดินให้ลึก ก่อนจะหว่านเมล็ดข้าวลงไป และต่อจากนั้นก็ทำให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง