By

กอง บ.ก.

ส่องซอด ทางอีศาน ฉบับที่ 14

จอกหนึ่ง พอซิกริกจอกสอง พอแซกแรกจอกสาม พอแปลกความจอกสี่ หลงพี่หลงน้องจอกห้า เห็นป้าว่าแม่นเมียจอกหก ชกปากพ่อเฒ่าจอกเจ็ด แกล้มเป็ดแกล้มไก่จอกแปด ฟ้อนตากแดดว่าแม่นฝนตกรินจอกเก้า ข้าวอยู่เล้านึกอยากขายเกวียนละบาทก็ขายจอกสิบ หลิบพุ้นหลิบพี้จอกสิบเอ็ด ตึ่งลึ่งตึ่ง

บทร้อยกรองของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ๒๕-๒๘

๒๕. ชายโสภาใจเย็นนักปราชญ์ ชายฉลาดหลีกเว้นคนผิด คนใช่มิตรผูกจ่องกรรมเวร คนมีเข็ญหาคุณบ่ได้ คนทุกข์ใฮ่เกี่ยวหญ้าหาฟืน บ่ฝ่าฝืนผิดเถียงดูหมิ่น ๒๖. คิดสู่ถิ่นทั่วโลกโลกา กะปูนาหาหัวบ่ได้ ไผหาให้เลี้ยงท้องเขาเอง พวกสัปโปงูเขียวงูเห่า ขึ้นต้นไม้เสือกแล่นตามดิน ตีนบ่มีแล่นไวปานม้า...

นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 93

• หมอลำหมอแคน : ภูมิปัญญาสารพัดนึกของชาวอีสาน โดย ผศ.ดร. เจริญชัย ชนไพโรจน์ • ข้าวปุ้นแกงปู : ความฮักของปู่ส่งสู่หัวใจย่า โดย “หลานเหลียน” • เจ้านางสีดา : บรรพสตรีวีรชนผู้ปราบนกหัสดีลิงค์ ...
Read More

ทางอีศาน 72 : ปิดเล่ม

ชื่อว่าโลกีย์กว้างเมืองคนมันบ่เที่ยง มันหากเงี่ยงช้อยง้อยคือค้อยตลิ่งของ ลางเทื่อศิษย์กลับได้เป็นครูสอนสั่งก็มี ลางเทื่อลุกออกก้นสอนฉ้อพ่อแม่คีง ลางเทื่อแนวเด็กน้อยสอนคนหัวด่อนก็มี ลางเทื่อลูกไพร่บ้านสอนท้าวบ่าวพญาก็มี

ทางอีศาน 30 ปิดเล่ม : ตถตา…เป็นเช่นนั้นเอง

โลกย์เต็มไปด้วยความทุกข์ มันเป็นเช่นนั้นเอง... แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น ก็มิใช่ว่าเราจะปล่อยตัวไปตามโลกย์ เมื่อความเลวยังมากมีในบ้านเมือง คนดีก็ต้องค้าน ต้องต้านความเลว ทำดีมิใช่เพื่อได้ดี เราทำดีเพื่อรักษาความดี เพื่อต่อต้านความเลวมิให้ครอบงำสังคมได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด การทำงานของพวกเรา ทางอีศาน ถือหลัก เห็นยาวดีกว่าสั้น

ทางอีศาน 37 : ปิดเล่ม

ผลจากการปฏิวัติ ๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕ ส่งผลสะเทือนต่อเศรษฐกิจการเมืองภาคอีสาน ทำให้ความเปลี่ยนแปลงจาก รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ รัฐประชาธิปไตย หรือ รัฐประชาชาติ เกิดขึ้นทั้งในเชิงโครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในภาคอีสาน ๓ ประเด็นหลัก...

แนะนำนักเขียนใหม่ “หลานเหลียน” เปิดคอลัมน์ “บอกฮักด้วยพาข้าว”

“หลานเหลียน” สาวอีสาน ในวัยสามสิบต้น ๆ จากขอนแก่น เมืองหมอแคนดินแดนดอกคูน ผู้มีความสามารถหลากหลาย ทั้งงานด้านวิชาการและธุรกิจ แบบคนรุ่นใหม่ แต่ด้วยความภูมิใจในฮีตคอง ขนบธรรมเนียมประเพณี อีสานบ้านเกิด

ปิดเล่ม ทางอีศาน 91

ในช่วงสามเดือนนี้ ธรรมชาติเกี่ยวกับน้ำผูกพันกับชาวไทย วัฒนธรรมโบราณของชาวไทยจึงมีเรื่องเกี่ยวกับน้ำมาก แต่ก็เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนไป เรื่อย ๆ ที่เห็นเด่นชัดก็เรื่องการนับวัน เวลา เดือน ปี เมื่อเปลี่ยนมาใช้การนับปฏิทินตามสุริยคติ สากล การนับเดือนก็เปลี่ยนไป...เป็นการนับตาม ฝรั่ง

คำโตงโตย

เห็นว่าปลาทอต้อน หมายซิตำปลาแดก บาดห่าต้อนเจ้าหลูคูเจ้าฮ้ง ซิพายข้องปึ่งดัง / ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า ปลาออกันอยู่ที่หน้าต้อนเรียกว่าปลาทอหน้าต้อน “ต้อน” คือเครื่องมือจับปลา “หลู” คือทะลุ “ฮ้ง” คือน้ำไหลลอดคันต้อน พ่อค้าขายของเมื่อคนมาออกันที่หน้าร้านเพื่อดูสินค้า เจ้าของร้านดีใจว่าวันนี้แหละจะร่ำรวย...

ปู่สอนหลาน

อย่าเอาไก่ป่ามาเฮ็ดไก่ขวัญ- อย่ากินยาตางผู้ไข้- อย่าหาเหามาใส่หัว- อย่าเชื่อใจทาง อย่าวางในคน มันจนใจโต- อย่าเอาเสิกมาใส่บ้าน อย่าเอาหว้านมาใส่สวน

คำโตงโตย: ทางหลวง

ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า ทางหลวงคือ ทางเส้นใหญ่ ทางเส้นใหญ่นั้นพระพุทธเจ้าถางไว้เพื่อให้พุทธบริษัทเดินตาม ทางเส้นใหญ่ได้แก่มรรคแปด มี สัมมาทิฏฐิ ? ความเห็นชอบ เป็นต้น มี สัมมาสมาธิ - ตั้งใจชอบ เป็นเส้นสุดท้ายพระองค์เดินตามทางใหญ่นี้จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้พุทธบริษัทเดินตาม ผู้เดินตามก็มี ไม่เดินตามก็มี
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com