พลังชีวิต
คนเราเกิดมา ณ หมู่บ้านตำบลใดบนพื้นโลกนี้ ย่อมสามารถเรียนรู้ชีวิตและเข้าใจชีวิตได้ ย่อมเรียนรู้โลกและเข้าใจโลกได้ ในขณะเดียวกันทุกคนต่างก็สามารถอธิบายถึงชีวิตและโลกได้
หมู่บ้าน ประเทศชาติ และสากลโลก
บุญออกพรรษา-ตักบาตรเทโว ตามด้วยบุญกฐินที่อุบาสกอุบาสิกาได้เข้าวัดบำเพ็ญกุศล และช่วงนี้มาพร้อมกับฤดูหนาว มีงานแข่งเรือ บั้งไฟพญานาค เทศน์มหาชาติ แล้วมีเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
แสนยานุภาพ
แสนยานุภาพ หรืออำนาจทางการทหารนั้นไม่ได้ชี้ขาดที่อาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ชี้ขาดที่คน คนผู้เป็นประชาชนพลเมืองของประเทศนั้น ๆ เป็นสำคัญ
คนในประเทศที่มีเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ คนในสังคมที่มีความอุดมมั่นคงทางอาหาร มีสมุนไพร มีฮีตคองคุณธรรม คนเหล่านี้ย่อมรักบ้านเกิดเมืองนอน ย่อมหวงแหนผืนแผ่นดินประเทศชาติยิ่งกว่าชีวิตของตน
ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๐๐
สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปไม่รู้จบนะ...
มนุษยชาติในแต่ละประเทศต่างก็มีความคิดความอ่านแตกต่างกันไปมาก
โลกเคยแตกแยกรุนแรงมาแล้ว เกิดสงครามโลกใหญ่สองครั้ง ผู้คนฆ่ากันตายนับล้าน ๆ คน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โลกก็แบ่งค่าย แตกแยกกันด้วยลัทธิทุนนิยมกับลัทธิสังคมนิยม สู้รบทำ “สงครามเย็น” กัน
“ก้าวปีที่เก้า ก้าวมาแล้ว ๑๐๐ ฉบับ ก้าวแกร่งทัพนักคิดนักเขียนทางอีศาน”
เมื่อก้าวมาถึงวันนี้ มีหลายเรื่องในรอยทางที่ก้าวมา...
เรื่องหนึ่ง ขณะเตรียมพร้อมออกก้าวเดินเราไปติดต่อ “สายส่ง” เพื่อเป็นตัวแทนการจัดจำหน่าย ด้วยความปรารถนาดี ผู้จัดการสายส่งถามว่า “คุณทำหนังสือแนวนี้ คุณจะเอาเนื้อหาเรื่องราวอะไรมาทำได้ถึง ๘ - ๙ เล่ม...”
“หัวดำออกก่อน หัวด่อนนำหลัง”
ปราชญ์แห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขงกล่าวไว้นานมาแล้ว “หัวดำออกก่อน หัวด่อนนำหลัง” “หัวดำ” ได้แก่ คนที่ผมยังดกดำ “หัวด่อน” ได้แก่ คนที่ผมเริ่มออกสีดอกเลา
ในทางความคิดและการกระทำเพื่อแปลงสร้างสิ่งใหม่ คนหนุ่มสาวผู้เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ กระตือรืนร้นและห้าวหาญ จะก้าวรุดหน้ากว่าคนทุกรุ่นวัย
ปิดเล่ม
“ทางอีศาน” รับใช้พี่น้องมาเก้าปีแล้ว และก็จะอยู่รับใช้พี่น้องต่อไปจนกว่าชีพ (ของหนังสือ) จะหาไม่ ตั้งแต่เริ่มพิมพ์ปีที่หนึ่งหลายเสียงก็บอกว่า หนังสือเชยเหลือเกิน จะอยู่รอดหรือ แต่หนังสือก็ออกมารับใช้พี่น้องจนถึงเก้าปี และเรากำลังเตรียมวางแผนปรับปรุงปีที่สิบกันแล้ว
วิถีใหม่ราษฎรไทย
โรคห่าใหญ่ยังลามระบาด เมื่อเดือนพฤษภาคม ผู้ติดเชื้อทั่วโลก ๖ ล้านคน ปลายเดือนมิถุนายนกำลังจะทะยานถึง ๑๐ ล้านคน หลายประเทศคลายล็อคดาวน์แล้วต้องรีบปิดบางเมืองเพราะผู้ป่วยเพิ่มพรวดพราด สร้างความกังวลว่าจะเกิดระบาดหนักรอบสองอีกหรือไม่
ปิดเล่ม ทางอีศาน 98
คนเราอาศัยพึ่งพาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง แต่ในขณะเดียวกันก็ทำลายสภาวะธรรมชาติไปพร้อม ๆ กันด้วย คนเราดูเหมือนมีความเจริญก้าวหน้าทางความรู้ คล้ายกับว่ามี “ความคิด” ที่ดีงามมากขึ้น แต่สภาวะธรรมชาติกลับเลวลง คนเราทำลายธรรมชาติมากขึ้น ทำร้ายคนเรากันเองมากขึ้น
ประเด็นที่ท้าทาย
ขณะนี้มีคนบนโลกติดเชื้อโควิด-19 เกือบหกล้านคน ตัวเลขจากข่าวเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม๒๕๖๓ ขณะวงงานแพทย์ทั่วโลกยังยืนยันว่า ปีหน้าถึงจะพัฒนาวัคซีนรักษาได้ ต่อจากนี้ไวรัสจะระบาดเพิ่มมากขึ้นเพียงใด จะสามารถยับยั้งได้เมื่อไหร่และเมื่อหยุดได้แล้วยังจะหวนกลับมาอีกหรือไม่เชื้อตัวใหม่จะเกิดอีกปีไหน ล้วนเป็นวิกฤติที่พลโลกกำลังเผชิญและต่อสู้ร่วมกัน
ปิดเล่ม ทางอีศาน 97
โลกมนุษย์กำลังเผชิญภัยจากไวรัส สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยพึ่งพาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ไวรัสมีมากมายหลายชนิด บางชนิดก็เป็นภัยทำลายเซลล์ที่มันอาศัยอยู่ จนถึงขั้นทำลายชีวิตของสิ่งที่มันเข้าไปอาศัยได้ เราเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “โรค” ไวรัสที่โจมตีเป็นอันตรายต่อเซลล์ของมนุษย์ เป็นสาเหตุต้นตอสำคัญส่วนหนึ่งของโรคที่เกิดกับมนุษย์
“ทางอีศาน” ปีที่ ๙
พฤษภาคม ๒๕๖๓ หนังสือ “ทางอีศาน”พิมพ์ออกเผยแพร่ขึ้นปีที่เก้า พร้อม ๆ กับสภาวการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก เป็นสถานการณ์ที่แม้จะไม่ใช่ภาวะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ความเสียหายต่อชีวิตของมนุษย์ไม่ร้ายแรงเท่าภาวการณ์ในอดีต แต่ก็คาดว่า มีผลสะเทือนต่อวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างใหญ่หลวง
สู้เพื่อชีวิต
ประเด็นเรื่องการถนอมรักษาชีวิตสำคัญที่สุด ท่ามกลางวิกฤติขั้นอุกฤษฏ์นี้ ต้องอดทนต่อสู้ ติดตาม เรียนรู้ สรุปบทเรียน เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สรรสร้างชีวิตและโลกขึ้นใหม่
นิตยสารรายเดือน”ทางอีศาน” เล่มประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ฉบับที่ 97 – – เป็นฉบับ “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 9”
นิตยสารรายเดือน”ทางอีศาน”
เล่มประจำเดือนพฤษภาคม 2563
ฉบับที่ 97 - - เป็นฉบับ “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 9”
และอีก 3 ฉบับก็ครบ 100 เล่ม
นับเป็นวาระที่ดีที่ควรมีกิจพิเศษ
ก่อนกิจการงานพิเศษใด ๆ บังเกิดมี
ขอนำกถาผู้อาวุโสที่ได้ให้แง่คิดและกำลังใจไว้แต่ครั้งเก่าก่อนมาแสดง ณ ที่นี่
ปิดเล่ม ทางอีศาน 23
ในวินาทีเดียวกัน ในนาทีเดียวกัน คนไทยกำลังเสพสื่อต่าง ๆ นานา แตกต่างกันมากมาย อย่างที่เรียกได้ว่า “คนละทีป” ถ้าจดจ้องจอโทรทัศน์ บ้านที่มิได้ติดเคเบิ้ลทีวีหรือไม่ติดจานดาวเทียม ก็อาจจะกำลังจดจ้องโทรทัศน์สาธารณะห้าหกช่อง บ้านที่ติดเคเบิ้ลทีวีหรือจานดาวเทียม ก็เลือกจดจ้องได้เกินกว่าห้าสิบช่อง บางช่องก็มีแต่ “ผี” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็ “ตี” กัน “เตะ” กัน ฯลฯ (ช่องกีฬา) ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็เป็น “จีน” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง บางช่องก็เป็น “แขก” เป็น “ฝรั่ง” ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง