Category

จากใจทางอีศาน

จากใจชาว “ทางอีศาน”

สนั่น ชูสกุล ได้รับการปลูกฝังให้รักชาติรักประชาชนตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย แล้วตัดสินใจเลือกใช้ชีวิตและสร้างครอบครัว ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อสิทธิเพื่อปากท้องของประชาชนคนรากหญ้า พร้อมกับฝึกทักษะงานด้านวรรณศิลป์จนชำนาญ ผลงานเขียนทุกประเภทของเขาสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ออกมาได้อย่างถึงเลือดถึงเนื้อ เข้าถึงจิตวิญญาณและมีพลังความใฝ่ฝัน โดยเฉพาะงานสารคดีช่วงสุดท้ายเมื่อเขากลับจากไปตระเวนศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๕

“…เรามีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และสังคม และการจัดสรรทรัพยากรอย่างมหาศาล ท่านทราบไหมครับว่า ๕๐ ปีที่แล้ว ตอนเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถ้าเราแบ่งคนไทยเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๒๐% คนจนที่สุดของประเทศไทยในปี ๒๕๐๔ เมื่อเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ นั้น เป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ ๔% คนรวยที่สุดอยู่ด้านบน ๒๐% ของประเทศนั้นเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติเกือบ ๖๐%

ธรรมนูญประชาชน

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไทย นับวันยิ่งมีรายได้ลดน้อยลง แต่หนี้สินกลับพอกพูน สังคมเต็มไปด้วยอภิสิทธิ์อิทธิพล เศรษฐกิจถูกผูกขาด ข้ารัฐการไร้คุณภาพขาดคุณธรรม ระบบเผด็จการครองเมืองมายาวนาน ทั้งมหาอำนาจต่างแย่งยื้อกันเข้าครอบงำยิ่งขึ้น จึงนำเสนอ “ธรรมนูญประชาชน” เพื่อต้านยัน รุกคืน สร้างความกินดีมีสุข และความเจริญรุ่งเรือง

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๔

คุณชุมพร ทุมไมย, คุณวิชัย เกศศรีพงษ์ศา ตั้งแต่คุณเสียสละชีวิตไปจนถึงวันนี้ สภาพสังคมไทย เหตุการณ์บ้านเมืองของเฮาและของโลกมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปหลาย พวกเฮามีเรื่องสิส่อ*คุณเด้

ชุมพร ทุมไมย วิชัย เกศศรีพงษ์ศา

สังคมไทย การขัดแย้งทางความคิดมีความผิดถึงตายมีมานานแล้ว และนับวันจะมากหลากหลายวิธียิ่งขึ้น เพราะการสำนึกถึงสิทธิ์ความเป็นมนุษย์ของตนและเคารพคนอื่นยังไม่หนักแน่น ระดับทางวัฒนธรรมและการตื่นรู้ทางการเมืองยังไม่พัฒนาก้าวหน้า ส่งผลให้ผู้มีอภิสิทธิ์อิทธิพลเต็มบ้านเมือง คนเล็กคนน้อยยังสยบยอมและยังคงยากไร้

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๓

ในยุคก่อนและเข้าสู่ต้นยุคประวัติศาสตร์ ข้อสันนิษฐานหนึ่งของการล่มสลายไปของบางเมือง ของบางอาณาจักร เกิดจากโรคระบาดใหญ่... ถ้าใครเคยไปทัศนศึกษาแอ่งที่ราบสูงสกลนคร และได้ไปชม “ปราสาทภูเพ็ก” จะเห็นว่าตัวปราสาทส่วนบนยังสร้างไม่เสร็จ เมื่อเดินเลาะเลียบลงไปด้านหลังก็จะพบแหล่งหินตัด บริเวณนั้นจะพบหินที่ตัดแล้ววางกระจายอยู่เป็นระยะ และจะเห็นแผ่นหินที่ถูกเซาะสกัดค้างคาไว้จำนวนมาก

ระวัง! ห่าตำหัวใจ

ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า “ห่า” เป็นผีประเภทหนึ่ง ผีตนนี้ทำให้เกิดโรคระบาดร้ายแรง และพรากชีวิตผู้คนจำนวนมาก จึงเรียกชื่อโรคนี้โดยรวมว่า “โรคห่า”

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๒

โรคระบาดโควิด–19 ในประเทศไทยดูเหมือนสถานการณ์รุนแรงขึ้นอีกระดับ เพื่อนนักเขียนหลายคนก็ติดเชื้อป่วยอำลาจากกันไปก่อน สถานการณ์ตามชุมชนแหล่งสลัมก็เกิดเรื่องน่าสังเวชขึ้นทุกวัน

คุณชูศักดิ์ วิษณุคำรณ จิตรกร และหนึ่งในคณะที่ปรึกษานิตยสาร “ทางอีศาน” เสียชีวิตด้วยติดเชื้อโควิดเมื่อวานนี้ ชาวคณะ “ทางอีศาน” ขอคารวาลัย

คุณชูศักดิ์ วิษณุคำรณ จิตรกร และหนึ่งในคณะที่ปรึกษานิตยสาร"ทางอีศาน" เสียชีวิตด้วยติดเชื้อโควิดเมื่อวานนี้ ชาวคณะ"ทางอีศาน" ขอคารวาลัย

“ฟ้าทะลายโจร”

ภาพคนนอนตายข้างถนน รายงานการฆ่าตัวตาย ข่าวคนในหลายครอบครัวตายขณะคนที่เหลือติดเชื้อโควิด-19 ทั้งบ้าน เหตุการณ์ย่านตลาดการค้า แค้มป์คนงาน ชุมชนเก่าในเมืองใหญ่ กลายเป็น กลุ่มก้อนผู้ติดแพร่เชื้อ ผู้คนจำนวนมากเหล่านี้กำลังคอยรอรถพยาบาล

วาระแห่งหมู่บ้าน

ประเทศไทยมีวาระแห่งชาติ วาระที่คนจำนวนเพียงหยิบมือจากศูนย์กลางอำนาจวางกำหนดกฎเกณฑ์ โดยใช้มุมมองของผู้ได้เปรียบ เต็มด้วยผลประโยชน์ อคติ และไร้ข้อเท็จจริงเป็นฐานและกรอบคิด

“๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕” ต้นธารประชาธิปไตย

ความหอมหวนของแนวคิดรักชาติ รักประชาธิปไตย ปรารถนาให้บ้านเมืองเจริญทัดเทียมอารยประเทศ แวดล้อมจิตใจคนหนุ่มสาวยุคนั้นให้กระชับมั่นเป็นกลุ่มพวกเดียวกัน ไม่มีสถาบัน ไม่มีรุ่น ไม่มียศชั้น ไม่มีไพร่ผู้ดี มีแต่อนาคตอันสดใสอันเกิดแต่แสงสว่างแห่งรัฐธรรมนูญที่ฉายให้เห็นเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ

สาส์นจาก “ทางอีศาน” – ติดอาวุธทางปัญญา

ตั้งแต่โควิดสิบเก้าเริ่มระบาด องค์กรสายส่งปิดกิจการ ร้านค้าก็ทยอยหยุดธุรกรรม นิตยสารรายเดือน “ทางอีศาน” จึงต้องระงับการขายตามร้านค้าปลีก จัดพิมพ์เฉพาะสมาชิกและคำสั่งซื้อตรงจากแฟน ๆ ทั่วประเทศตั้งแต่ ฉบับ ๙๖ เดือนเมษายน ๒๕๖๒ และได้ลดจำนวนหน้าลงจาก ๑๖๐ หน้า เหลือ ๑๒๘ หน้า หน้าสี่สีที่มี ๔๘ หน้าก็ปรับเป็นขาวดำทั้งหมด

ทฤษฎี “ผีบ้า”

ชีวิตในหมู่บ้านหนึ่งก็เหมือนนิยายเรื่องหนึ่ง มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีดีใจโศกเศร้า มีเคียดแค้นให้อภัย มีสันติสงคราม มีบาดหมางสามัคคี ตัวละครประกอบด้วย พระเอกผู้ร้าย นางเอกนางรอง ผู้ทรงศีลมหาโจร คนเข้าวัดเข้าบ่อน คนหมั่นเพียรเกียจคร้าน ฯลฯ และก็มีผีบ้า

ก้าวสู่ปีที่ ๑๐ ดั่งบั้งไฟดั้นฟ้ากล้าหาญ

[๑] ไหว้ครู นิตยสารรายเดือน “อักษรสาส์น” โดย สุภา ศิริมานนท์ บรรณาธิการ และจินดา ศิริมานนท์ ผู้จัดการทั่วไป คือคบไฟที่โชนแสงในความมืด
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com