ตำนานเกี่ยวกับเมืองสุวรรณโคมคำ ฉบับภาษาลาว
การก่อตั้งแว่นแคว้นทางภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันตามตำนาน (ตำนานก็คือการเขียนประวัติศาสตร์ตามแบบของคนโบราณ) แว่นแคว้นแรกคือ “สุวรรณโคมคำ”
หูก กับ กี่ ต่างกันหรือไม่?
มีผู้สงสัยถามว่าคำว่า “กี่” ในคำว่า “กี่ทอผ้า” ไทยยืมคำนี้มาจากใคร จีนหรือมอญ – เขมร ตอนแรกผมก็คิดว่าคนตระกูลไทไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนน่าจะมีศัพท์เฉพาะ “หูก” ProtoTai *truk D แต่ผมต้องเปลี่ยนความคิดเมื่อไปค้นในหนังสือ 傣语方言硏究 เขียนโดย Zhou Yaowen และ Luo Meizhen ในนั้นมีศัพท์คำว่า 织布机 [zhībùjī] หรือหูกทอผ้า
ฟันดาบไทย-ลาว การละเล่นใน “สมุทรโฆษคำฉันท์”
วรรณคดีที่บรรยายเรื่องมหรสพการละเล่นสยามไว้มาก คือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” ช่วงต้น ๆ ซึ่งเป็นฝีมือของ “มหาราชครู” กล่าวถึงมหรสพต่าง ๆ เช่น หัวล้านชนกัน, ไทย - ลาวฟันดาบ, ชวาแทงกฤช, ชนแรด ฯลฯ
ตำนานพญาศรีโคตรตะบอง
ตำนานพญาศรีโคตร, พญาศรีโคตรตระบอง, ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ เป็นตำนานร่วมกันทั้ง แขมร, สยาม, ลาว เรื่องราวในตำนานคล้ายคลึงกัน พิจารณาแล้วน่าจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วง “มืดมน” คือช่วงล่มสลายของ “ยุคพระนครหลวง” (ยโศธรปุระ - นครธม) ร่วมสมัยกับการรุ่งเรืองขึ้นมาของรัฐที่ปกครองโดยชาวสยาม-ลาว
เมื่อม้ากัณฐกะไม่ได้มีสีขาวปลอดและม้าเฝ้าอุรังคธาตุน่ะมีสี
ม้าและมนุษย์มีความผูกพันกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในวรรณกรรมต่าง ๆ ม้ายังเป็นตัวละครที่ช่วยเสริมอรรถรสด้วย เห็นในแต่ละเรื่องมีอภินิหารเป็นสุดยอดอาชาที่เก่งกล้าสามารถ แต่ก็ใช่ผู้แต่งจะเขียนบรรยายลักษณะกันเรื่อยเปื่อยนะ เชื่อไหมว่าเขามีการอ้างอิงตำราไม่ต่างจากนักเขียนนิยายสมัยใหม่เลยเชียว ตำราที่ว่านั่นคือ “ตำราม้าของเก่า” และ “ตำราม้าคำโคลง”
มังมูน บุญข้าว : เสาค้ำวัฒนธรรมอีสาน
มนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินอีสานค้นพบข้าวป่าและนำมาเป็นอาหาร จากยุคเก็บหาจนสามารถนำมาเพาะปลูกในผืนนาที่จัดการระบบนํ้าอย่างชาญฉลาด บนเส้นเวลาทอดยาวกว่าหมื่นปีที่วิถีข้าวและวิถีคนปรับปนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผูกพันก่อเกิดเรื่องราวของการผลิต การแปรรูป ความเชื่อ และประเพณี ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์มั่งคั่งโดยมีข้าวเป็นแก่นสารของการก่อเกิดวัฒนธรรม
โอ้ นารายณ์ขายาวผู้ลือเลื่อง
ในตำนานอุรังคธาตุ เล่าว่าเมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมา
จากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง จึงมีกุศโลบายชักชวนราษฎรชายและหญิง สร้างปราสาทแข่งกัน ของ
ใครเสร็จก่อนจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้นแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง
นาคสิบห้าตระกูล ผู้รักษาหลวงพระบาง
พญานาคที่คุ้มครองหลวงพระบางนั้นมีสิบห้าตระกูล ที่คุ้มครองเวียงจันบางตำนานว่ามีเจ็ดตระกูล คำว่า “นาค” นั้นเป็นศัพท์ยืมมาจากอินเดีย จึงอาจมีคำถามได้ว่า แล้วก่อนที่นาคอินเดียจะมาถึงสุวรรณภูมินี้ ใครเล่าคุ้มครองหลวงพระบาง
ตำรับตำรา กับข้าวกับปลา
ท่านผู้หญิงยังแบ่งอาหารหวานคาวออกมาเป็น ๘ บริเฉทคือ อาหารทั่วไปหนึ่ง การหุงต้มข้าวหนึ่ง การต้มแกงหนึ่ง กับข้าวจานหนึ่ง เครื่องจิ้มกับแกล้มหนึ่ง ขนมของหวานหนึ่ง ผลไม้หนึ่งและเครื่องว่างของกินเล่นอีกหนึ่ง
คืนสู่รากเหง้า เวลา ที่ ผี ขวัญ
การคืนสู่รากเหง้า คือกระบวนการเรียนรู้ กลับไปสู่อีกมิติหนึ่งของเวลา ของวัฒนธรรม ก้าวข้ามทุกอย่างเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเนื้อหาที่ดีงามของชีวิต เป็นการ “เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต”
ฮีตเดือนยี่
คำว่า “คูนลาน” หมายถึง นำข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้นบนลานนวดข้าว หรือเป็นการคูนข้าวที่ชาวนาทำนาได้ผลดีจนได้ข้าวกองใหญ่ ซึ่งชาวนาได้ใช้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ โดยมีข้าวที่นวดเสร็จแล้วกองไว้ในลานข้าว การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า “บุญคูนลาน” บุญนี้อยู่ในช่วงเดือนยี่จึงเรียกว่า “บุญเดือนยี่” เป็นการทำบุญขวัญข้าวเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ
หมอลำ และวาดลำ
หมอลำ หมายถึงผู้มีความเชี่ยวชาญในการลำ จนสามารถใช้ศิลปะการลำเป็นอาชีพสำหรับทำมาหากินเลี้ยงตนเองได้ วาดลำ หมายถึงลำนำหรือทำนองลำ ซึ่งเกิดจากฉันทลักษณ์และเสียงสูงต่ำ สั้นยาว ของถ้อยคำที่ประกอบขึ้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า กลอนลำ
เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๓ –
เมื่อพ.ศ.๒๓๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง เจ้าหมาน้อย บุตรเจ้าราชวงศ์ (สุริโย) หลานเจ้าสร้อยศรีสมุทฯ เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้ เจ้าธรรมกิติกา บุตรอุปฮาด (ธรรมเทโว) เป็นเจ้าอุปฮาดรักษาเมืองนครจำปาศักดิ์ต่อไป ครั้นอยู่มาเจ้าหมาน้อยกับเจ้าอุปฮาด (ธรรมกิติกา) วิวาทกัน คุมกันลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โปรดเกล้าฯให้แยกเจ้าอุปฮาด (ธรรมกิติกา) ไว้เสียที่กรุงเทพฯ ให้เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) กลับไปครองเมืองตามเดิม
แถนในตำนานไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหม (๒)
ฉบับนี้ขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับ แถนคำ, แลงดอน, ขุนตุงคำ (ซึ่งน่าจะตรงกับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” ในพงศาวดารล้านช้าง) ที่ส่งคนลงมาปกครองเมืองลุ่ม ตามเอกสารของ ไทมาว ไทใหญ่ไทอาหม ที่ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา สรุปเนื้อความไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “ไก่แสง :ไก่เสี่ยงทายตัวแรกในตำนานปรัมปราของชนชาติไท” วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วัฒนธรรมแถน : อ่านเอกสารชั้นต้นกันก่อน (๑)
เรื่อง “พญาแถน” เป็นตำนานที่ชนเผ่าไท-ลาว ทั้งกลุ่มไทน้อยและกลุ่มไทใหญ่มีร่วมกันเรื่องพญาแถนยังเป็นต้นเค้าของวัฒนธรรมไท-ลาวดั้งเดิม (ก่อนรับพุทธศาสนา) ทั้งในด้านวิถีชีวิตประจำปีและด้านการเมืองการปกครอง