Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๒)

ดร.เสรี พงศ์พิศ ได้แสดงตัวอย่างรากลึกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนสร้างไว้ “การรุกเข้าไปในชุมชนเป็นไปในหลายรูปแบบ ถ้าเปรียบกับธุรกิจ นายทุนใช้ทั้งไม้แข็งไม้นวม ใช้การครอบงําแบบซื้อตัว ซื้อที่ ซื้อความรู้ความสามารถของชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ที่เป็นอุปสรรคต่อการ ‘ฮุบ’ ที่ดิน การผูกขาดพันธุกรรม ทำลายความหลากหลาย ทําลายพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยการซื้อที่ดินที่ปลูกพืชเหล่านี้ก็มี แล้วให้เจ้าของที่ดินมาทํางานด้วยค่าแรงที่ไม่อาจปฏิเสธได้

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้เสียสละกลางสนามรบ

“ความรู้เรื่องระบบนิเวศอยู่กับชาวบ้าน ในน่านน้ำมีปลากี่ชนิดเขารู้จักและนับให้คุณฟังได้หมด รู้นิสัยของปลา รู้ว่ามันวางไข่เดือนอะไร วางไข่ที่ไหน เดือนไหนมันอยู่ที่ไหน หากินน้ำลึกหรือน้ำตื้น รู้หมด แล้วถ้าจะจับมันจะต้องมีเครื่องมือชนิดไหนเขาก็รู้ จับอย่างไรไม่เป็นการล้างผลาญเขาก็รู้ก็ทำ เขาหวงแหนและมีกุศโลบายในการดูแลให้มีอยู่มีกินถึงลูกถึงหลาน เขามีพิธีแสดงความรักความกตัญญูต่อธรรมชาติ ทั้งตาแฮก ปู่ตา แม่คงคา แม่ธรณี แม่ย่าเพีย มเหศักดิ์หลักเมือง

หมู่บ้านที่ไม่ปรากฏบนแผนที่ประเทศไทย

หมู่บ้านนี้ชาวบ้านตั้งชื่อกันเองว่า หมู่บ้าน"คาเซ" ตามชื่อหมู่บ้านในละครเรื่อง"เก็บแผ่นดิน" ที่ชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อสู้กอบกู้แผ่นดินเกิดของตน ชื่อหมู่บ้านดั้งเดิมตั้งตามลักษณะภูมิศาสตร์ - "ตะกาดบัวผุด"

ตำนานพื้นบ้านในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง

เรื่องราวของหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเป็นเรื่องกว้างน่าสนใจ และมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เกือบตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีหลากหลาย กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ และไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเองอย่างไรก็ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็มีความสําคัญยิ่งในฐานะที่เป็นประทีปส่องสว่าง ช่วยให้มนุษย์สามารถประเมินความเป็นจริงของพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ในอดีตได้ใกล้เคียงที่สุด

เงินตราโบราณในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๔)

เหรียญเงินสยามที่มีใช่แพร่หลายไปทั่วดินแดนภาคอีสาน และหัวเมืองอื่น ๆ คงจะหนีไม่พ้นเหรียญเงินตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ เหรียญเงินยุคนี้เริ่มมีการพัฒนาอย่างรูปแบบชาติตะวันตกมากขึ้น มีการนําพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์มาไว้บนเหรียญ ซึ่งในอดีตใช้เพียงตราพระราชลัญจกรของพระมหากษัตริย์เท่านั้น การเสด็จประพาสตะวันตกของรัชกาลที่ ๕ ได้นํามาสู่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของสยาม รวมถึงพัฒนาการของเหรียญกษาปณ์ที่ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยนด้วย

กระดาษ ในยุค ๔.๐

ที่อยู่ตรงหน้าผมคือ กระดาษกองหนึ่งส่วนใหญ่เป็นจดหมายเวียนข่าวสารให้รับรู้ ยังมีเอกสารงานวิจัยทางขวามืออีกกองหนึ่ง ต้องอ่านให้เสร็จในสองสามวัน และนั่นถัดไป เป็นข้อสอบที่ออกเสร็จแล้ว รอการตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไปทำสำเนา กองกระดาษเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน จดหมายเวียนอิเล็กทรอนิกส์นะหรือ มีไว้เพื่ออวดชาวโลกว่า เราก็ทันสมัยแล้วเราก็ใช้จริง ๆ ด้วย แต่ใช้ควบคู่ไปกับจดหมายเวียนที่เป็นกระดาษ

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๓)

หลังจากสยามมีการผลิตเหรียญเงินอย่างตะวันตกใช้อย่างเป็นทางการในปี ๒๔๐๓ แต่เงินปลีกที่มีราคาต่ำกว่าหนึ่งไพนั้น ก็ยังใช้เบี้ยหรือหอยเบี้ย ซึ่งเป็นหอยขนาดเล็กที่ได้จากมหาสมุทรอินเดีย ใช้เป็นเงินปลีกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยอัตราแลกเปลี่ยนของหอยเบี้ยมีตั้งแต่ ๖๐๐-๘๐๐ เบี้ย เป็นหนึ่งเฟื้องแล้วแต่ความขาดแคลนหอยเบี้ย ซึ่งหอยเบี้ยนี้พ่อค้าชาวมลายู นำใส่เรือสำเภามาขาย

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๒)

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้าของสยามรุ่งเรืองมาก จนส่งผลให้เงินตราที่มีใช้จ่ายในตลาดคือ เงินพดด้วง หรือเงินหมากค้อ ของคนลาวอีสาน มีจํานวนไม่เพียงพอใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะผลิตด้วยมือ กําลังผลิตค่อนข้างตํ่าผลิตได้วันละไม่กี่ร้อยบาท ทั้งที่ความต้องการใช้มีมากกว่านั้น ชาวต่างประเทศซึ่งเป็นชาวตะวันตกมักนำเงินเหรียญของตนมาซื้อขายสินค้า แต่ต้องนำเงินเหรียญนั้น ๆ หลอมเป็นเงินพดด้วง แล้วตีตราของทางราชการเสียก่อน จึงเป็นที่ยอมรับของพ่อค้าหรือราษฎรชาวสยาม

ฮูปแต้มวัดโพธาราม นาดูน

ฮูปแต้มวัดโพธารามเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวใช้สีของผนังสิมเป็นสีพื้น สีที่ใช้มีสีน้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง แดง ดํา และขาว วรรณะสีโดยรวมแล้วเป็นสีเย็น ภาพที่ต้องการเน้นให้สะดุดตา จะเขียนสีตรงกันข้ามติดกัน เช่น สีครามตัดเส้นด้วยสีนํ้าตาล ส้ม และดํา เป็นต้น

เรื่องข้าวที่เขา (ทองแถม) ไม่ได้เล่าให้ฟัง

คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลักมานาน นานจนอดนึกไม่ได้ว่า ตอนยังไม่เป็นคนไทยก็คงกินข้าวเหมือนกัน กินจนติดเป็นนิสัย กินอาหารอื่นมากเท่าใดก็ไม่รู้สึกอิ่มเหมือนกินข้าว นอกจากรู้จักกินข้าวแล้ว ดูเหมือนว่าเรารู้เรื่องราวของข้าวที่กินทุกมื้อทุกวันน้อยเหลือเกิน รู้บ้างก็กระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ รู้จริงบ้างนิดหน่อย แต่ส่วนใหญ่รู้ไม่จริง

“พลัง” ของแนวคิดสิทธิชุมชน

ผู้เขียนได้นำเสนอใน “ทางอีศาน” ฉบับก่อนว่า ฐานคิดเรื่องคุณค่าของแนวคิด “สิทธิชุมชน” มีความใกล้เคียงกับแนวคิด “วัฒนธรรมชุมชน” ที่มองชุมชนเป็นสถาบันสำคัญ มีกระบวนการภายในที่จะจัดการตนเองเพื่อความอยู่รอด แต่ในทางกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนนั้น แนวคิดสิทธิชุมชนค่อนข้างให้ความสำคัญกับการศึกษาความขัดแย้งและการสร้างกติกาข้อตกลง การปรับดุลอำนาจภายในซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาของชุมชน

แนวคิด “สิทธิชุมชน” เสริมขยายพลังเคลื่อนไหวของชุมชน

คำว่า “สิทธิชุมชน” นั้น เป็นคำที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่เพื่ออธิบายความหมายและคุณค่าอย่างหนึ่งที่เกิดและดำรงอยู่มาช้านานแล้ว เป็นวาทกรรมที่สร้างพลังให้กับการเคลื่อนไหวของ “ชุมชน” ที่ชาวชุมชนแสดงตัวตนชัดแจ้งในการปกป้องตัวเองจากภัยคุกคามจากภายนอกในยุคการพัฒนาในรอบกว่า ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นยุคแย่งชิงทรัพยากรอย่างแท้จริง โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุของการรุกรานคุกคามสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรของชาวชุมชนท้องถิ่นอย่างหนัก

จากแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมการปกครองตนเอง

เพื่อนที่เป็นนักวิชาการชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งกล่าวกับข้าพเจ้าว่า ที่เมืองไทยนี้แปลกกว่าที่อื่นในยุคเดียวกัน การพูดถึงและให้คุณค่ากับความเป็น “ชุมชน” มีสูงมาก ทั้งในวงวิชาการ องค์กรชาวบ้าน แวดวงราชการ ในส่วนขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนนั้นถือว่าแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นกระแสคิดหลักของขบวนที่ยึดถือกันมาตลอดสองสามทศวรรษ แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงดำริเรื่อง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ หรือรูปธรรมในโครงการพระราชดำริทั้งหลาย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com