กินข้าวป่า (๑)
“กินข้าวป่า” เป็นธรรมเนียม ประเพณีของชาวอีสานมาแต่โบราณ “กินข้าวป่า” คือการนัดแนะเปลี่ยนบรรยากาศไปกินข้าวนอกบ้านโดยจะนัดแนะกันในหมู่เพื่อนฝูงหนุ่มสาว หรือกลุ่มญาติ ๆ ไปจนถึงชุมชน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำให้สังคมชุมชนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ ร่วมกิจกรรมให้เกิดความสามัคคีผูกพันในหมู่คณะ ถ้าเปรียบสมัยนี้ก็เหมือนกับนัดกันไปกินข้าวนอกบ้าน หรือไปปิกนิกแบบชาวตะวันตก
ข้าวขวางโลก
ต้องดัดนิสัยตัวเอง หัดมันตั้งสติให้เที่ยงจากนั้นก็ดัดนิสัยต้นข้าวในนาของเฮา... ให้มันปรับตัวกับดินที่บ่มีปุ๋ย บ่มีสารเคมี มันอาจจะบ่งามในระยะแรก แต่เมื่อปรับตัวได้ นิสัยดีแล้ว ในปีที่สามมันจะงามจนบ่อยากจะเชื่อ’ พ่อแดงเล่าด้วยอารมณ์ขันบนแคร่ริมกอไผ่ ลมเมษาพัดโชยมาจากทิศเหนือ หอบกลิ่นหอมรวงข้าวและความเย็นชื่นจากทุ่งนามาคลอเคลียร่างผอมสูง อารมณ์ดี แข็งแรงของชายชาวนาวัย ๖๐ ผู้เป็นลูกชายคนที่ ๒ ของพ่อแม่ แต่ทว่ากลับกลายเป็นเสาหลักและเป็นผู้นำให้กับพี่น้องของตน
บ้าโบก
พ่อเฒ่าใสแกมีนิสัยชอบลุ้นเวลาเล่นโบก แกเคยแง้มกระบอกไม้ไผ่ลุ้นดูเม็ดมะขามมาตลอด วันนี้พ่อเฒ่าใสเข้าไปอาบน้ำ เห็นกล่องสบู่ปิดฝาอยู่ แกก็ค่อย ๆ แง้มฝากล่องสบู่ออกทีละน้อย พอมองเห็นก้อนสบู่สีขาว แกก็ว่า “ฮื่อ..ขาวล้วน !” เมื่ออาบน้ำเสร็จออกมาจากห้องน้ำ จะไปกินข้าวเห็นกระติบข้าวเหนียวปิดฝาอยู่ แกก็ค่อย ๆ แง้มฝากระติบข้าวออก ลุ้นดูข้าวทีละน้อย จนเห็นข้าวสีขาว “ฮื่อ !..ขาวล้วน !” แล้วจึงกินข้าว เมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว แกไปล้างมือสูบยา (ดูดบุหรี่) ตามประสาเซียนพนัน... เมื่อสบายใจแล้ว ก็เข้าไปห้องนอน เพราะอดนอนมาหนึ่งคืนแล้ว... พอเข้าไปห้องนอนเห็นเมียนุ่งกระโจมอก นอนนิ่งอยู่บนเตียง
ฝันเห็นไก่ แปลเป็นเลข ๐๒
หลาน... “พ่อใหญ่ ข้อยฝันว่าได้กินต้มไก่เจ้าลองแปลเบิ่ง เจ้าว่ามันสิออกเลขได๋...”พ่อใหญ่... “กูว่า ไก่นี่ มันต้องแปลเป็น ๐๒ หรือ ๒๐ นี่หละบักทิด”หลาน... “เป็นหยังจั่งเป็น ๐๒ หรือ ๒๐ ไก่นี่ข่อยว่าต้อง ๙ ได๋”พ่อใหญ่... “ไผบอกมึง บักผีบ้า ไก่นี่บ่มีเป็นอย่างอื่น ๐๒ หรือ ๒๐ ท่อนั้น มึงเชื่อกู”
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ครัวเรือนชาวนา (๒)
ในงานวิจัยรางวัลโนเบลของนักเศษฐศาสตร์อย่าง เอลินเนอร์ ออสทอร์ม ที่มีบทที่พูดถึงการถือครองทรัพยากรของท้องถิ่นในแบบ “common property” อันเป็นแบบแผนเดียวกันของชาวนาในการตั้งถิ่นฐานและการถือครองกรรมสิทธิ ซึ่งปัญหาด้านการถือครองที่ดินนี้มักจะเป็นปัญหาขัดแย้งกับสังคมภายนอกที่มีระบบระเบียบกติกาที่แตกต่างไปจากโลกของพวกเขา ซึ่งเป็นที่มาของปฏิกิริยาทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหลายกรณีเมื่อชาวนาต้องอยู่ร่วมกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างดังกล่าวได้สร้างความอึดอัดขัดแย้งและเกิดเป็นกรณีปัญหาขึ้นมากมายนำไปสู่การศึกษาวิจัยกันหลากมิติ
น้ำหมากนาว
“เออ…แพง…โต๋ ฮู้วิธีเฮ็ดหน่อไม้ส้ม โดยบ่ให้หน่อไม้แหล่ (เขียวคลํ้า) ฮึบ่ ?” พ่อเฒ่าพันตั้งกระทู้ถามบักทิดแพง
“บ่ฮู้…บ่จั๊ก!” บักทิดแพงตอบห้วน ๆ พ่อเฒ่าพันก็ว่าต่อ…
“ถ้าโต๋บ่ฮู้ พ่อสิบอกวิธีเด้อ...มันเป็นภูมิปัญญามาแต่โบ๋ราณ…”
ขอโทษ…พ่อบ่เห็นอีหลี !
ความเป็นไม้เบื่อไม้เมาระหว่างพ่อเฒ่ากับลูกเขยนั้น มันมีอยู่ทั่วไปในสังคม “ทางอีศาน” เพราะลูกเขยมักจะต้องถูกบีบบังคับด้วย “ฮีตคอง ประเพณี” มาตามยุคตามสมัยแต่พ่อเฒ่ากับลูกเขยคู่นี้ มีความผิดแผกจากคู่อื่น ๆ เพราะพ่อเฒ่าเป็นผู้มีศีลธรรมประจำใจ “ฮู้ผิด ฮู้ถืก” ไม่ถือสาในการกระทำของบักลูกเขยเท่าใดนัก แม้บางครั้งบักลูกเขยมันแสดงออกนอกลู่นอกทางบ้าง พ่อเฒ่าก็ทำที “เอาหูไปนา เอาตาไปไฮ่” เสีย เพราะถือว่า “มันเป็นผัวลูกสาว” ถ้าขืนไปยุ่งจุก ๆ จิก ๆ มากไป เกิดมันป๊ะมันทิ้งลูกสาวแกไปลูกสาวแกก็จะเป็น “แม่ฮ้าง” ก็จะขายหน้าไทบ้านจึงต้องทนข่มใจทำใจ
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ก้าวแรกที่บ้านกระพี้
แม้สังคมทั่วไปในช่วงนั้นจะมองภาพของสังคมชาวนา/ชนบทในมิติเดียวด้วยทัศนะที่คับแคบ โดยสร้างวาทกรรมขึ้นพูดกันติดปากทั่วไปโดยเฉพาะจากคนของภาครัฐฯว่า “โง่ จน เจ็บ” ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ แล้วบรรดาข้าราชการอำมาตย์ทั้งหลายก็มีสภาพโง่/จน/เจ็บไม่แพ้ชาวนาเลย แถมหลาย ๆ คนมีการศึกษาขั้นโงหัวลืมตาอ้าปากชุบตัวผ่านระบบการศึกษาเล่าเรียนมาได้ ก็ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของพ่อ-แม่ที่เป็นชาวนา/เป็นเกษตรกรมาทั้งนั้น!
ฝันเห็นกบ แปลเป็นเลข ๓๒
หลาน... “งวดนี้ เจ้าฝันว่าจั่งได๋น้อ พ่อใหญ่...”
พ่อใหญ่... “กูฝันเห็นกบ...มันโตนน้ำ...”
หลาน... “เจ้าแปลจั่งได๋ พ่อใหญ่ ฝันเห็นกบเจ้าจั่งแปลเป็นเลข ๓๒ เว้าเบิ่งดู้...”
รอด พอเพียง มั่นคงยั่งยืน
ประเด็นร่วมของชุมชนชาวนาไม่ว่าที่เวียดนาม พม่าหรือไทยในสังคมเกษตรกรรม คือความอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันของชุมชน หรือที่เรียกสั้น ๆ ก็ได้ว่า “ทุนทางสังคม” ที่แสดงออกทางจารีตประเพณีวิถีชุมชน กฎระเบียบของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ชีวทัศน์ ความเชื่อ ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ การอยู่แบบเกื้อกูลไม่เอาเปรียบกัน ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ
ดวงตาใหม่
วันหนึ่ง นายแพทย์ป๋องผู้ลูกเขย ถามความรู้สึกของพ่อเฒ่าอ่อน เหมือนเป็นการประเมินผลไปด้วย
“เป็นไงพ่อ...ตาใหม่ที่ผมเปลี่ยนให้ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง?”
“ข้อดีเรอะ! กลางคืนมืดแค่ไหนก็ตาม ที่ใต้ถุนบ้านเรา พ่อวิ่งได้โดยไม่ชนเสาบ้านเลย! มันชัดกว่าเก่าเยอะ! แต่ข้อเสียมันก็มีนะ!” พ่อเฒ่าอ่อนว่า
ความฮู้จากผู้เฒ่า เรื่อง ภาคอีสาน (๒)
ชาวอีสานทุกคนหรือเกือบทั้งหมดเกิดที่เรือนในบ้าน (หมู่บ้าน) ของตนโดยการทำคลอดของหมอตำแยหรือคนที่ใกล้ชิดกับแม่ เช่น พ่อ พี่ ป้า น้า อา เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ฯลฯ
งูสิง
“พ่อเฒ่า...มื้อนี้บ่มีอาหารป่าให้เห็นสัก อย่างเลย!... แต่พอขับรถมา เห็นงูสิงเลื้อยข้าม ทาง ยาวประมาณสี่วานี่ละ! ว่าจะหักรถไป เหยียบกะบ่ทัน เสียดายขนาดเลย!”
“ป๊าดโท๊ะ! งูสิงพันธุ์ใด๋ คือสี่ยาวฮอดสี่ วาวะ? โอ้ยกูบ่เชื่อดอก!” พ่อเฒ่าสินว่า
“เอ้า! ถ้าพ่อบ่เชื่อ ข่อยสิลดลงเหลือสองวา พ่อสิเชื่อบ่ล่ะ?”
“โอ้ย! บักห่าอ้นเอ้ย! งูสิงมึงนี่ หดได้ไว ขนาดเนาะ!”
ปรากฏการณ์ภาษาอีสาน
ภาษาอีสานกำลัง “ฮิต” ทั้งในละครทีวี ในเพลงลูกทุ่ง สื่อวิทยุและสื่อสังคม นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ดาราน้อยใหญ่ที่ไม่ใช่ลูกอีสานต้องหัดออกเสียงสำเนียงอีสานให้ได้ นักร้องลูกทุ่งก็ต้องหาพี่เลี้ยงฝึกฝนจนร้องได้เนียน ๆ เหมือนคนอีสาน
พ่อเฒ่าสีกับบักสอย
พ่อเฒ่าสีเป็นคนใจกว้าง แกมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง ครึ่งหนึ่งแกแบ่งให้ลูกเขย อีกครึ่งหนึ่งแกขุดสระเลี้ยงหอยแบบธรรมชาติ ด้วยการไปเก็บหอยโข่งหอยขม ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาปล่อยลงในสระแล้วให้อาหาร หอยก็ขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ เก็บกินได้ เก็บขายก็ดี ส่วนบักสอยที่ได้ที่ดินติดกับพ่อเฒ่าสี มันคิดจะเลี้ยงหมี