ตานข้าวปุ๊กสนุกสุด ณ เมืองสามหมอก
เย็นวันนั้น ตัวเมืองแม่ฮ่องสอน จากมุมสูง ที่พระธาตุดอยกองมู ทำให้ผมกระจ่างใจว่าเหตุ ใดดินแดนที่ได้สมญานามว่าเมืองสามหมอก (หมอกหนาว หมอกฝน และหมอกควัน) จึงยัง รักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้มากกว่าเมืองอื่น
เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาแคบ ๆ ณ ปลายสุดของภาคพายัพ หรือตะวันตกเฉียงเหนือ สุดของไทย ทั้งยังมีดอยสูงสลับซับซ้อนคั่นหุบเขา นี้ กับหุบแม่ปิง หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ที่ตั้งของ อาณาจักรล้านนา ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ “นพบุรี ศรีนครพิงค์เชียงใหม่”
จึงไม่น่าแปลกใจที่หากใครขับรถจาก จังหวัดอื่นถึงเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนสำเร็จ ถึงกับมีประกาศนียบัตรมอบให้กันเลยทีเดียว เพราะหากใช้เส้นทางจาก “ฮอด” อำเภอใต้สุด ของเชียงใหม่ เข้า “แม่สะเรียง” สู่ตัวเมือง แม่ฮ่องสอน ระยะทาง ๓๔๙ กิโลเมตร ต้องใช้ เวลาอย่างน้อย ๗-๘ ชั่วโมง บนถนนที่มีจำนวน โค้งทั้งสิ้น ๑,๘๖๔ โค้ง
แต่หากใช้เส้นทางสายเหนือ จากอำเภอ แม่แตงของเชียงใหม่ ผ่าน “ปาย” เข้าสู่ตัวเมือง แม่ฮ่องสอน ระยะทาง ๒๔๕ กม. สั้นกว่าสายใต้ ทว่า จำนวนโค้งนับได้ถึง ๒,๒๒๔ โค้ง ใช้เวลาขับ ราว ๖ ชั่วโมง บนเส้นทางซับซ้อนและคดเคี้ยว กว่า แต่ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะผ่านผืน ป่าที่มีทัศนียภาพสวยงามกว่า นั่นเป็นเหตุให้“ปาย” เป็นอำเภอแรกของเมืองสามหมอกที่ถูก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวรุกโรมโหมกระหน่ำจน กลายเป็น “ถนนข้าวสาร” สาขาภาคพายัพ (พา- ยับ!)
ทว่า ผมพบว่าความโค้งของถนนจากสาย เหนือกับสายใต้ รวมกัน ๔,๐๘๘ โค้ง เป็น ปราการป้องกันไม่ให้ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนถูก กระแทกกระทั้นจากนักท่องเที่ยวมากเกินไป เกือบ ๒๐ ปีที่ผมร้างราจากแม่ฮ่องสอน ผมปีติ อยู่ในใจลึก ๆ เมื่อกลับไปเยือนอีกครั้ง แล้วพบ ว่าตัวอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนไม่ได้เปลี่ยนไป มากอย่างที่ผมประหวั่นพรั่นพรึง
1,864 โค้งก่อนจะถึงเมืองสามหมอก
แต่จะว่าไม่เปลี่ยนเลยก็คงเกินจริงไปหน่อย อย่าง “ตานข้าวปุ๊ก” หรือการทำทานถวายข้าวปุ๊ก ซึ่งทำจากข้าวและงาดำที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ มาตำเข้าด้วยกัน กลายเป็นอาหารว่างยอดนิยมของ ชาวไทใหญ่ หรือ “ไตโหลง” กลุ่มชาติพันธุ์หลัก ที่อพยพจากรัฐฉานในพม่า เข้ามาสร้างบ้านแปง เมืองแม่ฮ่องสอนเมื่อราว ๒๐๐ ปีก่อน
โดยสมัยก่อน ชาวบ้านจะมาช่วยกันตำช่วยกันห่อ เพื่อเอาไปถวายพระก่อน ตามศรัทธาปสาทะของชนชาติไท/ไต (Tai/Dai) ดั้งเดิม ที่ อะไรอร่อยต้องถวายให้พระฉันก่อน แต่นานวัน ไป ตานข้าวปุ๊กก็ค่อย ๆ เลือนไป กลายเป็นต่าง คนต่างทำแล้วต่างก็เอาไปถวายพระ ก่อนจะต่าง คนต่างกิน หรืออย่างมากก็ใส่จานยื่นให้บ้านที่อยู่ ติดกันได้กินด้วย
โชคดีที่ชุมชนกาดเก่า หรือภาษาไทใหญ่ เรียก “ป๊อกกาดเก่า” ชุมชนใจกลางเมือง แม่ฮ่องสอน มีผู้นำที่รักถิ่นฐานบ้านเกิดและ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองอย่างคุณ เทพินท์ พงษ์วดี ที่ตัดสินใจรื้อฟื้น “ตานข้าวปุ๊ก” หลังจากเลือนหายไปหลายสิบปี และด้วยความ เป็นคนขยันขันแข็ง เอื้ออารี มีน้ำใจช่วยเหลือคน อื่นอยู่เสมอ
เมื่อคุณเทพินท์ประกาศปลุก “ตานข้าว ปุ๊ก” ให้ลุกขึ้นมาอีกครั้ง จึงได้รับความร่วมมือ จากชาวชุมชน ตลอดจนบรรดานักวัฒนธรรมที่ อยากมาเห็น “ตานข้าวปุ๊ก” กลางใจเมืองเพื่อ เป็นบุญตาอีกครั้ง
“ชื่อข้าวปุ๊กมาจากเสียง ปุ๊ก ปุ๊ก เวลาที่เรา กระแทกสากลงไปเพื่อให้ข้าวใหม่กับงาดำใหม่ คลุกเคล้ากัน จนหนืดและหนึบเวลากิน จะหวาน มาก หรืออร่อยมาก แต่สำหรับดิฉัน ข้าวปุ๊ก หรือ ข้าวปุก ยังมีความหมายถึงการปลุกผู้คนให้ลุกขึ้น มารักและหวงแหน แล้วสืบสานวัฒนธรรมอันดี งามของตนเองไว้”
คำตอบของพี่เทพินท์ทำให้ผมคิดว่านี่ถ้า เป็นการประกวดมิสยูนิเวิร์ส แล้วพี่เทพินท์ตอบ อย่างนี้ มีหวัง “มง(กุฎ)ลง” ได้เฮกันลั่นแน่
ซึ่งก็จริงของพี่เขา มีชาวชุมชนกับนัก วัฒนธรรมมาร่วมงานคับคั่ง คนตำก็ตำไป คน เชียร์ก็ร่ายรำตามจังหวะกลองมองเซิงกันม่วน ขนาด พอคนตำเหนื่อย คนฟ้อนก็ผลัดไปตำบ้าง สนุกสนานเป็นที่สุด
เสียงตำดังปุ๊ก ๆ ที่มาของชื่อข้าวปุ๊กชาวชุมชนมาร่วมงานกันคึกคักพี่เทพินท์ พงษ์วดี นางงามจักรวาลในใจผมกลองมองเซิงสร้างบรรยากาศสุดสนุกในงานตานข้าวปุ๊ก
ทานข้าวปุ๊กให้อร่อย ต้องโรยน้ำตาลให้ หวานพอประมาณ และจะอร่อยสุด ๆ ถ้าใช้นิ้ว โป้งกับนิ้วชี้ดึงข้าวปุ๊กที่หนืดและหนึบเข้าปาก แล้วกัดก้อนน้ำตาลอ้อยเคี่ยวนิดนึงตามลงไป จะ ได้ทั้งความหอม หวาน หนืดและหนึบ จนกิน เพลินเกินห้ามใจเป็นอาหารว่างที่นิยมทำในเดือน มกราคม ฤดูกาลได้ข้าวและงาใหม่ จึงนิยมนำมา ทำข้าวปุ๊กถวายพระเพื่อสั่งสมผลบุญก่อนแจก จ่ายให้เพื่อนบ้านผลัดกันชิม นี่เป็นวิถีวัฒนธรรม แต่ดั้งเดิมของชนชาติไท/ไตแท้ ๆ ที่ผมได้ไปเห็น เป็นบุญตา ณ เมืองสามหมอกเมื่อต้นปีนี้เอง
ส่วนปีนี้ ใครจะได้ครองตำแหน่งมิส ยูนิเวิร์สก็ช่าง สำหรับผม พี่เทพินท์ คือนางงามจักรวาลในใจผมโดยแท้
กินข้าวปุ๊กให้อร่อยต้องสัมผัสได้ถึงความหนืดและหนึบ