วิจิตรตา… วัดศรีเทพประดิษฐาราม
กัลยาณมิตรคนหนึ่งรู้ใจผมว่านิยมชมชอบงานศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ประดับปูชนียสถานโดยไม่มีข้อจํากัดทางศาสนา จะเป็นเทวาลัยฮินดูโบสถ์คริสต์ มัสยิด ฤๅพุทธสถาน หากอนุญาตให้เข้าชมได้แม้แต่เพียงภายนอก ก็ถือเป็นความยินดีปรีดานัก
การเขียนหนังสือ
เขียนบทความนี้ด้วยความระลึกถึง สนั่น ชูสกุล กัลยาณมิตรผู้จากไป คนใต้แต่หัวใจอีสาน รักสายลมแสงแดด ไม่ดูถูกคนจน ทํางานช่วยเหลือคนทุกข์ คนยากตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ว่าด้วยเงือก (๔) ขวัญไทดํา จากองค์ความรู้ของ ดร.คําจอง
ต้นเค้ากำเนิดบทความเรื่อง “เงือก” ของข้าพเจ้า เริ่มจากวันไปร่วมงานของ “มูลนิธิโกมล คีมทอง” แล้วแวะเข้าศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์เห็นหนังสือชุด “ด้วยรัก” รวมบทความในโอกาสศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อายุ ๗๒ ปีเรื่อง “ชนชาติไท” ราคาห้าร้อยบาทรีบซื้อทันทีเมื่อพลิกดูพบภาพ “เงือก” เป็นครั้งแรกที่ได้เห็น (เคยตีพิมพ์มาแล้วในหนังสือ TAI CULTURE iii - 2 , December 1998 แต่ข้าพเจ้าไม่มีหนังสือเล่มนั้น) ตื่นเต้นมาก
ฮูปแต้มวัดโพธิ์ชัย
“รูปกาก” วัดนี้มีคุณค่ามาก เพราะเป็นภาพวิถีชีวิตชาวบ้าน แสดงถึงประเพณี พิธีกรรม และการแต่งกายของคนพื้นบ้าน เช่น ภาพกองทัพสยาม เป็นภาพทหารเดินเรียงแถว ถือหอก แต่งกายด้วยชุดมีสีสันสดใส ตัดผมสั้นแบบทหารราชสํานักสยาม ข้างแถวทหารเป็นภาพหญิงชาวบ้านแต่งกายแบบลาว คือเกล้ามวย ห่มผ้าเบี่ยงสีสันสดใส นุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้าลายทางต่อหัวต่อตีน
คำผญา (๘)
“งัวบ่กินหญ้าแสนสิข่มก็เขาหัก หมูบ่กินฮำแสนสิตีก็ดังเว่อ”
วัวไม่กินหญ้าแม้จะกดเขาลงเขาก็หัก หมูไม่กินรำถึงจะตีจมูกก็แตกบาน
[๘] เส้นทางตามหาอรพิม ตอนที่ ๑
เริ่มตามเนื้อเรื่องที่ปาจิตเดินทางจากบ้านเกิด เมืองพรหมพันธุ์นครหรือนครธม ออกตามหานางอรพิม ไล่มาตามตำนานเมืองพิมายและนางรอง ตั้งแต่บ้านจารย์ตำรา ตามตำนานว่าปาจิตเดินทางมาถึงบริเวณนี้จึงกางแผนที่ หรือตำราดูว่าบ้านนางอรพิมอยูที่ใด เดินต่อไปจึงถึงบ้านสนุ่น มีต้นสนุ่นอยู่ใกล้ตรงนี้ และบ้านท่าหลวงจากนั้นจึงเดินต่อไปพบนางบัวแม่นางอรพิมที่บ้านสำเร็จ หรือบ้านสำริด ช่วยนางบัวทำนาจน
กระทั่งจะคลอดนางอรพิม จึงไปตามหมอตำแยมาจากบ้านตำแย เมื่อนางอรพิมหัดคลานบริเวณนั้นจึงเรียกว่า ถนนนางคลาน เมื่อหัดเดินบริเวณที่หัดเดินได้ชื่อว่าบ้านนางเดิน ซึ่งเพี้ยนเสียงมาเป็นนางเหริญ
ป า ก แ ข็ ง
พ่อเฒ่าสีนวน ไทบ้านสำราญ มีลูกเขยชื่อ “บักตุ๊” เป็นชาวจังหวัดชลบุรีที่เว้าไทย (พูดภาษากลาง) แรก ๆ ก็เข้าใจกันยาก เพราะเข้าข่ายคำพูดที่ว่า “ไทยบ่จั๊กซาว ลาวบ่จั๊กยี่สิบ”
เวลาพูดกัน ลูกเขยมักยํ้าถามเพื่อความเข้าใจและสื่อความหมายได้ถูกต้อง บางครั้งพ่อเฒ่าสีนวนก็ชักรำคาญ เนื่องจากบักตุ๊มันมักถามซํ้ายํ้าทวนจนแกขี้เกียจจะตอบ